หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กาญจนบุรี > อ.ทองผาภูมิ > ต.ปิล๊อก > วัดเหมืองแร่ปิล็อก


กาญจนบุรี

วัดเหมืองแร่ปิล็อก

วัดเหมืองแร่ปิล็อก

Rating: 3.4/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดเหมืองปิล็อก จ.กาญจนบุรี ที่สุดชายแดนตะวันตกสร้างตามศิลปะพม่า ไม่ว่าแผ่นดินไทยผืนไหนจะอยู่ห่างไกลเพียงใด ใต้ร่มธงธรรมแห่งพระศาสนาปกป้องผองชนให้ได้รับผลบุญโดยถ้วนทั่ว สุดแผ่นดินที่ชายแดนตะวันตก ต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ยังมีแสงธรรมนำทางสุกสว่างกลางขุนเขา ที่เปล่าเปลี่ยวและห่างไกล แต่ที่นั่นพี่น้องผองพุทธศาสนิกชนที่ต้องดิ้นรนหากิน
 
และอยู่กันอย่างสุขสงบ มี วัดเหมืองปิล็อก แผ่ผลบุญให้ทุกคนร่มเย็น ดุจเดียวกับพี่น้องผองชาวไทยทั่วไปในเมืองกรุง ความแตกต่างย่อมมีได้และมีเสีย เมื่อครั้งที่เหมืองปิล็อกเปิดทำการพลิกฟื้นแผ่นดิน เพื่อหาแร่ดีบุก ป่าเขาที่มีต้นไม้ใหญ่ทะมึนต้องล้มหายไปจนหมดสิ้น สัตว์ป่าที่เคยข้ามไปมาระหว่างสองแผ่นดิน ต้องหลบหลีกกระสุนปืนจากทั้งชาวเหมืองที่ต้องการเนื้อสัตว์เป็นอาหาร
 
และการระดมถลุงแผ่นดินหาแร่ ไม่มีป่าก็ไม่มีบ้าน ป่าต้นน้ำที่เคยมีป่าปกต้องรกร้าง ฝนที่ตกแบบฝนแปดแดดสี่เยี่ยงภาคใต้ เพิ่มปริมาณตะกอนที่ถูกกัดชะพังทลายลงสู่แม่น้ำแควน้อยอย่างไม่หยุดยั้ง มนุษย์จากพื้นราบเมืองกาญจนบุรี ที่ขึ้นไปอยู่อาศัยทำเหมือง ผสมผสานกับมนุษย์จากแผ่นดินเพื่อนบ้าน ชาวมอญ กะเหรี่ยง พม่า หลั่งไหลเข้ามาขายแรงงาน
 
จากกระต๊อบหญ้าคาเพิ่มความแน่นหนาเป็นเมืองชายแดนที่คับคั่งไปด้วยประชากร ตลาดสด ตลาดของชำ ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ คนเดินทางเข้าออก เพื่อการทำกินนานาประเภท บ้านเหมืองปิล็อกจึงกลายเป็นชุมชนใหญ่ใกล้ชายแดน ซึ่งในอดีตเคยมีคนนับหมื่นมาอาศัยอยู่ที่นี่
 
วัดเหมืองปิล็อก ที่สุดชายแดนตะวันตก บนขุนเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 1,800 เมตร เป็นเครื่องยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ไม่ว่าจะมีชุมชนคนพุทธอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด พระพุทธศาสนาย่อมแผ่ไพศาลไปถึง โอบล้อมให้ความอบอุ่นใจ โดยมีวัดเป็นที่พึ่งทางใจเสมอ วัดเหมืองปิล็อก สร้างตามศิลปะพม่า แต่ไม่สมบูรณ์นัก วัดนี้สร้างเมื่อ 50-60 ปีก่อน บรรยากาศวัดปลอดโปร่งเย็นสบาย ที่ใกล้ๆ นั้นมีสถานที่สำคัญ คือ จุดประสานสัมพันธไมตรีไทย-พม่า หรือ เนินชักธง มีธงไทยปักไว้ให้รู้ว่า ที่นี่คือดินแดนไทย และมีธงพม่าปักไว้คู่กัน ตรงเส้นแดนพม่า
 
พระธาตุบนเขาลูกเล็ก ของวัดเหมืองปิล็อก ร่องรอยการพัฒนาวัดยังกลาดเกลื่อนไปด้วยวัตถุที่เหลือและเตรียมทำงานต่อ อุโบสถขนาดกำลังพอเหมาะกับสภาพของชุมชนที่วัดนี้ ประชากรลดลงจนเมืองแทบร้าง ลูกนิมิตตั้งกลางอุโบสถ เพื่อรอเวลาฝังตามประเพณี พระสงฆ์ 2 รูป เณรน้อยอีก 3 รูป คงหนาวเหน็บเมื่อฤดูหนาวมาเยือน เครื่องนอนอยู่ในสภาพที่อยากจะขอบอกบุญให้ผู้มีจิตศรัทธาไปทำบุญถวายได้เสมอ
 
ที่ลานโล่งหน้าอุโบสถ เมื่อนักท่องเที่ยวพลัดขึ้นมาแล้วหาที่นอนค้างไม่ได้ ก็เคยมาขอกางเต็นท์นอนกันทุกปี แต่เพราะว่าอยู่สูงและโดดเด่น จึงมีลมพัดแรงกว่าจุดอื่นๆ บางรายก็ไปขอกางเต็นท์ที่ ตชด. หรือหน้าสนามโรงเรียนเหมืองปิล็อก รอบๆ บริเวณตลาด มีดอกไม้เมืองหนาวหลายชนิดให้ชมอย่างมากมาย สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปสัมผัสธรรมชาติ และมนต์เสน่ห์ของเหมืองปิล็อก  สอบถามเส้นทางได้ที่ นายทัศนัย เปิ้ลสมุทร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี โทร.08-9529-1970  
 
ตำนานแห่งปิล็อก เหมืองปิล็อก ที่ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี คือ บรรดาเหมืองแร่ที่อยู่ใน ต.ปิล็อก ชุมชนของตำบลนี้เรียกว่า "บ้านอีต่อง" มีมากมายหลายเหมือง มีทั้งของเอกชน บริษัท และขององค์การอุตสาหกรรมเหมืองแร่ แหล่งแร่ในปิล็อกมีมากถึง 10 ชนิด มากที่สุดคือ แร่ดีบุก ที่อยู่ตามหุบเขา  รองลงมา และมักอยู่ปะปนกันคือ แร่ทังสเตน
 
และยังมีสายแร่ทองคำปะปนอยู่กับสายแร่ดีบุก ไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจหากทำเป็นเหมืองใหญ่ แต่มีแรงงานไปร่อนหาแร่ทองคำอยู่เป็นประจำทุกวัน ส่วนการทำแร่ขององค์การนั้น ใช้แรงงานโดยไม่ต้องจ้าง กำหนดพื้นที่ให้ แล้วให้เครื่องมือไปขุดหาแร่ เอามาขายองค์การ ส่วนของเอกชนใช้วิธีทำเหมืองฉีด ตลอดเทือกเขาตะนาวศรี มีสายแร่ยาวตั้งแต่ด่านพระเจดีย์สามองค์ ไปจนถึง จ.ระนอง เฉพาะในปิล็อก แหล่งแร่ยาวประมาณ 20 กม. การทำเหมืองที่นี่
 
เริ่มจากคนพม่าข้ามเข้ามาทำแบบเหมืองเถื่อน ต่อมาทางราชการไทยจึงเข้าควบคุม ชุมชนบ้านอีต่อง จึงเต็มไปด้วยประชากรหลายชาติ หลายภาษา มีไทย พม่า กะเหรี่ยง ทวาย มอญ และลาว ที่เข้ามาเป็นลูกจ้างขุดแร่ (เหมืองสมศักดิ์ หรือเหมืองแหม่มเกล็น เคยมีคนงานถึง 600 คน นับเป็นเหมืองแร่ใหญ่ที่สุดในยุคนั้น)
 
ต่อมาเหมืองแร่ต่างๆ เริ่มทยอยกันปิด ตั้งแต่ พ.ศ.2534 ด้วยเหตุ 2 ประการ คือ ราคาแร่วุลแฟรม และดีบุกราคาตกมาก รวมทั้งส่วนใหญ่ปิดเพราะแร่หมด หรือหมดสัมปทาน จะขอใหม่ก็ช้ามาก และยิ่งเป็นที่อุทยานแห่งชาติ โอกาสจะขอได้แทบจะไม่มี ในปัจจุบันจึงไม่มีเหมืองแร่เหลืออยู่เลย คงเหลือแต่ชาวบ้านอยู่ไม่กี่ร้อยหลังคาเรือนเท่านั้น

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดเหมืองแร่ปิล็อก

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(539)

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองกาญจนบุรี(69)

https://www.lovethailand.org/อ.ไทรโยค(60)

https://www.lovethailand.org/อ.บ่อพลอย(36)

https://www.lovethailand.org/อ.ศรีสวัสดิ์(37)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่ามะกา(42)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าม่วง(53)

https://www.lovethailand.org/อ.ทองผาภูมิ(47)

https://www.lovethailand.org/อ.สังขละบุรี(17)

https://www.lovethailand.org/อ.พนมทวน(27)

https://www.lovethailand.org/อ.เลาขวัญ(61)

https://www.lovethailand.org/อ.ด่านมะขามเตี้ย(26)

https://www.lovethailand.org/อ.หนองปรือ(32)

https://www.lovethailand.org/อ.ห้วยกระเจา(32)