หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.พระนครศรีอยุธยา > อ.บางไทร > ต.ช้างใหญ่ > ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ


พระนครศรีอยุธยา

ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ

ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ

Rating: 4.3/5 (6 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ ประวัติความเป็นมา พระราชกรณียกิจที่สำคัญอย่างหนึ่งของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ คือการเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกแห่งหน ทั่วทุกภาคของประเทศไทยพระราชกรณียกิจนี้ ได้ทรงปฏิบัติติดต่อกันมานานนับเป็นระยะเวลาหลายสิบปีแล้ว
 
จึงทำให้ทรงเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎรว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร ที่ทรงเป็นห่วงมากก็คือ ความยากจนของราษฎรจึงทรงมีพระราชประสงค์จะจัดหาอาชีพให้ราษฎรทำ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้เพียงพอแก่การยังชีพ ในภาวะปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงสนพระทัยในงานฝีมือพื้นบ้านหรือศิลปกรรมพื้นบ้านที่จัดทำขึ้นโดยใช้วัสดุในท้องถิ่นมาก
 
พระองค์จึงส่งเสริมในเรื่องนี้โดยการจัดให้มีครูออกไปฝึกสอนราษฎรเป็นการช่วยปรับปรุงคุณภาพ ของงานให้ดียิ่งขึ้น เมื่อราษฎรมีความชำนาญแล้วผลงานที่ผลิตออกมา ก็จะทรงรับซื้อไว้ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ซึ่งงานนี้ต่อมาได้ขยายออกเป็น มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 2519 และได้ทรงจัดตั้งโรงฝึกอบรมศิลปาชีพขึ้นแห่งแรกที่พระตำหนักสวนจิตรลดา ในวันฉัตรมงคลปี 2523
 
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้นายธานินทร์ กรัยวิเชียร รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ สรรหาที่ดินที่ใกล้เคียงกับพระราชวังบางปะอินเพื่อจัดตั้งศูนย์ศิลปาชีพอีกแห่งหนึ่ง นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จัดหาที่ดินได้ 2 แปลง เป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงกรุณา โปรดเกล้าฯ พระราชทานให้รัฐบาลจัดการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ราษฎรผู้ยากไร้ได้มีที่อยู่และทำมาหากินตามอัตภาพ แปลงหนึ่งอยู่ที่อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก อีกแปลงหนึ่งอยู่ที่ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ล้นเกล้าฯ
 
ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรที่ดินแปลงที่อยู่ที่อำเภอบางไทรด้วยพระองค์เอง ซึ่งที่ดินแปลงนี้มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 750ไร่เศษ และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรจะสร้างศูนย์ศิลปาชีพ ณ ที่นี้ วันที่ 3 มิถุนายน 2523 รัฐบาลได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินแปลงนี้แด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 4 รอบ และรัฐบาลยังได้มีมติให้หน่วยราชการต่าง ๆ สนับสนุนโครงการของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ
 
ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงจัดตั้งขึ้นโดยมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเป็นผู้รับผิดชอบในด้านการดูแลสถานที่และการฝึกอบรม และมีหน่วยทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ มาช่วยดูแลในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย และประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ในการจัดฝึกอบรมศิลปาชีพเรื่อยมา และมีการซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 200 ไร่เศษ รวมเป็นเนื้อที่ของศูนย์ฯ ทั้งหมดเกือบ 1,000 ไร่ในปัจจุบัน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเปิดศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2527
 
สิ่งที่น่าสนใจ ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ ภายในศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่งอาทิ
 
ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ จตุรมุขสูง 4 ชั้น ตั้งตระหง่านอยู่กลางศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ชั้นล่าง เป็นศูนย์สาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และศูนย์ศิลปาชีพอื่น ๆ ทั่วประเทศ ชั้นที่ 2 และ ชั้นที่ 3 เป็นนิทรรศการผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพชิ้นยอดเยี่ยมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ ชั้นที่ 4 เป็นห้องประชุมสัมมนา
 
เปิดให้ชมทุกวัน วันธรรมดา 09.00 - 17.00 น. วันหยุดราชการ 09.00 - 18.00 น. ไม่เสียค่าเข้าชม
 
หมู่บ้านศิลปาชีพ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนหมู่บ้านแห่งนี้ให้แก่ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อเป็นสถานที่แสดงถึงสถาปัตยกรรม ในการสร้างบ้านเรือนของคนไทยภาคต่าง ๆ การจำลองชีวิตความเป็นอยู่ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมไทยจากทั่วประเทศ ภายในหมู่บ้านมีการสาธิตวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไทย ๆ ในแต่ละภาค และการสาธิตงานศิลปาชีพ
 
เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 08.30 - 17.00 น. ในวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.00-19.00 น. นอกจากนี้ยังมีการแสดงนาฏศิลป์ และการละเล่นพื้นบ้านทั้ง 4 ภาคให้ชมด้วยในวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์วันละ 1 รอบ ระหว่างเวลา 16.30 -17.30 น.
 
นอกจากนี้หมู่บ้านศิลปาชีพบางไทรยังมีความยินดีที่จะนำเสนอพิธีมงคลสมรสแบบประเพณีไทยโบราณภาคกลางโดยจัดกิจกรรมตามประเพณีไทยสมบูรณ์แบบ เช่น พิธีสงฆ์ ขบวนแห่ขันหมาก พิธีรดน้ำสังข์ ตกแต่งสถานที่ เสียงดนตรี - เพลงบรรเลงตลอดงาน อาหารและน้ำดื่มสำหรับญาติและผู้มาร่วมงาน   ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่หมู่บ้านศิลปาชีพ บางไทร  โทร. 0 3536 6666-7,  08 9132 0303 (คุณอัจฉรา)
 
อาคารฝึกอบรมศิลปาชีพ ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของศูนย์ฯประกอบด้วยอาคารฝึกอบรมศิลปาชีพของแผนกต่าง ๆ ปัจจุบันทางศูนย์ได้เปิดอบรมศิลปาชีพด้านหัตถกรรมพื้นบ้านและอาชีพเสริมให้กับเกษตรกรจากทุกภูมิภาคของประเทศรวมทั้งสิ้น 29 แผนก ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปชมวิธีการฝึกอบรมศิลปาชีพของศูนย์ฯได้ทุกขั้นตอนและการผลิตงาน ศิลปาชีพ ที่มีความประณีตวิจิตรซึ่งต้องใช้เวลาอันยาวนานเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
 
เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 09.00 - 16.00 น. ยกเว้นช่วงที่ปิดรุ่นการฝึกอบรม
 
พระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ นายถู เจี๋ย ในนามของประชาชนชาวจีน ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระรูปพระโพธิสัตว์กวนอิมพันพระหัตถ์ซึ่งแกะสลักจากไม้จันทน์เหลืองสูง 6 เมตร จำนวน 1 องค์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำมาประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักชั่วคราว ศาลาโรงช้าง ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ เพื่อให้ประชาชนที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาในพระโพธิสัตว์กวนอิมได้มานมัสการและสักการะบูชาทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 -17.00 น.
 
พระตำหนัก เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูงสร้างโดยวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นมีความสวยงามตามแบบฉบับเรือนไทยดั้งเดิม พระตำหนักนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับพักผ่อนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอทุกพระองค์ พระตำหนักนี้แวดล้อมไปด้วยไม้ดอกไม้ประดับและน้ำตกจำลองที่สวยงาม
 
วังปลา จัดสร้างและดำเนินงานโดยกรมประมง เป็นสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืด ตัวอาคารหลักมีตู้กระจกขนาดใหญ่ จำนวน 2 ตู้ ตู้ใหญ่รูปเมล็ดถั่วมีขนาดความจุ 1,400 ตัน อีกตู้หนึ่งทรงกลมขนาดความจุ 600 ตัน ภายในตู้จะแสดงให้เห็นถึงการอยู่อาศัยร่วมกันของปลาน้ำจืดชนิดต่าง ๆ ที่เป็นปลาพื้นเมืองของไทย
 
