หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.คลองกระแซง > วัดพลับพลาชัย


เพชรบุรี

วัดพลับพลาชัย

วัดพลับพลาชัย

Rating: 4/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดพลับพลาชัย สร้างขึ้นในปลายสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตกอยู่ในระหว่าง พ.ศ.2229 - 2310 ในสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 4 พระเจ้าอยู่หัวบรมโกษโดยบรรดาขุนนางพ่อค้าคหบดีและประชาชน
 
รวมทุนกันสร้างขึ้นเดิมที่ดินอันเป็นที่ตั้งวัดนี้เคยเป็นที่ประชุมกองทัพ เป็นที่ฝึกอาวุธของทแกล้วทหารทั้งปวง จึงเป็นที่หลวงได้เคยมี “พลับพลา” ที่ประทับของพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพชรบุรีด้วย เมื่อได้ก่อสร้างวัดขึ้นแล้วจึงตั้งชื่อวัดว่า “พลับพลาชัย” อันเป็นมงคลนามเรียกขานกันมากว่า200ปีแล้ว
 
ที่ตั้งวัดในปัจจุบันนี้ อยู่ตรงใจกลางเมืองเพชรบุรี ทิศตะวันออกจดแม่น้ำเพชรบุรี ทิศตะวันตกติดวัดและทางเดินเข้าวัดแก่นเหล็ก ทิศเหนือติดกับโบสถ์ศรีพิมลธรรม (คริสตจักรที่ 17)และมีอาคารร้านค้า และห้างสรรพสินค้าสุริยะ
 
ทิศใต้ติดตรอกทางเดินเข้าวัดแก่นเหล็ก มีถนนดำเนินเกษมตัดจากศาลากลางจังหวัดไปยังพระราชวังรามนิเวศน์(วังบ้านปืน)ถนนได้แบ่งวัดออกเป็น 2ส่วน ส่วนทางด้านตะวันออก เป็นที่ตั้งอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ เป็นส่วนพุทธาวาส
 
ส่วนทางด้านตะวันตกเป็นที่ตั้งอาคารโรงเรียนปริยัติธรรม กุฏิเสนาสนะสงฆ์ ศาลาฌาปนสถาน เป็นส่วนสังฆาวาส แยกจากกันหลักฐานที่ยืนยันอันแน่ชัดได้ว่าวัดพลับพลาชัยได้สร้างมาแต่สมัยศรีอยุธยายุคปลาย ก็คือพระประธานในอุโบสถซึ่งเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแบบสุโขทัย
 
หน้าตักกว้าง 170เซนติเมตร ปิดทองคำเปลว ประทับบนฐานปัทมามาศสูงจากฐานเชียง 155 เซนติเมตร ฐานปัทมามาศประดับด้วยกระจกสีต่างๆฐานเชียงสูงจากพื้นอุโบสถถึงองค์พระ 2 เมตร 55 เซนติเมตร พระพุทธรูปปั้นทรงนี้ มักนิยมสร้างกันมากในสมัยอยุธยาตอนปลาย 
 
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงมาเห็น และทรงให้คำรับรองว่า เป็นฝีมือปั้นของช่างในสมัยศรีอยุธยาตอนปลายแน่นอน นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฎด้วยว่าในรัชสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
 
วัดพลับพลาชัย ได้สร้างขึ้นมาแล้วเมื่อประมาณ พ.ศ.2340 ได้มีพระภิกษุเชื้อสายจีนผู้หนึ่งได้เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้รื้อถอนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมแล้วสร้างหลังใหม่ขึ้นแทนที่ โดยสร้างแบบก่ออิฐถือปูนในเขตวิสุงคามสีมาเดิม และได้อัญเชิญพระประธานองค์เดิมเข้ามาประดิษฐานในอุโบสถ
 
หลังใหม่ต่อไป ที่หน้าอุโบสถหลังใหม่ ท่านได้สร้างเก๋งจีนขึ้นหลังหนึ่ง ก่อด้วยอิฐถือปูนเพื่อใช้เป็นที่บรรเลงดนตรีในเวลามีผุ้นำนาคมาอุปสมบท และหอระฆังที่หน้าอุโบสถมีสิงห์โตหินอยู่คู่หนึ่ง(ปัจจุบันหายไปแล้ว) สิงห์โตหินคู่นี้นัยว่ามีพ่อค้าจีนนำมาถวายท่านไว้ และเป็นสิงห์โตที่แกะสลักมาจากเมืองจีน
 
เพราะในยุคปลายกรุงศรีอยุธยาติดต่อกับสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยกับจีนเริ่มมีการค้าติดต่อกันแล้ว รูปสิงห์โต รูปตุ๊กตาเมืองจีน พ่อค้ามักใช้เป็นอับเฉาถ่วงเรือสำเภาในสมัยนั้น    
 
ต่อมาเจ้าอาวาสเชื้อจีนรูปนี้ได้สร้างศาลาแรเปรียญขึ้นอีก 1 หลัง สร้างถัดจากวิหารไปทางทิศเหนือ โดยสร้างเป็นแบบทรงไทยสมัยอยุธยา แต่มีบันไดด้านข้างทิศใต้ ก่อด้วยอิฐถือปูน 2 บันได ขึ้นลงคนละทาง คล้ายๆ กับบ้านขุนนางจีนในกรุงปักกิ่งเก๋งจีนหน้าอุโบสถยังคงมีอยู่จนทุกวันนี้
 
เนื่องจากเจ้าอาวาสเชื้อสายจีนรูปนี้ ไม่ว่าท่านจะปลูกสร้างถาวรวัตถุชิ้นใดไว้ในวัดพลับพลาชัย ท่านมักจะทิ้งศิลปะแบบจีนไว้ด้วย ชาวบ้านจึงพากันเรียกชื่อท่านว่า หลวงพ่อจีน จนติดปากทั่วไป ทำให้เราไม่อาจสืบทราบนามจริง
 
และประวัติของท่านให้แน่ชัดได้แม้ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 1แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นี้พม่าได้ยกกองทัพใหญ่(สงคราม 9 ทัพ)เข้ามารุกรานประเทศไทย สมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล(วังหน้า)ได้ยกทัพเรือมาทางอำเภอบ้านแหลม และมาขึ้นบกที่หน้าวัดพลับพลาชัย แล้วจึงเดินทัพไปทางอำเภอชะอำ สามร้อยยอด เพื่อไปตีเมืองกลางคืน   
 
แม้ในรัชสมัยของสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยุ่หัว  สุนทรภู่ เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ได้มาราชการในจังหวัดเพชรบุรีโดยทางเรือ ก็ได้บรรยายถึงวัดพลับพลาชัยไว้ในนิราศเมืองเพชรบุรีของท่าน แสดงให้เห็นโดยชัดเจนว่า วัดพลับพลาชัย ได้สร้างมานานแล้ว และได้เจริญรุ่งเรืองมาช้านานแล้วด้วย ฯลฯ

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดพลับพลาชัย

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)