Rating: 3.6/5 (5 votes)
ประเพณีการเลี้ยงขันโตก
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
การเลี้ยงขันโตก ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นประเพณีเลี้ยงอาหารร่วมกันหลาย ๆ คน เป็นวัฒนธรรมไทยและประเพณีของชาวเหนือที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะที่เชียงใหม่ และลำพูน
กิจกรรม การจัดสถานที่ในงานประเพณีการเลี้ยงขันโตก
1. เตรียมลานกว้างให้เพียงพอกับจำนวนแขก เพราะนอกจากใช้เป็นที่นั่งรับประทานอาหาร ยังมีมหรสพแสดงด้วย
2. ขัดราชวัติ หรือรั้วพิธี โดยจะทำด้วยไม้ไผ่จักเป็นตอก จากนั้นสานทำคร่าวที่ติดกับเสากั้นเขตนั้นทำทางเข้าไว้ 2 หรือ 4 ทาง เอาใบมะพร้าวมาผ่ากลาง โดยจะทำให้โค้งเป็นเหมือนประตูป่า
3. ปักต้นไม้ เช่นต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นกุ๊ก (พืชตระกูลข่า) ไว้รอบราชวัติทำเหมือนเป็นเขาวงกตที่พระเวสสันดรพำนัก
4. ด้ายสายสิญจน์ ใช้วงรอบราชวัติ ในกรณีที่การเลี้ยงขันโตกนั้นมีพิธีบายศรีสู่ขวัญด้วย
5. ทำประทีปโคมไฟ โดยใช้เทียนขี้ผึ้ง หรือเทียนไข ปักรอบๆราชวัติ
6. ตั้งคนโท(น้ำต้น) กระโถน และพานมูลีขี้โย (บุหรี่) และเมี่ยง
7. วงดนตรีพื้นเมืองประกอบด้วย ซึง สะล้อ ขลุ่ย และกลองสำหรับบรรเลงในระหว่างเลี้ยงขันโตก
8. มาลัยดอกมะลิสำหรับเจ้าภาพใช้คล้องคอให้แขกที่มาถึงบริเวณพิธี
อาหารขันโตก นั้นจะประกอบด้วย ข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว, แกงอ่อม, แกงฮังเล, ไส้อั่ว, แคบหมู, น้ำพริกอ่อง, ลาบ และผักต่าง ๆตลอดจนของหวานต่าง ๆ โดยอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็ก ๆ วางไว้ในขันโตกจนครบ แล้วใช้ฝาชีครอบไว้จนกว่าพิธีแห่ขันโตกจะเสร็จ การแห่ขันโตก จัดเรียงลำดับดังนี้
1. พานบายศรี 2. ช่างฟ้อนเล็บ 3. กลุ่มดนตรีกลองตึ่งโหน่ง (บางทีก็ให้อยู่นอกขบวน) 4. ขันโตกเอก ขันโตกโทหรือขันโตกรอง 5. กล่องข้าวใหญ่ 6. ขันโตกบริวาร 7. กล่องข้าวเล็ก 8. อาหารหวาน
การนั่งในการเลี้ยงขันโตก ผู้ชายจะนั่งขัดสมาธิหรือที่ทางเหนือเรียกว่า "ขดตะหวาย" ส่วนผู้หญิงจะนั่งพับเพียบ ทางเหนือเรียกว่า"นั่งป้อละแหม้"
การละเล่นในการเลี้ยงขันโตก นอกจากจะมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก) และตะไล (บอกไฟจักจ่า) โดยจะมีชุดการแสดงต่าง ๆ เช่น ฟ้อนเล็บ หรือฟ้อนเทียน, ฟ้อนดาบ, ฟ้อนเจิง, ฟ้อนสาวไหม, ฟ้อนแม้ว และฟ้อนหริภุญไชย เป็นต้น
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว