
วัดร้องสร้าน

Rating: 3/5 (9 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดร้องสร้าน ตั้งอยู่เลขที่ 246 หมู่ที่ 10 ตำบลยุหว่า อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะมหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 61 3/10 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4017
วัดร้องสร้าน อาณาเขตทิศเหนือจดถนนสาธารณะและหมู่บ้าน ทิศใต้จดลำเหมือง และมีหมู่บ้าน ทิศตะวันออกจดถนนสาธารณะ และโรงเรียนสุวรรณราษฎร์ ทิศตะวันตกจดที่ดินว่างเปล่าและมีหมู่บ้าน มีธรณีสงฆ์ จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 12 6/10 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4018
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร หอไตรพระ กุฎิสงฆ์ หอสรง โรงครัว และโรงฉัน ปูชนีวัตถุมี เจดีย์ วัดร้องสร้าง สร้างเมื่อ พ.ศ. 2410 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2415
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาส ที่ทราบนามคือ รูปที่ 1 พระอธิการโพธิ โพธิโก รูปที่ 2 พระอธิการนารทะ นารโย รูปที่ 3 พระอธิการธิบุตร ทิตตญาโณ รูปที่ 4 พระอธิการควาย อินทวีโร รูปที่ 5 พระอธิการจันทร์ เขมธมโม
รูปที่ 6 พระครูภาวนานุกุล ตั้งแต่ พ.ศ.2506-2527 รูปที่ 7 พระครูพัฒนาภิวัฒน์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2529 - 2548 รูปที่ 8 พระอธิการธนจันทร์ คนฺธสีโล พ.ศ.2548-2554 รูปที่ 9 พระมหาณัชภพ กิตฺติภทฺโท (มาตยาบุญ) พ.ศ.2554-ปัจจุบัน
การศึกษามีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมเปิดสอน พ.ศ. 2498 และศูนย์การศึกษาพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ.2525 หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลยุหว่า โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลสันป่าตอง ศูนย์การเรียนรู้สู่อาเซียน
วัดร้องสร้าน เดิมไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้านขึ้นเมื่อไร ตามคำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่พอที่จำเค้าลางประวัติของวัดได้เล่าร่า วัดนี้เศรษฐีเป็นผู้สร้างโดยมีหลักฐานการค้นพบงาช้าง และศาสนสมบัติ เช่น พระพุทธรูปโดยมีผู้รู้จุดที่เคยค้นพบสมบัติ
และได้ทำเครื่องหลายเป็นลายแทงไว้ เป็นต้นไม้สื่อกสาะลอง2 ต้นตรงกันโดยใช้หรัสลายแทงว่า “กาชมกา”(ก๋าจมก๋า)ซึ่งกมายถึงกาสะลองทั้งสองต้นปลูกไว้คู่กันในบริเวณหน้าวัด(ได้ถูกโค่นทิ้งไปนานแล้ว) และผู้ที่ได้ถือลายแทงนี้ก็ได้หายสาบสูญไป จากนั้นวัดนี้ก็ถูกทิ้งไว้ร้าง
ต่อมาได้มีพระมาอยู่จำพรรษาและได้กระทำการบูรณะวัดร้างแห่งนี้ขึ้นมาใหม่ในเวลานั้นเรียกว่า “วัดใหม่” เข้าใจว่าเป็นเจ้าอาวาส เจ้าอาวาสคือครูบาเจ้าโพธิ์ โพธิ์โก) ของท่านพระครูบาน้อยสุวณโณ เขตแดนของวัดยังไม่มีกำแพงมีต้นละหุ้งเป็น เครื่องหมายสันเขตแดน
ที่ได้ชื่อว่าวัดร้องสร้าน เพราะว่าทางด้านที่ธรณีสงฆ์ด้านทิศใต้ของวัดมีร่องน้ำ ชาวบ้านเรียกว่าสร้าง และมีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่อยู่บริเวณหน้าวัดด้านทิศตะวันออก ชาวบ้านเรียกว่าร้อง ต้นสร้านจึงเรียกรวมร้องน้ำและชื่อของต้นไม้ให้เป็นนามของวัดว่าวัดร้องสร้าน
ต่อมาเพื่อให้รูปแบบภาษาสละสลวยขึ้นจึงได้เติมอักษร ณ เข้าไปในคำว่า ส้านแล้วเขียนเป็นสร้าน มาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญ และมีเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ อย่างทำให้หลักฐานของการตั้งชื่อวัดได้สูญหายไป (ไม่มีร่องน้ำและต้นไม้ส้านให้เห็นเป็นเค้ามูล)





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
วัด(1270)
|