เปิดให้ชม เวลา 10.00 -16.00 น. ปิดทุกวันจันทร์และวันอังคาร
 
สวนนก ดำเนินงานโดยมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า และพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระราชินูปถัมภ์ สวนนกเป็นกรงนกขนาดใหญ่ 2 กรง ภายในมีนกพันธุ์ที่หาชมได้ยากมากกว่า 30 ชนิด มีการจัดสภาพแวดล้อมภายในให้เหมือนธรรมชาติ อาทิ น้ำตกและธารน้ำจำลอง มีป่าจำลองที่ร่มรื่นใกล้เคียงกับธรรมชาติ นอกจากนี้ยังมีสะพานแขวนให้นักท่องเที่ยวเดินขึ้นไปชม และถ่ายภาพนกจากด้านบนของกรงได้อย่างชัดเจน และบริเวณรอบ ๆกรงนกยังมีสัตว์ป่าอื่น ๆ ให้ชมอีกด้วย
 
เปิดให้ชมทุกวัน เวลา 09.00 -19.00 น. ค่าเข้าชม ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท
 
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30–17.00 น. วันเสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 08.30–18.00 น. อัตราค่าเข้าชม ชาวไทย ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ชาวต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท เที่ยวชมภายในหมู่บ้านศิลปาชีพฯ "วังปลา" พิพิธภัณฑ์ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อาคารฝึก อบรมงานศิลปาชีพ "ศาลาพระมิ่งขวัญ" ซึ่งเป็นอาคารจำหน่ายผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพของนักเรียนศิลปาชีพ สักการะบูชาพระโพธิสัตว์กวนอิมฯ ณ ศาลาโรงช้าง และนั่งรถไฟเล็ก  โดยไม่เสียค่าบริการ  สอบถามรายละเอียดที่ประชาสัมพันธ์ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร โทร. 0 3536  6252-4,  0 3528 3246-9  หรือ www.bangsaiarts.com     
 
การเดินทาง
1. เส้นทางที่ 1 ทางหลวงหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนตะวันตก) จากแยกทางหลวง 345 (อำเภอบางบัวทอง) ซึ่งมาได้จาก จังหวัดสุพรรณบุรี - ตลิ่งชัน หรือปทุมธานี ผ่านแยกต่างระดับสามโคก – ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า - เดินรถ
ตรงจนถึงศูนย์ฯ
 
2. เส้นทางที่ 2 ทางหลวงหมายเลข 306 (ถนนติวานนท์) จากห้าแยกปากเกร็ด - ผ่านแยกสวนสมเด็จ – ผ่านแยกปากคลองรังสิต - ผ่าน
แยกบางพูน - เลี้ยวขวาที่แยกเทคโนฯปทุมธานีเข้าทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี - บางปะหัน) ผ่านแยก เชียงรากน้อย – เลี้ยวซ้ายทางต่างระดับเชียงรากน้อยเดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า - กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา - เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
 
3. เส้นทางที่ 3 ทางด่วนสายปากเกร็ดบางปะอิน-ลงทางด่วนบางปะอินตรงผ่านแยกบ่อส่า - กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา-เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
 
4. เส้นทางที่ 4  ทางหลวงหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) จากรังสิตหรือภาคเหนือหรือภาคอีสาน - ผ่านแยกต่างระดับบางปะอิน เข้าทางหลวงหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนตะวันตก) – ตรงผ่านแยกต่างระดับเชียงรากน้อย – เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่า -กลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา – เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์
 
5. เส้นทางที่ 5 ทางหลวงเอเชีย จาก อำเภอบางปะหัน - อยุธยา มาตามทางหลวงหมายเลข 347 (ปทุมธานี-บางปะหัน) - ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - แยกต่างระดับเชียงรากน้อยเลี้ยวขวา – เดินรถทางตรงผ่านแยกบ่อส่ากลับรถใต้สะพานแม่น้ำเจ้าพระยา - เลี้ยวซ้ายทางแยกบ่อส่า - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
 
6. เส้นทางที่ 6  ทางหลวงหมายเลข 3309 (บางปะอินเชียงรากน้อย) จากทางหลวงสายเอเชีย หรืออยุธยา ผ่านหน้าโรงงานกระดาษบางปะอิน - ลอดใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา - เลี้ยวซ้ายทางแยกท่าน้ำบางไทร - เดินรถตรงมาจนถึงศูนย์ฯ
 
