หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.เพชรบุรี > อ.เมืองเพชรบุรี > ต.บ้านหม้อ > พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


เพชรบุรี

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

Rating: 3.5/5 (6 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เป็นพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจัดเป็นพระราชวังที่มีความเรียบง่ายที่สุดซึ่งสร้างตามพระราชประสงค์ของพระองค์เองเพื่อไม่ให้เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์จนเกินไปโดยพระองค์เสด็จมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์แห่งนี้ถึงสองครั้ง ครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ.2467 เป็นเวลา3เดือน และครั้งที่สองในปีเดียวกัน หลังจากนั้นก็ไม่ได้เสด็จมาประทับอีกเลยเนื่องจาก5เดือนต่อมาพระองค์ก็ทรงเสด็จสวรรคต ณ พระบรมมหาราชวัง
 
ปัจจุบัน พระราชนิเวศน์ยังคงอยู่บนที่ดินอันเป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ใช้เป็นค่ายพระรามหก กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เมื่อพระราชนิเวศน์ทรุดโทรมลงจนถึงขั้นปรักหักพัง ความทราบฝ่าพระบาท สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในรัชกาลที่ 6 ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่
 
พร้อมพระราชทานกำเนิดมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และทรงรับไว้ในพระอุปถัมภ์ เพื่อเป็นกำลังหลักในการฟื้นฟูและพัฒนาพระราชนิเวศน์ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน
 
พระราชนิเวศน์แห่งนี้ มีตำนานที่เล่าขานต่อๆ สืบเนื่องมาจากเมื่อคราวที่พระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี ทรงพระครรภ์นั้น พระมหาธีรราชเจ้าทรงพระเกษมสำราญยิ่งด้วยทรงมุ่งหวังว่าจะทรงมีพระราชปิโยรส แต่ความหวังทั้งมวลก็สิ้น สลายเมื่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ ไม่สามารถมีพระประสูติกาลได้ ยามนั้นพระองค์ท่านทรงอภิบาลพระมเหสีด้วยน้ำพระทัยเป็นห่วงและเศร้าสร้อย ณ พระที่นั่งสมุทรพิมานแห่งนี้ อย่างไรก็ดี พระราชนิเวศน์ยังเป็นสถานที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบังเกิดพระราชประดิพัทธ์ในความรักครั้งต่อมากับคุณสุวัทนา
 
ซึ่งต่อมาทรงสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา และพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ตามลำดับ ได้เสด็จพระราชดำเนินมาประทับ ณ พระราชนิเวศน์มฤคทายวันพร้อมด้วย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ซึ่งมีพระครรภ์พระหน่อ อีกครั้งระหว่างวันที่ 12 เมษายน ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2468การเสด็จครั้งนี้เสมือน หนึ่งการเสด็จมาเพื่ออำลาพระราชนิเวศน์ที่ทรงรักโดยแท้ เพราะเมื่อเสด็จกลับพระนคร อีก 5 เดือนพระนางเจ้าสุวัทนาฯ ประสูติพระราชธิดาแล้ว วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จสวรรคต
 
สถาปัตยกรรมของพระราชนิเวศน์เป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยประยุกต์คือ(ไทยผสมยุโรป)สร้างด้วยไม้สักทองลักษณะเป็นอาคาร2ชั้นเปิดโล่งใต้ถุนสูงบริเวณใต้ถุนทำเป็นคอนกรีตหลังคาเป็นหลังคาทรงปั้นหยามุงด้วยกระเบื้องว่าวแบบสี่เหลี่ยมซึ่งสามารถกันแดดและกันฝนได้ดีกว่าแบบธรรมดาเพดานยกพื้นสูงมีบานเกร็ดระบายความร้อนโดยมีเสารองรับพระที่นั่งทั้งหมด1080ต้นวางในแนวเดียวกันเสาทุกต้นมีการหล่อขอบฐานและยกขอบขึ้นไปรางน้ำเรียกว่าบัวขอบเพื่อกันมดและสัตว์อื่นๆซึ่งในสมัยนั้นมีมดและสัตว์อื่นๆชุกชุม
 
พระที่นั่งทั้ง 3 องค์มีความยาวทั้งสิ้น 399 เมตรแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ท้องพระโรง เขตที่ประทับฝ่ายหน้า และเขตที่ประทับฝ่ายในโดยมีทางเชื่อมต่อกันโดยตลอดโดยมีพระที่นั่งองค์ต่างๆดังนี้
 
พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ เป็นพระที่นั่งองค์แรกตั้งอยู่ทางทิศเหนือเป็นพระที่นั่ง2ชั้นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเปิดถึงกันทั้งชั้นบนและชั้นล่างด้านบนเพดานเป็นช่องสี่เหลี่ยมเขียนลวดลายโดยทั้งชั้นล่างและชั้นบนมีห้องควบคุมไฟสำหรับเวทีที่ใช้แสดงละครและมีห้องพักนักแสดงภายในมีบันไดสำหรับนักแสดงขึ้นลงโดยการแสดงจะจัดขึ้นบริเวณทิศเหนือซึ่งเป็นเวทีซึ่งยกพื้นสูงโดยเจ้านายฝ่ายในจะประทับที่เฉลียงชั้นบน
 
อัฒจันทร์ที่อยู่ตรงทางเข้านั้นเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยทางขึ้นและทางลงแยกกันคนละทางโดยบนอัฒจันทร์มีลาดพระบาท(พรม)สำหรับเป็นทางเสด็จชั้นบน เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ รับพระราชอาคันตุกะ และประกอบพระราชพิธีต่างๆโดยภายในห้องพระราชพิธีเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปซึ่งสร้างขึ้นภายหลังนอกจากนี้ยังมีพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวอีกหลายภาพ
 
