
วัดป่าผาแด่น

Rating: 2.6/5 (64 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดป่าผาแด่น ผาแด่นเป็นเนินเขาอยู่ทางด้านตะวันออกของภูเขาสูง (ยามเช้าพระอาทิตย์ขึ้นแสงแดดส่องหน้าผาเดิมชื่อว่า ผาแดด) ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลสันป่ายาง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างจากอำเภอแม่แตง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 3๐ กิโลเมตรและอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 6๐ กิโลเมตร
วัดป่าผาแด่น เป็นสถานที่สัปปายะ เงียบสงบ อากาศสดชื่น ร่มรื่นด้วยธรรมชาติ พืชพันธุ์ไม้เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม บริเวณที่ราบเชิงเขาและหุบเขา เป็นที่ตั้งบ้านเรือนชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง จำนวน 6 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านผาแด่น หมู่บ้านผาแตก หมู่บ้านแม่จิ๊ว หมู่บ้านเอียก หมู่บ้านแม่หลอด และหมู่บ้านแม่นาฮ่าง มีประชาชนอาศัยอยู่ประมาณ 2๐๐ คน ประชาชนประกอบอาชีพกสิกรรม ปัจจุบันทีถนนและไฟฟ้าเข้าถึงบ้านผาแด่น
ความเป็นมาของที่พักสงฆ์ ก่อนปี พ.ศ. 2482 บริเวณผาแด่นเป็นป่าดงพงไพร มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นและชุกชมไปด้วยสัตว์ป่า เช่น กวาง เก้ง ลิง หมู่ป่า เสือ งู ไก่ป่า และนกต่าง ๆ มีชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงอาศัยอยู่ 17 ครอบครัว ประกอบอาชีพล่าสัตว์ หาของป่า และทำไร่เลื่อนลอย
ในปี พ.ศ. 2482 ได้มีพระธุดงค์กรรมฐานจากภาคอีสาน 2 รูป คือ หลวงปู่ชอบ ฐานสโม พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (ท่านพ่อลี ธมมธโร) ได้เดินทางจาริกธุดงค์มาถึง ณ ผาแด่นนี้ ได้พิจารณาเห็นเป็นสัปปายะ เหมาะแก่การเจริญกรรมฐาน จึงพากันหยุดปักกลดพักอาศัยอยู่ใต้ต้นไม้ริมน้ำบำเพ็ญเพียรภาวนา และออกบิณฑบาตโปรดสัตว์กับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
ชาวเขาได้เกิดความเลื่อมใสในพระอาจารย์ทั้งสอง จึงได้สร้างที่พักอาศัยถวาย สำหรับการปฏิบัติภาวนาบนเนินเขา ซึ่งเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนาพร้อมทั้งได้อาราธนาให้อาจารย์ทั้งสองจำพรรษา ณ ผาแด่น ซึ่งอาจารย์ทั้งสองได้อบรมชาวเขาเหล่านั้น ให้รู้จักบาปบุญ คุณโทษ
และรักษาศีล บำเพ็ญจิตภาวนา จนเกิดความเลื่อมใสใน พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ หันมานับถือไตรสรณคมน์ เลิกนับถือภูตผีปีศาจ มีจิตใจเห็นถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม เป็นทัพยากรบุคคลที่ดีของประเทศชาติบ้านเมือง
ที่พักสงฆ์ผาแด่น เป็นสถานที่ที่พระภิกษุสามเณร อุปาสกอุบาสิกา จากทิศทั้ง 4 มาบำเพ็ญภาวนามิขาด ชาวเขาก็ได้รับความเมตตาจากผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบได้กรุณาแนะนำสั่งสอน เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน พระอาจารย์บุญรอด ฉนฺทปาโล (อ.ดำ)





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
วัด(1270)
|