หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.แม่ริม > ต.โป่งแยง > ดอยม่อนล่อง


เชียงใหม่

ดอยม่อนล่อง

ดอยม่อนล่อง

Rating: 4/5 (5 votes)

ดอยม่อนล่อง เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ม่อนคว่ำล่อง สามารถ มองเห็นทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่บริเวณถนนเส้นแม่ริม - สะเมิง ได้แก่ ตัวอำเภอแม่ริม ตัวอำเภอสะเมิง สวนพฤกษศาสตร์ เอราวัณรีสอร์ท หมู่บ้านแม่สาใหม่ หมู่บ้านโป่งแยง หมู่บ้านสามหลัง
 
รวมถึงทิวทัศน์บริเวณสันเขาดอยสุเทพและดอยปุย นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปชมวิวได้สองจุดคือ จุดสูงสุดของดอยม่องล่องและจุดฝังศพของพ่อขุนหลวงวิรังคะซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศาล
 
บริเวณบ้านหนองหอย อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้งบนดอยสูง ที่แห่งนี้ยังมีประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับตำนานขุนหลวงวิรังคะ อดีตกษัตริย์ของชาวลัวะ นอกจากนั้นแล้วบ้านหนองหอยยังเป็นหมู่บ้านในพื้นที่ของโครงการหลวง ชาวบ้านจึงมีรายได้จากการเพาะปลูกพืชผักเมืองหนาว
 
ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติของหมู่บ้านหนองหอยก็ได้รับความสนใจจากนัก ท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปเที่ยวเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะจุดชมวิวม่อนดอยและดอยม่อนล่อง ซึ่งสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของอำเภอแม่ริมและเชียงใหม่ได้อีกด้วย
 
ดอยม่อนล่อง หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "ม่อนคว่ำล่อง" สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่บริเวณถนนเส้นแม่ริม - สะเมิง ได้แก่ ตัวอำเภอแม่ริม ตัวอำเภอสะเมิง สวนพฤกษศาสตร์ เอราวัณรีสอร์ท หมู่บ้านแม่สาใหม่ หมู่บ้านโป่งแยง หมู่บ้านสามหลัง รวมถึงทิวทัศน์บริเวณสันเขาดอยสุเทพและดอยปุย นักท่องเที่ยวสามารถขับรถขึ้นไปชมวิวได้สองจุดคือ จุดสูงสุดของดอยม่องล่องและจุดฝังศพของพ่อขุนหลวงวิรังคะซึ่งเป็นที่ตั้งของ ศาล
 
ตำนานในอดีตเกี่ยวกับขุนหลวงวิรังคะ ซึ่งเล่าขานสืบต่อกันมาจากชาวบ้าน กล่าวว่า ในอดีตมีกษัตริย์ของชาวลัวะนามว่า "ขุนหลวงวิรังคะ" เป็นเจ้าเมืองระมิงค์นคร ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพละกำลังแข็งแกร่งและมีคาถาอาคมแก่กล้า เมื่อทรงสูญเสียมเหสีอันเป็นที่รักไปก็นำความโศกเศร้ามาสู่ขุนหลวงวิรังคะ เป็นอย่างมาก
 
ข้าราชบริพารทั้งหลายเห็นดังนั้นจึงกราบทูลเรื่องเจ้าแม่จามเทวี ซึ่งเป็นกษัตริย์ปกครองนครหริภุญชัย หรือ เมืองลำพูน ซึ่งมีความสามารถและมีรูปโฉมที่งดงามเหมาะสมที่จะเป็นมเหสีองค์ใหม่
 
ขุนหลวงวิรังคะจึงได้ประสงค์ให้จัดขบวนอัญเชิญเจ้าแม่จามเทวีมาเป็นมเหสี ทางด้านเจ้าแม่จามเทวีเมื่อทราบข่าวก็ไม่ปรารถนาที่จะมาเป็นชายาเนื่องจาก กลัวจะเป็นที่ครหาแก่ชาวเมือง จึงได้ออกอุบายให้ขุนหลวงวิรังคะสำแดงอานุภาพโดยการพุ่งเสน้า (แหลน) มายังเมืองลำพูน ถ้าสามารถพุ่งมาถึงได้จะยอมเป็นมเหสีของขุนหลวงวิรังคะ
 
ขุนหลวงวิรังคะจึงตกลงแต่ขอทำการทดสอบฝีมือก่อน โดยทำการพุ่งเสน้าจากดอยสุเทพ มาตกยังบริเวณหนองน้ำทางทิศเหนือของเมืองหริภุญชัย ต่อมาชาวบ้านเรียกว่า "หนองเสน้า" เมื่อเจ้าแม่จามเทวีเห็นดังนั้น ก็คิดว่าคงไม่ได้การ จึงออกอุบายทำหมวกปีกกว้างหลากสีงดงามถวายแด่ขุนหลวงวิรังคะเพื่อเป็นกำลัง ใจ แต่ว่าพระนางได้ลงคาถาอาคมไว้
 