หมู่พระที่นั่งสมุทรพิมานประกอบไปด้วยอาคารต่างๆดังนี้ อาคารด้านหน้า คือบ้านพักของเจ้าพระยารามราฆพ(หม่อมหลวง เฟื้อ พึ่งบุญ)ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการมหาดเล็กภายในประกอบด้วยห้องรับแขก ห้องน้ำ ห้องนอน ห้องทำงาน
 
พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์ที่สอง เป็นส่วนที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในประกอบด้วย ห้องพระบรรทม ห้องทรงงาน ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์
 
อาคารด้านตรงข้ามกับพระที่นั่งสมุทรพิมาน คือหอเสวยฝ่ายหน้าเป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหารและจัดงานพระราชทานเลี้ยง พระที่นั่งสมุทรพิมานองค์แรก เดิมเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวต่อมาโปรดเกล้าให้เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าสุวัฒนา
 
พระวรราชเทวี เรือนฝ่ายใน เดิมเป็นบ้านพักของเจ้าพระยาอนิรุทธเทวา(หม่อมหลวง ฟื้น พึ่งบุญ)ซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพระยารามราฆพ
โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายหน้าภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้
 
หมู่พระทีนั่งพิศาล สาครประกอบไปด้วยอาคารต่างๆดังนี้ อาคารหลังแรก เป็นห้องรับแขกเดิมเป็นท้องพระโรงฝ่ายในปัจจุบันเป็นโรงเรียนสอนดนตรีไทย หอเสวยฝ่ายใน เป็นสถานที่สำหรับเสวยพระกระยาหาร
 
พระที่นั่งพิศาลสาคร เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา ภายในประกอบด้วย ห้องบรรทม ห้องรับแขก ห้องสรง ห้องแต่งพระองค์และเฉลียงสำหรับรับลมทะเล
 
เรือนพระสุจริตสุดา เป็นบ้านพักของพระสุจริตสุดาซึ่งเป็นพระสนมเอกภายในประกอบด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องแต่งตัวและเฉลียงรับลมทะเล
 
ห้องพักคุณท้าววรคณานันท์ เป็นบ้านพักของคุณท้าววรคณานันท์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล) และคุณท้าวสมศักดิ์(หม่อมราชวงศ์แป๋ม มาลากุล)
 
โดยพระที่นั่งองค์นี้มีทางเชื่อมกับศาลาลงสรงฝ่ายในภายในประกอบด้วยห้องแต่งพระองค์ ห้องเก็บของ และเฉลียงสำหรับรับลมทะเลโดยถ้าไม่โปรดจะลงเล่นน้ำทะเลก็มาประทับที่เฉลียงรับลมทะเลก็ได้
 
สวนเวนิสวานิช สวนที่ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากบทพระราชนิพนธ์เรื่องเวนิสวานิช ที่แปลมาจากเรื่องThe Merchant of Venice ของวิลเลี่ยม เช็กสเปียร์ นักประพันธ์ชื่อก้องโลกชาวอังกฤษ ที่พระองค์ท่านทรงคงลีลาและฉันทลักษณ์ การแปล ไว้คำต่อคำใกล้เคียงกับต้นฉบับจริงมากที่สุดสวนแห่งนี้ออกแบบในสไตล์เรอเนส ซองและที่กำหนด สร้างไว้ ณ จุดหน้าสุดของเขตพระราชฐานก็เพื่อเป็นจุดนัดพบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เฉกเช่นเดียวกับเมืองเวนิส ที่เป็นสถานที่พบปะของผู้คน และเป็นแหล่งการค้า ในบทประพันธ์ของเช็กสเปียร์ พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
 
สวนศกุนตลา ลานกว้างที่ใช้ต้นเข็มนานาพันธุ์ทำเป็นกำแพงล้อมรอบสวน พื้นที่ภายในสวนแห่งนี้ใช้เป็นเหมือนเวทีจัดการแสดง อาทิ การแสดงโขน การแสดงละครในฤดูหนาว รวมถึงการจัดเลี้ยงรับรองต่างๆ จากสวนศกุนตลาพื้นอิฐหกเหลี่ยม สีแดงอ่อนตัดกับสนามหญ้าสีเขียว ทอดยาวพาเราไปด้านหน้าทางขึ้นพระราชวังที่รายล้อม ด้วยความร่มรื่นของ ไม้ยืนต้นนานาพันธุ์ และพุ่มไม้ดอกที่แข่งกันชูช่อประชันสี ราวกับภาพเขียนสีน้ำมันที่จิตรกรเอกบรรจงวาดอย่าง ไว้ อย่างสุดฝีมือ
 
สวนมัทนะพาธา รอบด้วยระเบียงทั้งสามด้าน ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชนิพนธ์เรื่องมัทนะพาธา หรือตำนานดอกกุหลาบ อันเป็นบทละครพูดคำฉันท์ที่มีการใช้สัมผัสและฉันทลักษณ์ได้ถูกต้องและมีความไพเราะยิ่ง และได้รับการยกย่อง ว่าเป็นยอดบทละครพูดคำฉันท์ "สวนมัทนะพาธา ได้รับการตกแต่งอย่างสวยงามด้วยแนวไม้พุ่มลายอ่อนช้อย โดยเลือกใช้ต้นข่อย ซึ่งมีพุ่มหนาแน่น ทนต่อแดด และไอทะเลได้ดีนั่นเอง

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

พระราชวัง กลุ่ม: พระราชวัง

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน

อัลบั้มรูป

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(7)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/246)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(7)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(6)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(9)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(4)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(2)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(3)

น้ำตก น้ำตก(5)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(1)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(8)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(9)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(1)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)