
วัดพวกเปีย
Rating: 4.2/5 (5 votes)




สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดพวกเปีย เดิมชื่อว่า วัดพวกเปี๊ยะ คำว่า “เปี๊ยะ” หมายถึงเครื่องดนตรีไทยโบราณชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้บรรเลงอยู่ในสมัยล้านนาโบราณ โดยชาวบ้านแถวๆ วัดพวกเปียนี้เคยเป็นหมู่บ้านชุมชนช่างทำเปี๊ยะ หรือพิณเปี๊ยะ ซึ่งชาวบ้านนี้ได้ร่วมกันสร้างวัดขึ้นราว พ.ศ. 2040 จึงได้ชื่อว่า วัดพวกเปี๊ยะ ต่อมาเพี้ยนกลายเป็น วัดพวกเปีย
วัดพวกเปีย นี้ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่า สร้างขึ้นวัน เดือน ปีใด แต่ในประวัติวัดพวกเปียของกรมการศาสนา ได้บันทึกว่าสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2040 และได้ร้างไปเมื่อครั้งเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า เมื่อราว พ.ศ. 2111
ต่อมาสมัยพระเจ้ากาวิละ ได้ทรงกอบกู้บ้านเมืองได้กวาดต้อนเอาชาวลุ่มแม่น้ำสาละวิน หรือเรียกว่า ชาวคง มาอยู่ด้านทิศตะวันออกของวัด ในปี พ.ศ. 2342 และไปเอาชาวเชียงรุ้งสิบสองพันมา มาอยู่บริเวณโรงพยาบาลสวนปรุง (ยังมีวัดร้างชื่อ เชียงรุ้ง ถึงปัจจุบัน ซึ่งปรากฏในเอกสารการจัดหมวดอุโบสถ และนิกายสงฆ์ ได้กล่าวว่า
วัดพวกเปีย ตั้งอยู่ในแขวงประตูไหยา (หายยา) ในเวียงเชียงใหม่ชั้นนอก เจ้าอธิการชื่อ ปัญญา นิกายครง ยังไม่ได้รับเป็น พระอุปัชฌาย์ และรองอธิการชื่อ ทุพินเทา จำนวนพระลูกวัดในพรรษานี้มีพระ 2 รูป พรรษาก่อนมีพระ 1 รูป สามเณรมีอีก 4 รูป)
วัดพวกเปีย คงได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้านายผู้ครองนครเชียงใหม่ โดยในปี พ.ศ. 2446 คือ พระเจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ได้มาทำการสร้างพระวิหารให้กับวัดพวกเปีย แล้วทำการฉลอง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516
วัดพวกเปีย ตั้งอยู่เลขที่ 50 ถนนทิพย์เนตร ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย บริเวณวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ จรดทางสาธารณะประโยชน์ ทิศใต้ จรดทางสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันออก จรดถนนทิพย์เนตร ทิศตะวันตก จรดโรงพยาบาลสวนปรุง โดยมีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา โฉนดเลขที่ 4638 (น.ส. 4 จ)
ลำดับเจ้าอาวาสตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รูปที่ 1 เจ้าอธิการปัญญา นิกายครง ตั้งแต่ พ.ศ. 2430-2450 รูปที่ 2 พระอธิการขัด ตั้งแต่ พ.ศ. – 2478 รูปที่ 3 พระอธิการหมื่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2478-2482 รูปที่ 4 พระอธิการบุญพัตร ปภสฺสโร ตั้งแต่ พ.ศ. 2482-2496
รูปที่ 5 พระครูโกวิทสารธรรม (ไสว ธฺมมาสาโร) ตั้งแต่ พ.ศ. 2496-2538 รูปที่ 6 พระครูสุปุญาภินันท์ (บุญชู ปุญญนฺนโท) ตั้งแต่ พ.ศ. 2539-2546 รูปที่ 7 พระปลัดอรุณ อรุณธฺมโม ตั้งแต่ พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน
วิหารทรงล้านนา เป็นแบบสองชั้น สองตับ หน้าบรรณทำเป็นรูปพรรณพฤกษา หน้าบันไดเป็นรูปพญานาค ด้านในพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระเจดีย์ และเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ





แสดงความเห็น
คำค้น (ขั้นสูง) |
ภูมิภาค
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
วัด(1270)
|