Rating: 4.2/5 (10 votes)
เวียงท่ากาน เมืองโบราณ
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 09.00 - 17.00
เวียงท่ากาน เมืองโบราณ เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ภายในนั้นมีบริการพาชมโดยมัคคุเทศก์ผู้ชำนาญการที่จะคอยบรรยายให้ความรู้สำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจ เป็นเมืองเก่าแก่แห่งหนึ่งในสมัยหริภุญชัย เชื่อว่าเมืองนี้คงจะเริ่มสร้างขึ้นประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 สมัยพระเจ้าอาทิตยราชกษัตริย์ผู้ครองแคว้นหริภุญชัยสืบต่อมาจนถึงสมัยพญามังรายช่วงก่อนสร้างเมืองเชียงใหม่ มีทั้งโบราณสถาน และ โบราณวัตถุ โบราณสถานที่สำคัญอยู่บริเวณกลางเมืองในเขตโรงเรียน วัดท่ากาน และวัดต้นกอก โบราณวัตถุที่พบ ได้แก่ พระพุทธรูปหินทราย พระพุทธรูปดินเผา พระพิมพ์จำนวนมาก ไหเคลือบสีน้ำตาลบรรจุกระดูก และเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ.1823-1911)
ปัจจุบัน เวียงท่ากานอยู่ในเขตท้องที่บ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 ประมาณ 34 กิโลเมตร ผ่านอำเภอสันป่าตองแล้วเลี้ยวซ้ายที่บ้านทุ่งเสี้ยว เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร หรือโดยสารรถประจำทางสายโรงวัว-ท่าวังพร้าว คิวรถอยู่ข้างประตูเชียงใหม่
สร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองหน้าด่านของอาณาจักรหริภุญชัย โดยต่อมาได้ขึ้นตรงต่อพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา จึงมีฐานะเป็นเมืองเสบียงสะสมกำลังพลและอาหาร และภายหลังจากที่พม่าเข้ายึดครองเมืองเชียงใหม่ เวียงท่ากานก็อยู่ในอำนาจของพม่า หลังจากนั้นก็เกิดชุมชนแห่งนี้ได้ร้างไปในช่วงปี พ.ศ. 2318–2339 ซึ่งในปี พ.ศ. 2339 พระเจ้ากาวิละได้ทรงนำชาวไทยองเข้ามาตั้งถิ่นฐานและอาศัยอยู่ในบริเวณเวียงท่ากานจนถึงปัจจุบัน
เวียงท่ากาน นั้นตั้งอยู่ในเขตชุมชนบ้านท่ากาน มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง 500 เมตร ยาว 700 เมตร โดยปัจจุบันกำแพงเมืองบางส่วนกลายสภาพเป็นคันดิน ซึ่งบางส่วนถูกปรับเป็นถนนภายในชุมชน คูเมืองและคันดินของเวียงท่ากานครอบคลุมพื้นที่ประมาณราว 60 ไร่ โดยได้รับการขึ้นทะเบียนโบราณสถานโดยกรมศิลปากรเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2543 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในความควบคุมดูแลของสำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ โบราณสถานภายในเวียงท่ากานมีดังนี้ คูเมืองและคันดิน, เจดีย์วัดกลางเมือง, เจดีย์วัดต้นกอก, วัดอุโบสถ, วัดต้นโพธิ์, วัดป่าเป้า, วัดไผ่รวก และวัดกู่ไม้แดง
เวียงท่ากาน นั้นมักจะปรากฏชื่อใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ว่า “เวียงพันนาทะการ” โดยอาจจะเป็นเมืองที่มีความสำคัญเมืองหนึ่ง เนื่องจากพญามังราย (พ.ศ. 1804-1854) จึงโปรดให้นำต้นโพธิ์ที่นำมาจากลังกาทวีปหนึ่งต้นจากจำนวนสี่ต้น มาปลูกที่เมืองเวียงพันนาทะการ โดยเวียงท่ากานเป็นเมืองที่มีเจ้าเมืองปกครองภายใต้การปกครองของเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารเพราะเป็น ซึ่งเป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ชื่อของเวียงท่ากานปรากฏในเอกสารโบราณเกี่ยวกับเมืองเชียงใหม่ในสมัยพระเจ้าติโลกนาถกล่าวว่าพระองค์ได้เสด็จยกทัพ โดยยกทัพไปตีเมืองเงี้ยวและได้นำเชลยเงี้ยวไปอยู่ที่เวียงท่าการ หมายถึงว่าในช่วงนี้เวียงพันนาทะการมีฐานเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ เพราะคำว่าพันนาในภาษาไทยเหนือนั้นหมายถึงตำบล
หลังจากพม่าเข้าตีเมืองเชียงใหม่ได้ในสมัยพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง เวียงท่ากานนั้นจึงตกอยู่ในอำนาจของพม่าเช่นกันต่อมาเมืองเชียงใหม่ถูกทิ้งร้างไปประมาณ 20 ปีเศษ คือในช่วงระหว่าง (พ.ศ.2318- พ.ศ.2339) ซึ่งทำเวียงท่ากานร้างไปด้วย จนถึงช่วงปี พ.ศ.2339 ต่อมาพระเจ้ากาวิละทรงตี เมืองเชียงใหม่คืนจากพม่าได้จึงกวาดต้อนพวกไทยยองเข้ามาอยู่ตราบจนทุกวันนี้ โดยประชากรบ้านท่ากาน ส่วนใหญ่เชื้อสายไทลื้อ ที่เรียกตัวเองว่า “ชาวยอง” แฃะเนื่องจากอพยพมาจากเมืองยองในพม่า จึงเข้ามาอาศัยในบริเวณเวียงท่ากาน เป็นระยะเวลากว่า 200 ปี โดยเป็นชุมชนที่รักท้องถิ่น รักษาวัฒนธรรมประเพณีอย่างเคร่งครัด จึงมีเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งที่อยู่อาศัย และของดีที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมซึ่งมีอยู่ในพื้นที่ ทำให้รวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ ซึ่งในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกทางวัฒนธรรมในท้องถิ่นให้เป็นไปในแนวทางที่เหมาะสม จนทำให้ได้รับโล่พระราชทานจากพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่เป็นผู้สนับสนุนการอนุรักษ์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2531 เนื่องในวันอนุรักษ์มรดกไทย
การเดินทาง อยู่ห่างจากเมืองเชียงใหม่ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 หรือ เส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด เป็นระยะทาง 34 กิโลเมตร สำหรับการเดินทางนั้น รถยนต์จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 108 หรือเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด โดยจะผ่านอำเภอสันป่าตอง จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายตรงแยกเข้าบ้านท่ากานบริเวณปากทางบ้านทุ้งเสี้ยว และเข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตรก็จะถึงที่หมาย
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์
ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว