Rating: 2.3/5 (11 votes)
2. จากนั้นเตรียมกระทะตั้งให้ร้อน และนำพริกที่ปั่นละเอียดเทลงในกระทะ โดยจะต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ในการเคี่ยวพริก โดยคั่วให้มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นใส่หมูสับลงไป และคั่วให้เข้ากันให้หมูสุกได้ที่
3. คั่วหมูต่อไปให้แห้งพอประมาณจากนั้นใส่กระปิลงไป เติมน้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อไม่ให้แห้งจนเกินไป
2. ลวกเส้นแล้วนำมาพักไว้ในจาน
ข้าวซอยน้ำหน้า อาหารภาคเหนือ
ข้าวซอยน้ำหน้า อาหารภาคเหนือ เป็นอาหารประจำถิ่นของชาวเชียงของ ใช้เส้นก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ราดซุปกระดูกหมู จากนั้นปรุงด้วยพริกแห้ง, เกลือ, กระเทียม, หอมแดง, ถัวเน่าแผ่น โรยด้วยหมูบด และผักชี
ข้าวซอย นั้นอาหารเหนือของประเทศไทย โดยเดิมจะเรียกว่า "ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ" จะมีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่, เส้นใหญ่ ในน้ำซุป มีเครื่องเคียง เป็นอาหารไทยภาคเหนือที่เป็นเมนูอาหารเหนือยอดนิยม
วัตถุดิบ
1. หมูสับ
2. เส้นก๋วยเตี๋ยว
3. หอมใหญ่
4. พริกเม็ดใหญ่
5. รากผักชี
6. ต้นหอม
7. มะนาว
8. กระปิ
9. กระดูกหมู
10. เกลือ
11. ซีอิ๊วดำ
วิธีทำ (สูตรอาหารเหนือ)
เตรียมหน้าข้าวซอย
1. ขั้นแรกนำพริกเม็ดใหญ่มาต้ม จากนั้นเตรียมเครื่องปั่น โดยใส่พริกที่ได้เตรียมไว้ ใส่ต้นหอม รากผักชี และหอมใหญ่ จากนั้นปั่นให้ละเอียด
2. จากนั้นเตรียมกระทะตั้งให้ร้อน และนำพริกที่ปั่นละเอียดเทลงในกระทะ โดยจะต้องใช้ไฟอ่อน ๆ ในการเคี่ยวพริก โดยคั่วให้มีกลิ่นหอม หลังจากนั้นใส่หมูสับลงไป และคั่วให้เข้ากันให้หมูสุกได้ที่
3. คั่วหมูต่อไปให้แห้งพอประมาณจากนั้นใส่กระปิลงไป เติมน้ำลงไปเล็กน้อยเพื่อไม่ให้แห้งจนเกินไป
เตรียมน้ำซุป และเส้น
1. ต้มน้ำใช้ไฟอ่อน ๆ จากนั้นให้ใส่กระดูกหมูลงไป เติมเกลือเล็กน้ำ และรอให้น้ำเดือด จากนั้นใส่รากผักชี
2. ลวกเส้นแล้วนำมาพักไว้ในจาน
เตรียมจาน
1. ให้ใส่เส้นที่ได้ลวกลงในจานโดย ราดน้ำซุปที่ได้เตรียมไว้ และโรยด้วยหน้าข้าวซอย จากนั้นโรยด้วยต้นหอม และผักชี ใส่ซีอิ๊วดำลงไปเล็กน้อย จากนั้นบีบมะนาวตามลงไป
อาหารเหนือ นั้นเป็นอาหารไทยพื้นเมืองของคนไทยทางภาคเหนือ หรือเรียกว่า อาหารล้านนา โดยจะนิยมไม่ใส่น้ำตาล เป็นการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน เช่น ไทยใหญ่, ไทลื้อ, จีนฮ่อ และคนพื้นเมือง
ภาคเหนือนั้นถือได้ว่าเป็นดินแดนแห่งประวัติศาสตร์ที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งชาวเหนือได้สรรสร้างศิลปวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนไม่เว้นแต่การบริโภคอาหาร โดยคนภาคเหนือจะนิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีการปรุงที่หลากหลาย นิยมใช้ขันโตกในการรับประทานโดยตั้งเป็นสำรับอาหารที่มีเสน่ห์ รสชาติเป็นเอกลัษณ์ และทานคู่กับผักพื้นบ้านหลากชนิด
การรับประทานอาหารชาวล้านนา มักจะให้ผู้อาวุโสรับประทานก่อนเป็นคนแรก จากนั้นลูก ๆ หรือคนที่อายุน้อยกว่าค่อยลงมือรับประทาน เป็นประเพณีที่นิยมมาแต่โบราณ อาหารที่นิยมตั้งเป็นสำรับขันโตก เช่น ลาบ, แกงอ่อม, ไส้อั่ว, แคบหมู, แกงฮังเล, น้ำพริกหนุ่ม และน้ำพริกอ่อง เป็นต้น โดยรับประทานคู่กับผักจิ้ม หรือผักพื้นเมือง ของหวาน เช่น ข้าวแต๋น, ขนมจ็อก เป็นต้น
หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร
กลุ่ม: เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ
ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว