หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.สารภี > ต.ท่าวังตาล > เวียงกุมกาม เมืองโบราณ


เชียงใหม่

เวียงกุมกาม เมืองโบราณ

เวียงกุมกาม เมืองโบราณ

Rating: 3.5/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน 
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 
 
เวียงกุมกาม เมืองโบราณ เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ประวัติเวียงกุมกามเป็นเมืองโบราณที่พญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 โดยให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้านเพื่อไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเวียง โบราณสถานที่ปรากฎอยู่ในเวียงกุมกาม และใกล้เคียง จากการสำรวจพบว่ามีอยู่ 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่ แต่ละแห่งอยู่กระจัดกระจายกัน มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 21-22 
 
เวียงกุมกาม นั้นล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 – พ.ศ. 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา โดยพม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นั้นเป็นเรื่องร้ายแรงมาก โดยผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา ซึ่งสภาพวัดต่าง ๆ และโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง และรองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม
 
ในปี พ.ศ. 2527 โดยเรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการและประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง(ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ซึ่งปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ แต่เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่าง ๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่าง ๆ อยู่ในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ
 
เวียงกุมกาม
 
ปัจจุบันเวียงกุมกาม นั้นอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณกิโลเมตรที่ 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตั้งอยุ่ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี และอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก การเดินทาง นั้นเข้าทางตู้ยามหนองหอยและตรงมาจนทะลุแยกเกาะกลางป่ากล้วยตรงต่อไปจนถึงตู้ยามเจดีย์เหลี่ยม
 
เวียงกุมกาม นั้นเป็นพื้นที่ในพื้นที่วัฒนธรรมหริภุญชัย โดยหลังจากพญามังรายขึ้นครองเมือง และยึดเมืองได้ ซึ่งยกระดับจากหมู่บ้าน เป็นเมืองขนาดใหญ่ โดยจะสะท้อนผ่านข้อมูลการขุดทางโบราณคดี และโบราณวัตถุ ที่ขุดค้นพบ
 
เวียงกุมกาม ปัจจุบันนั้นได้พัฒนาจนกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางมรดกวัฒนธรรม มีคุณค่าความจริงแท้ที่ใกล้เมือง อยู่เป็นกลุ่มชัดเจน โดยทุกวันนี้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่บริหารจัดการจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายภาคส่วน เช่น การบริหารท่องเที่ยว มีรถม้า รถราง ดูแลโดย อำเภอสารภี ส่วนบริการท่องเที่ยวชาวบ้านรวมตัวกันนำชมเวียงกุมกาม
 
หลังจากที่หน่วยกรมศิลปากรที่ 4 จังหวัดเชียงใหม่ได้ไปทำการขุดค้นหาซากเมือง และโบราณสถานเพิ่มเติม โดยได้ค้นพบเจอวัดต่าง ๆ ที่จมอยู่ใต้พื้นดินเป็นจำนวนหลายวัดอีกดังต่อไปนี้
 
วัดช้างค้ำ
 
1. วัดกานโถม (ช้างค้ำ) โดยพญามังรายเป็นผู้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1833 ประกอบด้วยฐานเจดีย์ฐานกว้าง 12 เมตร สูง 18 เมตร มีซุ้มคูหาสี่ทิศ ซึ่งมีการใช้พระพุทธรูปซ้อนเป็น 2 ชั้น (ชั้นล่าง-มีพระพุทธรูปนั่ง 4 องค์ ชั้นบน-มีพระพุทธรูปยืน 2 องค์) โดยวิหาร และเจดีย์ทรงมณฑปบนฐานลานประทักษิณเตี้ย บริเวณฐานวิหารพบพระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชยฝังไว้โดยรอบ นอกจากนี้นั้นยังมีเจดีย์อีก 1 องค์ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงมณฑปยอดระฆัง ในบริเวณวัดกานโถมยังมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้อัญเชิญเมล็ดจากเมืองลังกามาไว้ด้วย
 
วัดปู่เปี้ย
 
2. วัดปู่เปี้ย ถือเป็นวัดที่มีความงดงามแห่งหนึ่งในเวียงกุมกาม รูปแบบผังการสร้างวัด และรูปแบบเจดีย์ประธานมณฑปมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ โบราณสถานประกอบด้วยวิหารสร้างยกพื้นสูง เจดีย์, อุโบสถ, ศาลผีเสื้อ และแท่นบูชา พร้อมทั้งมีลวดลายปูนปั้นประดับเจดีย์ที่สวยงามมาก
 