เมื่อถึงเวลาขุนหลวงวิรังคะก็ทรงสวมหมวกที่เจ้าแม่จามเทวีทำให้ก่อนที่จะ พุ่งเสน้าก็ได้เกิดมีลมพัดปีกหมวกลงมาปิดตา ทำให้เสียสมาธิและอ่อนกำลังลง เสน้าจึงพุ่งไปตกที่ดอยเงินเหนือดอยคำไปไม่ถึงเมืองหริภุญชัย ขุนหลวงวิรังคะเกิดความโมโหจึงได้ยกทัพไปตีเมืองหริภุญชัยแต่ได้รับความพ่าย แพ้กลับมา
 
ระหว่างตีเมืองหริภุญชัยขุนหลวงวิรังคะได้รับบาดเจ็บสาหัส ก่อนที่จะสิ้นใจได้มีพระประสงค์ให้นำศพไปฝัง ณ จุดที่สามารถมองเห็นเมืองหริภุญชัยได้ชัดเจนแต่ไม่สามารถนำศพข้ามแม่น้ำไป ได้เนื่องจากความเชื่อของคนสมัยก่อนว่า ศพของกษัตริย์จะต้องนำไปฝัง ณ ยอดดอยสูงสุด
 
ดังนั้นชาวเมืองจึงนำโลง (ล่อง) ใส่ศพเดินลัดเลาะไปตามสันเขาแต่ในระหว่างเดินทางล่องบรรจุศพได้เกิดคว่ำลง ณ จุดบริเวณที่ชาวบ้านเรียกว่า "ม่อนล่อง" หรือ "ม่อนคว่ำล่อง" นั้นเอง จึงเป็นที่มาของชื่อดอยม่อนล่อง จากบริเวณนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองเชียงใหม่และลำพูนได้ชัดเจน
 
ปัจจุบันดอยม่อนล่องได้รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวย งามซึ่งอยู่ในพื้นที่ของโครงการหลวงบ้านหนองหอย ด้วยลักษณะที่เป็นหน้าผาหินสูงชันซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,450 เมตรมีอากาศบริสุทธิ์และเป็นจุดชมวิวที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ อีกทั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองเชียงใหม่อีกด้วย
 
โดยใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง จึงนับว่าดอยม่อนล่องเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามและมีนักท่อง เที่ยวขึ้นไปเที่ยวชมมากที่สุดแห่งหนึ่ง
 
ประวัติย่อ ขุนหลวงวิรังคะ
ต้นกำเนิดของขุนหลวงวิรังคะเป็นชนชาวลัวะ หรือ ละว้า หรือ ลาวจักราช ซึ่งในอดีตชนกลุ่มนี้ปกครองอาณาจักรล้านนา 8 ดินแดนในบริเวณภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีชื่อเดิมเรียกว่า "นครทัมมิฬะ" หรือ "มิรังคะกุระ" มีพระอุปะติราชปกครองสืบต่อกันมาจนสิ้น "วงศ์อุปะติ" และเริ่มการปกครองใหม่โดย "วงศ์กุนาระ" ซึ่งในสมัยกุนาระราชาครองราชได้ทรงเปลี่ยนนามนครมาเป็น "ระมิงค์นคร"
 
ขุนหลวงวิรังคะเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 13 ของระมิงค์นคร ในราชวงศ์กุนาระ เมื่อราวต้นพุทธศักราช 1200 ทรงมีอิทธิฤทธิ์และฝีมือในการพุ่งเสน้าจนเป็นที่เลื่องลือ ท่านทรงครองราช "ระมิงค์นคร" ในสมัยเดียวกับพระนางจามเทวี กษัตริย์นครหริภุญไชย
ขุนหลวงวิรังคะได้สิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช 1227 ณ ระมิงค์นคร รวมพระชนมายุได้ 90 กว่าชันษา
 
ต่อมา "ระมิงค์นคร" ได้ถูกปกครองสืบเนื่องกันมาหลายยุคหลายสมัย จนถึงสมัยของพญามังรายที่ 25 ในปีพุทธศักราช 1234 ได้เริ่มสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เชิงดอยสุเทพและสร้างเสร็จเมื่อปีพุทธศักราช 1839 ตั้งชื่อนครแห่งใหม่นี้ว่า "เวียงนพบุรีศรีพิงค์ชัยใหม่" หรือ "เวียงใหม่" และกลายมาเป็นเมืองเชียงใหม่ในปัจจุบัน

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า หมวดหมู่: ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

ดอย และภูเขา กลุ่ม: ดอย และภูเขา

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

อัลบั้มรูป

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)