รถโดยสารประจำทาง สามารถนั่งรถโดยสารประจำทางสาย 838 (รังสิต-ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร) จาก ฟิวเจอร์ พาร์ค รังสิต ถนนพหลโยธินตั้งแต่เวลา 06.00-21.00 น. หรือ รถโดยสารประจำทางจากสถานีขนส่งหมอชิต ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน  สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2936 2852-66 สถานีขนส่งอยุธยา โทร.0 3533 5304 บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร. 1490 หรือ www.transport.co.th
 
รถไฟ สามารถขึ้นรถไฟจากสถานีรถไฟหัวลำโพงมาสถานีรถไฟอำเภอบางปะอิน มีบริการทุกวันตั้งแต่เวลา 06.40-22.00 น. จากนั้นต่อรถสองแถว ไปศูนย์ศิลปาชีพบางไทร สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2220 4334, 1690 สถานีรถไฟอยุธยา โทร. 0 3524 1520 หรือ  www.railway.co.th
 
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) (ศ.ศ.ป.) ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา เลขที่ 59 หมู่ 4 ตำบลช้างใหญ่  บนพื้นที่ 45 ไร่  บริเวณภายในศูนย์ฯ ประกอบด้วย 2 อาคารหลัก คือ ศาลาพระมิ่งมงคล และอาคารตลาด 
 
ศาลาพระมิ่งมงคล อาคารขนาดใหญ่ 3 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารแสดงสินค้าและนิทรรศการศิลปหัตถกรรมเพื่อการส่งออก ในพื้นที่ 34,340 ตารางเมตร บริเวณชั้น 1 พื้นที่จัดแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หอศิลปาชีพ จัดแสดงของตกแต่ง เครื่องแต่งกาย ของขวัญหรือของชำร่วยและของใช้ในครัวเรือน ส่วนที่ 2 จัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรมของศูนย์ศิลปหัตถกรรมของศูนย์ศิลปาชีพบางไทรฯ และยังมีร้านค้าที่จัดจำหน่ายสินค้าศิลปาชีพซึ่งผลิตจากฝีมือนักเรียนศิลปาชีพบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และศูนย์ศิลปาชีพต่างๆ  ส่วนที่ 3 ร้านค้าจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมไทยซึ่งมีทั้งร้านค้าจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์และร้านค้าจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมจากภาคต่างๆ ทั่วประเทศ  ส่วนที่ 4 พื้นที่สาธิตการแสดงศิลปหัตถกรรมไทยที่หาชมได้ยาก 
 
บริเวณชั้น 2 และชั้น 3 ใช้เป็นห้องประชุมและห้องเจรจาการค้า เพื่อเป็นการสร้างตลาดและกระจายสินค้าศิลปาชีพไปยังตลาดต่างประเทศอย่างกว้างขวาง รวมถึงรองรับระบบพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์   
 
อาคารตลาด สร้างขึ้นเพื่อเป็นสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าศิลปหัตถกรรมและสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์จาก 76 จังหวัด เปิดทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00-17.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดราชการ เวลา 09.00-18.00 น. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโทร. 0 3536 7054-9 โทรสาร 0 3536 7051 
 
สวนกล้วยไม้บางไทรการ์เด้น  เป็นสวนกล้วยไม้ปลูกบนดินแห่งแรกในประเทศไทยที่จัดตกแต่งอย่างสวยงามสกุลมอคาลาและกล้วยไม้หลากหลายพันธุ์เหมือนสวนทิวลิปในประเทศฮอลแลนด์ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สอนการปลูกกล้วยไม้ เพื่อการท่องเที่ยวและทัศนศึกษา เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมทุกวัน โดยไม่เก็บค่าเข้าชม ตั้งอยู่ริมถนนสามโคก-เสนา ตำบลบางไทร เปิดเวลา 08.00-17.00 น. โทร. 0 3537 2443-6 โทรสาร 0 3537 2441

เว็ปไซต์ : www.sacict.com

โทร : 03536 6252-4, 035283246-9

โครงการในพระราชดำริ หมวดหมู่: โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง กลุ่ม: โครงการหลวง

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

พระราชวัง พระราชวัง(4)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(9)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(2)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(133)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(14)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(3)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(10)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(3)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(1)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(2)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)