วัดเจดีย์เหลี่ยม
 
3. วัดเจดีย์เหลี่ยม (วัดกู่คำ) แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดกู่คำ โดยคำว่า กู่ หมายถึง พระเจดีย์ คำ หมายถึง ทองคำ พญามังรายนั้นได้โปรดให้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1831 ซึ่งเป็นโบราณวัตถุที่สำคัญของวัดคือ โดยที่องค์พระเจดีย์ประธานรูปทรงมณฑปปลด 5 ชั้น วัดนี้นั้นมีความโดดเด่นคือ เป็นวัดที่กษัตริย์สร้าง และมีรูปแบบเจดีย์ที่แสดงถึงอิทธิพลรูปแบบของรัฐหริภุญไชย โดยพญามังรายโปรดให้เอามาก่อสร้างไว้ในเวียงกุมกามระยะแรก ๆ
 
วัดอีก้าง
 
4. วัดอีก้าง (วัดอีค่าง) โดยส่วนใหญ่จะเรียกว่าวัดอีค่างหรืออีก้างนั้นเพราะเดิมบริเวณนั้นวัดเป็นป่ารกร้าง และมีฝูงลิงฝูงค่างใช้ซากวัดแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งค่างในภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “อีก้าง” โบราณสถานประกอบด้วยวิหาร และเจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน โดยวิหารมีขนาดใหญ่ 20 × 13.50 เมตร โดยเจดีย์เป็นแบบองค์ระฆังทรงกลม
 
วัดพระธาตุขาว
 
5. วัดพระธาตุขาว (วัดธาตุขาว) ที่เรียกกันว่าวัดธาตุขาวแต่เนื่องมาจากเดิมนั้นตัวเจดีย์ยังคงปรากฏผิวฉาบปูนสีขาวนั่นเอง โดยโบราณสถานประกอบด้วยวิหาร เจดีย์, อุโบสถ และมณฑป โดยมีการก่อสร้างขึ้นมา 2 ระยะคือ ระยะแรกก่อสร้างเพียงเจดีย์, วิหาร และอุโบสถ แต่ต่อมาเกิดการชำรุดจึงต่อเติมฐานเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้น โดยระยะที่สองมีการก่อสร้างมณฑปสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป
 
วัดพญามังราย
 
6. วัดพญามังราย นั้นตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับวัดพระเจ้าองค์ดำทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ โดยชื่อวัดพญามังรายนั้นเป็นชื่อเรียกที่ตั้งขึ้นมาใหม่โดยกรมศิลปากร แต่เนื่องจากไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของวัดนี้ โดยเมื่อพิจารณาจากการที่เห็นว่าตั้งอยู่ใกล้วัดพระเจ้าองค์ดำมากที่สุดจนดูเหมือนเป็นวัดเดียวกัน ซึ่งเอกลักษณ์ของวัดนี้อยู่ที่การสร้างพระวิหารที่ไม่มีทางขึ้นลงหลักไว้ที่ด้านหน้า แต่สร้างไว้ที่ด้านซ้าย (กรณีที่หันหน้าไปทางหน้าวัด) โยในส่วนพระเจดีย์พบร่องรอยการตกแต่งปูนปั้นลายช่องกระจกสอดไส้
 
วัดหัวหนอง
 
7. วัดหัวหนอง นั้นตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านเหนือ ซึ่งภายในนั้นจะประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่, อุโบสถ, มณฑป, วิหาร และเจดีย์ โดยมีลวดลายปูนปั้นประดับซุ้มประตูวัดเป็นรูปกิเลน, สิงห์ และหงส์ที่มีความงดงาม
 
วัดกุมกาม
 
8. วัดกุมกาม นั้นตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศเหนือของวัดกานโถม โดยสิ่งก่อสร้างภายในวัดประกอบด้วยวิหารพร้อมห้องมูลคันธกุฏี และเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม
 
วัดน้อย
 
9. วัดน้อย (วัดธาตุน้อย) นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดกานโถม ก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินสองแห่ง มีชาวบ้านเข้ามาปลูกบ้านอาศัยบนโบราณสถานแห่งนี้ และยังพบร่องรอยกสารขุดหาทรัพย์สินด้วย โดยโบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ วิหารตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งมีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและด้านข้าง 1 แห่ง พื้นวิหารปูอิฐ ด้านหลังวิหารเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธานปูนปั้น เจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 13.35 × 13.35 เมตร สูง 1.64 เมตร และต่อขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6.20 × 6.20 เมตร ลักษณะเจดีย์นั้นมีฐานใหญ่แต่องค์เจดีย์เล็ก
 
