หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.ท่าราบ > วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร


เพชรบุรี

วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

Rating: 4.3/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าราบ อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดที่มีมาแต่สมัยอยุธยา ไม่ปรากฎหลักฐานการสร้างที่แน่ชัด สันนิษฐานว่า ได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ โดยพระสุวรรณมุนี ที่ได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชแตงโม ในเวลาค่อมา 
 
อุโบสถวัดใหญ่สุวรรณาราม เป็นอาคารทรงไทย ก่ออิฐถือปูนไม่มีช่องหน้าต่าง ผนังด้านหน้า (ทิศตะวันออก) เจาะเป็นประตูสามช่อง ประตูช่องกลางมีขนาดใหญ่ ตั้งอยู่สูงกว่าประตูทั้งสองข้าง ผนังด้านหลังเจาะเป็นประตูสองช่อง ช่องประตูเป็นแบบเรียบไม่มีการตกแต่ง บานประตูเป็นแผ่นไม้สักหนา ด้านนอกทาสีแดง ด้านในมีภาพเขียนรูปทวารบาล เสาอิงที่ผนังด้านหน้ามีบัวหัวเสาและลายลัดเกล้า ยกเว้นเสาอิงด้านหลังที่ไม่มีลายรัดเกล้า
 
เครื่องบนหลังคาเป็นหลังคาทรงจั่วสองชั้น ไม่มีมุข มุงด้วยกระเบื้องกาบ ผืนหลังคามีด้านละสามตับ ประดับด้วยกระเบื้องเชิงชายทุกชั้น จั่วด้านหน้าประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ประดับกระจกสี หน้าบันด้านตะวันออก ประดับลวดลายปูนปั้น มีรูปครุฑอยู่ตรงกลางล้อมด้วยลายกนกก้านขด หน้าบันด้านตะวันตกปั้นเป็นรูปเทพขี่อสูร ล้อมรอบด้วยกนกเปลว
                                                                                      
จิตรกรรมในพระอุโบสถ เป็นจิตรกรรมสีฝุ่น ผนังด้านหน้าของพระประธาน พื้นที่ระหว่างเสาในประธาน ซึ่งเป็นเสานางแนบ เขียนเป็นภาพพุทธประวัติตอนผจญมาร พื้นที่นอกเสาประธาน เหนือช่วงประตู ด้านซ้ายและขวาเขียนเป็นลายพรรณพฤกษาจนถึงฝ้าเพดาน หลังบานประตูเขียนเป็นรูปภาพทวารบาล
 
ภาพเขียนในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชวิจารณ์ไว้ในพระราชหัตถเลขา เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองราชบุรี เมื่อปี พ.ศ.2452 มีความตอนหนึ่งว่า "รูปเทพชุมนุม ที่นั่งเป็นชั้น ๆ ในผนังพระอุโบสถดูได้ทุกตัว แลเห็นได้ว่าไม่มีฝีมือแห่งใดในกรุงเทพ ฯ เหมือนเลย เช่น หน้ายักษ์ไม่ได้เขียนเป็นหัวโขน เขียนเป็นหน้าคนที่อ้วน ๆ ยุ่น ๆ ที่ซึ่งเป็นกนกก็เขียนเป็นหนวดเครา
 
แต่อย่าเข้าใจว่าเป็นภาพกาก เขียนแบบแสดงให้เห็นว่าผู้เขียนนั้นรู้ความคิดเดิมว่ายักษ์ หมายความว่าเป็นคนชนิดใด เทวดาเป็นคนชนิดใด การนุ่งห่มเครื่องแต่งตัวรู้ว่าจะสอดสวมอย่างไร ไม่ได้เขียนพุ่ง ๆ อย่างเช่นทุกวันนี้ รูปนั้นจะอยู่ข้างจะลบเลือนมาก เพราะเหตุว่าคงจะได้เขียนก่อน 300 ปีขึ้นไป เว้นแต่ด้านหน้ามารผจญที่จะชำรุดมากจึงได้เขียนเพิ่มขึ้นใหม่ ก็แลเห็นได้ถนัดว่าความคิดไม่ตลอด ละร่องรอยเสาปูน แต่ทาสีน้ำมันเขียนลายลดน้ำเปลี่ยนแม่ลายต่างกันทุก ๆ คู่ แต่กรอบเชิงอย่างเดียวกันกรอบเชิงงามนัก " 
 
สมเด็จ ฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพระนิพนธ์ถึงจิตรกรรมที่วัดใหญ่สุวรรณาราม ในจดหมายเหตุระยะทางไปมณฑลราชบุรี ร.ศ.121 มีความตอนหนึ่งว่า"วัดนี้เป็นวัดเก่าที่สุดที่ได้เห็นมา แต่ยังดีมาก มีเขียนเหลือเห็นมาก แต่ของเก่าก็มีแต่โบสถ์ก่อหลังหนึ่ง เครื่องประตูกับการเปรียญไม้เครื่องประดุหลังหนึ่ง อายุ 300 ฤา 400 ปี โบสถ์นั้นมีเสาลายปิดแบบลายต่างกัน พื้นเขียนเบญจรงค์ ด้านหน้ามารผจญ แต่ลบเสียมาก เห็นไม่ใคร่ได้ ด้านข้างเป็นรูปภาพชุมนุมมีรูปอินทร พรหม เทวดา ยักษ์ นาค ครุฑ วิชาธร บานประตูกลางหน้าเทวดายืน ดีเต็มทีได้เครื่องเก่าชัดเจน ประตูข้างหน้ารูปเสี้ยวกางไม่สู้ดี ประตูหลังข้าวรูปกินนร"
 
หน้าบันพระอุโบสถ  ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นลายก้านขดคล้ายกับหน้าบันศาลาการเปรียญซึ่งเป็นลายแกะสลักไม้ ส่วนด้านหลังพระอุโบสถเป็นลายกนกเปลว ตรงกลางมีเทพขี่อสูรสวยงามมาก มีลักษณะคล้ายกับหน้าบันอุโบสถวัดไผ่ล้อม (ร้าง) และวัดสระบัว
 
ศาลาการเปรียญวัดใหญ่  เป็นเรือนไม้ทรงไทยขนาด 10 ห้อง ยาว 15 วา กว้าง 5 วา หลังคาลดสองชั้นมีมุขทั้งสองด้าน ด้านตะวันตกทำเป็นจั่วสองชั้น ด้านล่างมีเสารองรับเรียกว่า มุขประเจิด มีหลังคาปีกนก ลาดลงมาอีกด้านละสามตับ มุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยแล้วฉาบปูนทับตลอด เชิงชายหลังคาประดับกระเบื้องดินเผามีลวดลายต่าง ๆ 
 
ภายในศาลาการเปรียญ  มีภาพจิตรกรรมสีฝุ่นผสมกาวอยู่ในสภาพลบเลือนมาก เป็นภาพเทพชุมนุม เทพทวารบาล ภาพชีวิตสัตว์ต่าง ๆ ด้านหลังบานหน้าต่าง เขียนภาพเทพทวารบาล ยืนประนมมืออยู่ใต้ฉัตรสามชั้น กับด้วยเส้นฟันปลา บานประตูขวาที่ด้านหน้าเขียนภาพทวารบาลคู่เดียว 
 
ภายในศาลาโถมีเสาจำนวน 14 ต้น เป็นเสาแปดเหลี่ยม เสาในประธานปิดทองลายฉลุตลอดทั้งเสา ลายคล้ายกันเป็นคู่ ๆ ไม่ซ้ำกัน เครื่องบนหลังคาทั้งขื่อ แป กลอน เขียนลายตลอดทุกชิ้น 
 
บานประตูเป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นบานประตูไม้จำหลักเป็นลายก้านขดปิดทองงดงาม ประณีตบรรจง ฝีมือคล้ายบานประตูพระวิหารวัดพนัญเชิง หรือวัดหน้าพระเมรุ 
 
ตามตำนานกล่าวว่า ศาลาการเปรียญนี้ เดิมเป็นพระราชฐานที่พระมหากษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยาสร้าง พระราชทานแก่สมเด็จเจ้าแตงโม 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสวัดใหญ่ ฯ เวลานั้นกำลังมีการต่อตีนหัวเสาและขื่อ พระองค์ได้ทอดพระเนตรฝีมือการรักษาของเก่าว่าตัวไม้อันไหนควรเปลี่ยนหรืออันควรรักษาไว้ ทรงพอพระราชหฤทัยมาก ทรงรับสั่งให้เว้นหัวเสาต้นหนึ่งด้านทิศเหนือ ซึ่งเป็นเสาต้นที่แปดไว้ไม่ให้ลงรักหรือทาสีทับ เพื่อให้คนชั้นหลังได้ศึกษา ยังปรากฏอยู่จนถึงทุกวันนี้ ปรากฏพระราชหัตถเลขาของพระองค์ มีความตอนหนึ่งว่า 
 
"หลังพระอุโบสถตรงกันแนวเดียว มีการเปรียญยาว เสาแปดเหลี่ยม เขียนลายรดน้ำ ลายไม่ซ้ำกันทุกคู่ ฝากระดานประกน ข้างนอกเขียนลายทอง ข้างในเขียนลายน้ำกาว บานประตูสลักซับซ้อน ซุ้มเป็นคูหางามเสียจริง"
 
หอไตร เป็นหอไตรที่ตั้งอยู่กลางสระน้ำ เป็นอาคารทรงไทยชั้นเดียว มีสามเสาซึ่งเป็นลักษณะพิเศษ ฝาปะกน หลังคาทรงจั่วยอดแหลม ปัจจุบันมุงกระเบื้องเกล็ดเต่า มีสะพานทอดจากริมสระไปยังหอไตร
 
หมู่กุฏิสงฆ์ ตั้งอยู่ทางด้านหลังของศาลาการเปรียญ ฝากุฏิเป็นฝาเรือนไทยสมัยโบราณ หกแบบ ได้แก่ แบบฝาปะกน ฝาสำหรวจ (กรุด้วยแผ่นไม้) ฝาสายบัว ฝาลูกฟัก ฝาเพี้ยมและฝาถัง ด้านนอกเป็นฝาปะกน  แต่ด้านในเรียบเหมือนไม้แผ่นเดียว เพราะทำลิ้นสอดไว้ประณีตงดงามมาก

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 10 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)