
วัดหนองตอง

Rating: 3.4/5 (5 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดหนองตอง ตั้งอยู่เลขที่ 188 หมู่ที่ 3 ตำบลหนองตอง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ในอดีตหากย้อนอดีตที่กี่ยวพันกับประวัติวัดหนองตองและตำบลหนองตองแล้วก็ต้องนับย้อนไปถึงพันกว่าปีเลยทีเดียว
คือนับตั้งแต่ยุคก่อตั้งเมืองหริภุญชัยซึ่งมีเจ้าแม่จามเทวีเป็นกษัตรีย์องค์แรกนั้น ปี พ.ศ.1300 พระนางได้สร้างเมืองหน้าด่านไว้เพื่อป้องกันข้าศึก คือเมืองเถาะ (ในเขต อ.จอมทอง) เมืองท่ากาน (เขต อ.สันป่าตอง) และเมืองมโน
คือตำบลหนองตองแห่งนี้ สมัยนั้นแม่น้ำปิงยังไม่เปลี่ยนเส้นทางบริเวณโค้งบ้านเกาะน้ำปิงจะมีเส้นทางผ่านกึ่งกลางตำบลหนองตองและห่างจากวัดหนองตองเพียง 500 เมตรเท่านั้น และยังเป็นคูเมืองธรรมชาติของบริเวณตัวเมืองตลอด ด้านตะวันออกและแม่น้ำปิงก็จะไหลไปถึงบ้านแม่กุ้งวกลงไปเรื่อย ๆ
บริเวณวัดหนองตองเดิมก้เป็นที่ตั้งของวัดโบราณ ซึ่งอยู่ทางประตูทิศเหนือของเมือง ต่อมาพ่อขุนเม็งรายมหาราชยกทัพตีเมืองหริภุญชัยและได้ครองเมืองหริภุญชัย นั่นหมายความว่า ได้เมืองเถาะ เมืองท่ากาน และเมืองมโนด้วยเช่นกัน
ผู้คนในเมืองมโนต่างหลบหนีเข้าป่าทิ้งบ้านเรือน ส่วนมากก็จะหนีไปเมืองเขลางค์นคร ซึ่งเป็นเมืองพี่เมืองน้องกับเมืองหริภุญชัย บ้านเมืองรกร้างว่างเปล่าไปหลายร้อยปีทรัพยิสมบัติถูกขุดทำลาย ประกอบกับเมืองมโนเป็นเมืองที่มีทำเลต่ำฤดูฝนน้ำก็จะท่วมเป็นเวลานาน ทำให้มีการทับถมอย่างรวดเร็วจนเกือบจะไม่เหลือร่องรอยของอดีตให้เห็น
ต่อมามีคนอพยพเข้ามาอยู่ประปราย มาแผ้วถางบริเวณนอกเมืองมโน โดยผู้คนก็มาจากหลายแห่ง และมีหลายเผ่า ชาวละกอนจากลำปาง ชาวกะเหรี่ยงที่ถูกกวาดต้อนมา ชาวลัวะ ขม ก้เข้ามาอาศัยอยู่ตามเกาะและที่ราบสูงทั่วไป เคยมีลูกหลานเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้เข้ามาอาศัยบริเวณทางทิสตะวันออกของวัดหนองตอง และเป็นผู้สร้างวิหารที่มีเสาขนาดใหญ่ให้กับวัด ต่อมมาก้กลายเป็นชุมชนใหญ่ดดยตำบลหนองตองมีหมู่บ้านถึง 14 หมู้บ้านและมีประชากรนับหมื่นคน
วัดหนองตอง สร้างเมื่อ ปี พ.ศ.2407 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2514 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 3 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา
อาณาเขตทิศเหนือจรดลำน้ำเหมืองและหมู่บ้าน ทิศใต้จรดกับหมู่บ้านและถนนสาธารณะ อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร อุโบสถ หอระฆัง ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ โรงครัว อาคารโรงเรียนปริยัติธรรมแผนกสามัญ หอประชุมสง์ และกำแพงปูชนียวัตถุ มีพระพุทธรูปปางต่าง ๆ เป็นต้น




แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
วัด(1270)
|