วัดไม้ซ้ง
 
10. วัดไม้ซ้ง นั้นตั้งอยู่มุมตะวันออกเฉียงใต้ภายในเวียงกุมกาม บริเวณรอบวัดเป็นทุ่งนา โดยสถาพก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีต้นไม้ใหญ่ที่ชาวบ้านเรียกว่าไม้ซ้งอยู่ (เป็นที่มาของชื่อวัด) แต่เดิมโบราณสถาน ประกอบด้วยวิหารเจดีย์แปดเหลี่ยม และฐานซุ้มประตูโขงพร้อมกำแพง
 
วัดกู่ขาว
 
11. วัดกู่ขาว นั้นตั้งอยู่ริมถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยสภาพรอบ ๆ วัดก่อนการขุดนั้นพบเจดีย์มีความสูงประมาณ 5 เมตร และรอบ ๆ ซึ่งองค์เจดีย์เป็นเนินดิน โดยหลังจากขุดลอกดินที่ทับถมอยู่ได้พบโบราณสถาน 3 แห่งคือ กำแพงแก้วและซุ้มประตูอยู่หลังเจดีย์, เจดีย์ประธานเป็นศิลปะล้านนา โดยเรือนธาตุมีลักษณะสูงก่อทึบตันทั้ง 4 ด้าน (ไม่ทำซุ้มพระ) ส่วนยอดเจดีย์เป็นฐานบัวแปดเหลี่ยมรองรับองค์ระฆัง และวิหารที่มีมุมฐานบัวลูกแก้ว ฐานชุกชีเดิม และลายกลีบบัว
 
วัดกู่ป่าด้อม
 
12. วัดกู่ป่าด้อม นั้นตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้นอกเวียงกุมกาม ชื่อของวัดนี้ได้ตั้งชื่อตามเจ้าของที่ดิน โดยโบราณสถานของวัดมีขนาดใหญ่ประกอบด้วย วิหารฐานใหญ่ มีบันไดทางขึ้นวิหาร และมีราวบันไดด้านปลายเป็นรูปตัวเหงา ส่วนเจดีย์เหลือเพียงฐานเท่านั้น ซึ่งจะมีกำแพงแก้วก่อล้อมรอบโบราณสถาน กำแพงแก้วด้านหน้าทางเข้าวิหารมีซุ้มโขง วัดแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 21-22
 
วัดโบสถ์
 
13. วัดโบสถ์ นั้นตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกนอกเวียงกุมกาม โดยโบราณสถานประกอบด้วยวิหารซึ่งเหลือเพียงฐาน และเจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
 
วัดกู่อ้ายหลาน
 
14. วัดกู่อ้ายหลาน นั้นเป็นวัดขนาดเล็กตั้งอยู่ทางด้านเหนือของเวียงกุมกาม ได้ชื่อวัดเรียกตามเจ้าของที่ที่ชื่ออ้ายหลาน โดยโบราณสถานประกอบด้วยวิหารที่หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส, แท่นบูชา กำแพงแก้ว และซุ้มประตูทางเข้าด้านทิศตะวันออก
 
วัดกู่อ้ายสี
 
15. วัดกู่อ้ายสี นั้นเป็นวัดขนาดเล็ก โดยโบราณสถานนั้นจะประกอบด้วย วิหาร และเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน และแท่นบูชา
 
วัดกู่มะเกลือ
 
16. วัดกู่มะเกลือ นั้นตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านทิศตะวันออก โดยเรียกชื่อวัดตามชื่อต้นไม้ที่ขึ้นบนโบราณสถาน หลังจากทำการขุดลอกดินออกแล้ว จากนั้นพบเจดีย์ และวิหารตั้งอยู่บนฐานเดียวกันและหันหน้าไปทางทิศตะวันออก
 
วัดกู่ลิดไม้
 
17. วัดกู่ลิดไม้ นั้นตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกามด้านใต้ โดยวัดนี้เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรีกกันเนื่องจากมีต้นเพกา (ต้นลิดไม้) ขึ้นอยู่บนเนินวัด ซึ่งเป็นโบราณสถานประกอบด้วยวิหารหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เจดีย์ด้านหลังวิหารเหลือเพียงฐาน และเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม มีซุ้มประตูโขง และกำแพงแก้ว
 
วัดกู่จ๊อกป๊อก
 
18. วัดกู่จ๊อกป๊อก นั้นตั้งอยู่นอกกำแพงเวียงกุมกามทางทิศตะวันออกฉียงใต้ โดยโบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ซึ่งเหลือเพียงฐาน
 
