วัดใหญ่นครชุมน์

วัดใหญ่นครชุมน์

วัดใหญ่นครชุมน์
Rating: 4.1/5 (9 votes)
แผนที่ แผนที่ แผนที่ มีแผนที่ มีแผนที่ ไม่มีแผนที่ ไม่มีแผนที่

สถานที่ท่องเที่ยวราชบุรี

สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดใหญ่นครชุมน์ ตั้งอยู่ในชุมชนชาวมอญ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อหลายร้อยปีก่อน นับจากปี พ.ศ. 2081-2084 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา
 
นอกจากนี้ยังมีการเดินทางเข้ามาอีกหลายระลอก ในช่วงสมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ อพยพเข้ามาจากเมืองหงสาวดีประเทศพม่า เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มารวมอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ประกอบอาชีพสุจริต ดำเนินชีวิตอย่างสงบราบเรียบ และใฝ่ธรรมป็นปกตินิสัยของชนชาติมอญ สำหรับวัดใหญ่นครชุมน์ ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้างมาแต่ ปีพ.ศ.ใด
 
ตามข้อสันนิษฐานของคนเก่าแก่ในพื้นบ้านประกอบหลักฐานที่ค้นพบบางสิ่งบางประการ เชื่อว่าเป็นวัดที่มีความเก่าแก่แห่งยุคทวาราวดี มีอายุกว่าพันปีมาแล้ว ซึ่งกลายเป็นวัดร้างแทบไม่เหลือซากปรักหักพังให้เห็น ต่อมาเมื่อมีชนชาติมอญอพยพเข้ามาอยู่ โดยสร้างหลักปักฐานมั่นคงแล้ว ได้สร้างวัดขึ้นใหม่ตรงที่วัดร้างเดิม
 
แต่ยังเป็นเพียงสำนักสงฆ์ขนาดเล็กพอให้พระอยู่อาศัยชาวบ้านได้เข้าวัดทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรม เป็นเนื้อนาบุญอันสำคัญ โดยเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เป็นศูนย์รวมใจของชาวบ้านซึ่งเป็นคนมอญเป็นอย่างดี ถึงเวลาสงกรานต์มีการทำบุญปล่อยนกปล่อยปลา การเล่น ตามประเพณีโบราณ ยึดมั่นไม่เสื่อมคลายมาจนถึงปัจจุบัน
 
ศิลปะการก่อสร้างถาวรวัตถุภายในวัด เช่น กุฏิ ศาลา อุโบสถ พระเจดีย์ เป็นศิลปะของชาวมอญอย่างสมบรูณ์แบบ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการประกาศให้เป็นวัดโดยถูกต้องเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ.2484 คณะสงฆ์สังกัดมหานิกาย
 
ช่วงเวลา งานเทศกาลประเพณี เหมาะแก่การเที่ยวชม “วัดใหญ่นครชุมน์”
ซังกรานนครชุมน์  – วันที่ 13-15 เมษายน  เทศกาลสงกรานต์ของชาวมอญ  แปลกตาด้วยการแต่งกาย ภาษา อาหาร และพิธีกรรม เช่น การละเล่นสะบ้า การแสดงรำผีมอญ การจัดประกวดเทพีสงกรานต์นางสาวรามัญ การจัดนิทรรศการอาหารมอญ
 
ประเพณีเปิงสงกรานต์มอญ-ข้าวแช่  – วันที่ 13-15 เมษายน คนไทยเชื้อสายมอญลุ่มน้ำแม่กลองจัดสร้างศาลเพียงตาหรือฮ็อยซะเมิญซังกราน พร้อมเครื่องบูชา อาหาร(ข้าวแช่) ต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ที่บริเวณหน้าบ้านตนแทบทุกครัวเรือน ทำบุญตักบาตร สรงน้ำพระ การละเล่นพื้นบ้าน
 
ประเพณีงานบวชมอญ  – งานบวชมอญที่รักษาขนบธรรมเนียมไว้อย่างมั่นคง งานบวชที่เป็นบ่งบอกถึงอัตลักษณ์เชื้อสายมอญ สวยงามและสนุกสนาน
 
งานสมโภชวิหารปากี วัดใหญ่นครชุมน์ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่ของวัด 2 องค์(ช่วงเวลา ขึ้นอยู่กับทางวัดกำหนด)
 
ประเพณีตักบัตรน้ำผึ้ง – วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 การตักบาตรน้ำผึ้งนี้ เพื่อจะถวายพระท่านไปทำเป็นน้ำกระสายยา หรือเป็นเภสัชสำหรับพระภิกษุสงฆ์ตามพระวินัย
 
ประเพณีออกพรรษา – ในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ช่วงเช้า ตักบาตรเทโว ภาษาชาวบ้านเรียกว่าตักบาตรพระร้อย ซึ่งภาษามอญ เรียกว่า ล่งฮาเปียงซางกลอม  ช่วงบ่ายจัดการแข่งเรือยาวขึ้นในลำน้ำแม่กลองบริเวณหน้าวัด
 
ประเพณีแข่งเรือ – การแข่งขันกีฬาเรือยาวประเพณีวันออกพรรษา ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะจัด ตรงกับวันออกพรรษาของทุกปี โดยในแต่ละปีนั้นมีจำนวนเรือที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมาก
 
ทอดกฐิน – นิยมทำตั้งแต่แรมค่ำเดือน 11 -12
 
พิธีฑุคตะทาน – เป็นพิธีความเชื่อทางพุทธศาสนาของวัดมอญ ส่วนวัดไทยไม่มีพิธีกรรมนี้ พิธีนี้มักจะกระทำทุก 3 ปี จัดพิธีขึ้นในวันหนึ่งภายในช่วงเดือน 10 ถึงเดือน 11 โดยให้พระสงฆ์จับสลากชื่อของชาวบ้าน หากได้ชื่อของใคร คนนั้นก็จะทำการนิมนต์พระรูปนั้นให้ไปที่บ้านของตน ซึ่งถือเป็นความยินดีมากสำหรับชาวบ้าน ไม่ว่าจะมีฐานะการเงินเท่าใด ก็มีสิทธิเท่าเทียมกัน
โทรโทร: 032297346
มือถือมือถือ: 0835427601
แผนที่ วัดใหญ่นครชุมน์ แผนที่วัดใหญ่นครชุมน์
วัด กลุ่ม: วัด
คำค้นคำค้น: วัดใหญ่นครชุมน์
ปรับปรุงล่าสุดปรับปรุงล่าสุด: 4 สัปดาห์ที่แล้ว


แสดงความเห็น

แสดงความเห็น




คำค้น (ขั้นสูง)
   
Email :
  รหัสผ่าน :
  สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน
 

 

ภูมิภาค ภูมิภาคhttps://www.lovethailand.org/

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองราชบุรี(28)

https://www.lovethailand.org/อ.จอมบึง(4)

https://www.lovethailand.org/อ.สวนผึ้ง(15)

https://www.lovethailand.org/อ.ดำเนินสะดวก(7)

https://www.lovethailand.org/อ.บ้านโป่ง(6)

https://www.lovethailand.org/อ.บางแพ(3)

https://www.lovethailand.org/อ.โพธาราม(12)

https://www.lovethailand.org/อ.ปากท่อ(1)

https://www.lovethailand.org/อ.วัดเพลง(1)

https://www.lovethailand.org/อ.บ้านคา(6)