วัดหนานช้าง
 
19. วัดหนานช้าง ตั้งตามชื่อเจ้าของที่ดิน ด้านหน้าของวัดอยู่ใกล้แม่น้ำปิง จะมีซุ้มโขงมีลายปูนปั้นประดับเล็กน้อย ถัดจากซุ้มโขงลงไปมีทางเดิน และมีวิหาร โดยที่ฐานพระประธานมีลายปูนปั้น ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสซ้อนกันสองชั้น โดยเรือนธาตุได้พังเสียหายไปแล้ว เยื้องกับเจดีย์เป็นมณฑป ถัดไปเป็นอุโบสถ
 
วัดเสาหิน
 
20. วัดเสาหิน นั้นตั้งอยู่เขตท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ แต่ในปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่บันทึกทางประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงเรื่องราวของวัดนี้ในอดีต
 
วัดหนองผึ้ง
 
21. วัดหนองผึ้ง นั้นจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกถนนเชียงใหม่-ลำพูน ตำบลหนองผึ้ง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ แต่เดิมนั้นเป็นวัดในสมัยเวียงกุมกาม-เชียงใหม่ หรือบางทีอาจจะมีสภาพเป็นโดยวัดดั้งเดิมอยู่ก่อนแล้วตั้งแต่สมัยหริภุญไชย มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณวัตถุประเภทพิมพ์แบบลำพูน โดยสิ่งก่อสร้างที่สำคัญของวัดนี้คือ วิหารพระนอน นั้นเป็นองค์พระนอนหรือพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว 38 ศอก (39 เมตร)
 
วัดศรีบุญเรือง
 
22. วัดศรีบุญเรือง นั้นตั้งอยู่เขตตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นวัดที่ได้รับการฟื้นฟูบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยหลัง ปัจจุบันวัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่
 
วัดข่อยสามต้น
 
23. วัดข่อยสามต้น นั้นอยู่ในบริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือของเขตเวียงกุมกาม แต่ชื่อวัดนั้นตั้งตามจุดสังเกตที่เป็นต้นข่อยจำนวน 3 ต้น ที่ขึ้นเจริญเติบโตในพื้นที่บริเวณวัด โดยจะไม่ปรากฏความเป็นมาในเอกสารและตัวแทนทางประวัติศาสตร์
 
วัดพันเลา
 
24. วัดพันเลา อยู่ในท้องที่ตำบลหนองหอย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมเป็นวัดร้างขื่อดั้งเดิมที่ชุมชนเรียกสืบทอดต่อกันมา คาดว่ามาจากชื่อวัดที่มีคำนำหน้าว่า “พัน” นำหน้านั้น น่าจะหมายถึง ยศทางทหาร หรือขุนนาง โดยที่เดิมวัดนี้อาจเป็นวัดอุปถัมภ์ของนายทหารหรือขุนนางชื่อ “เลา” แต่เดิมตั้งอยู่ริมถนนท่าวังตาลซึ่งอยู่นอกเวียงกุมกามทางด้านทิศเหนือ ซึ่งสภาพโบราณสถานมีการก่ออิฐกระจายหลายแห่ง พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูป และสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเป็นอะไร และยังคงคาดว่ามีอีกหลายวัดที่จมอยู่ใต้พื้นดิน และบ้านเรือนของชาวบ้านที่กำลังรอการบูรณะขึ้นมา
 
วัดพระเจ้าองค์ดำ
 
25. วัดพระเจ้าองค์ดำ นั้นตั้งอยู่ภายในเวียงกุมกาม โดยอยู่ใกล้กับกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แต่ก่อนมีการขุดแต่งนั้นเป็นสวนลำไย มีพื้นที่เป็นเนินดิน 2 แห่ง ชาวบ้านเรียกว่า เนินพญามังราย และเนินพระเจ้าดำ และสันนิษฐานว่าที่เรียกวัดพระเจ้าองค์ดำนี้ เพราะวัดแห่งนี้เคยมีพระพุทธรูปสีดำประดิษฐานอยู่ โดยโบราณสถานที่พบส่วนใหญ่เป็นวิหารหลายหลัง มีซุ้มประตูโขงและแนวกำแพง ถัดจากซุ้มโขงเข้ามามีวิหารและเจดีย์

โทร : 0861935049, 0810279513

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ กลุ่ม: สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์

ปรับปรุงล่าสุด : 3 เดือนที่แล้ว

แผนที่เวียงกุมกาม เมืองโบราณ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)