หน้าหลัก > ภาคใต้ > จ.ปัตตานี > 20 ที่เที่ยวปัตตานี เที่ยวภาคใต้ พร้อมจุดเช็คอินที..


ปัตตานี

20 ที่เที่ยวปัตตานี เที่ยวภาคใต้ พร้อมจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด

20 ที่เที่ยวปัตตานี เที่ยวภาคใต้ พร้อมจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด

Rating: 2.9/5 (18 votes)

20 ที่เที่ยวปัตตานี เที่ยวภาคใต้ พร้อมจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด ปัตตานี นั้นเป็นจังหวัดในประเทศไทย คือจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เพียบพร้อมด้วยแหล่งประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และประเพณีไทย เช่น มัสยิดกรือเซะ, สุสานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ฯลฯ และพื้นที่ธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ ทั้งผืนป่า สายน้ำ และท้องทะเล โดยนับเป็นอีกจังหวัดที่งดงามด้วยวิถีชีวิตของผู้คน และสภาพภูมิประเทศ สมกับความยิ่งใหญ่ในฐานะเมืองหลวงของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งเป็นอดีตอาณาจักรเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียอาคเนย์
 
คำขวัญจังหวัดปัตตานี บูดูสะอาด หาดทรายสวย รวยน้ำตก นกเขาดี ลูกหยีอร่อย หอยแครงสด
 
จังหวัดปัตตานี นั้นมีเนื้อที่ประมาณ 2,052 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กเป็นอันดับ 2 ของภาคใต้ (โดยอันดับ 1 คือภูเก็ต) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การเพาะปลูก มีภูเขาสำคัญคือภูเขาทรายขาว ซึ่งอยู่ในเทือกเขาสันกาลาคีรี มีแม่น้ำสำคัญ 2 สาย คือ แม่น้ำตานี และแม่น้ำสายบุรี
 
ปัตตานี นั้นเป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งได้สั่งสมความรุ่งเรืองมายาวนาน ซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณหลายฉบับ เช่น ตานี ปะตานี ฟาฏอนี โฝตาหนี ต้าหนี่ เป็นต้น อีกทั้งด้วยทำเลที่ตั้งติดกับทะเล มีอ่าวที่สามารถบังคลื่นลมได้ดี อีกทั้งยังมีเส้นทางบกและเส้นทางแม่น้ำเชื่อมต่อกับด้านมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงการที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
 
ปัตตานี นั้นจึงเป็นเมืองท่าค้าขายกับเมืองอื่นๆ บนคาบสมุทรมลายูที่เจริญรุ่งเรืองเป็นอย่างยิ่ง การเป็นเมืองท่าเช่นนี้ยังทำให้ปัตตานีได้รับอารยธรรมจากชนชาติต่างๆ ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย ต่อมาก็ได้ผสมผสานกับวัฒนธรรมดั้งเดิม กลายเป็นวัฒนธรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะมาจนถึงทุกวันนี้
 
นักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีเชื่อว่า ดินแดนที่เป็นปัตตานีในปัจจุบัน คือที่ตั้งของอาณาจักรลังกาสุกะ ซึ่งรุ่งเรืองมาตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 7 โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรังในปัจจุบัน จนถึงช่วงพุทธศตวรรษที่ 19 ลังกาสุกะจึงเริ่มเสื่อมลง นั่นเพราะชายฝั่งทะเลตื้นเขิน แม่น้ำเปลี่ยนทางเดิน อีกทั้งอาณาจักรมะละกาทางตอนใต้ยกกำลังมาโจมตีหลายครั้ง จนกระทั่งถึงพุทธศตวรรษที่ 21 ลังกาสุกะก็ล่มสลายลง โดยมีเมืองท่าแห่งใหม่ชื่อปะตานีเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทน และเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่ศาสนาอิสลามที่สำคัญในภูมิภาคนี้
 
โดยล่วงเลยมาถึง พ.ศ. 2351 ปัตตานีแบ่งการปกครองออกเป็น 7 หัวเมือง คือ เมืองตานี ยะหริ่ง หนองจิก สายบุรี ระแงะ รามันห์ และยะลา ครั้นถึง พ.ศ. 2449 ปัตตานีแยกมาตั้งเป็นมณฑล จนถึง พ.ศ. 2475 มณฑลปัตตานีก็ถูกยุบไปรวมกับมณฑลนครศรีธรรมราช กระทั่งถึง พ.ศ. 2476 จึงได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดปัตตานี จวบจนถึงปัจจุบัน
 
จังหวัดปัตตานี แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองปัตตานี, อำเภอยะหริ่ง, อำเภอทุ่งยางแดง, อำเภอโคกโพธิ์, อำเภอไม้แก่น, อำเภอกะพ้อ, อำเภอมายอ, อำเภอหนองจิก, อำเภอปะนาเระ, อำเภอสายบุรี, อำเภอยะรัง และอำเภอแม่ลาน
 
20 ที่เที่ยวปัตตานี เที่ยวภาคใต้ พร้อมจุดเช็คอินที่ไม่ควรพลาด ได้แก่
 
อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว
 
1. อุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาว ที่เที่ยวภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ตำบลทรายขาว ครอบคลุมพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง คือ ปัตตานี ยะลาและสงขลา มีพื้นที่ประมาณ 68,750 ไร่ สภาพพื้นที่เป็นป่าดิบชื้น จึงอุดมไปด้วยพันธุ์ไม้นานาชนิดและประกอบด้วยน้ำตกต่าง ๆ เช่น น้ำตกทรายขาว, น้ำตกโผงโผง และน้ำตกอรัญวาริน
 
เมืองโบราณยะรัง
 
2. เมืองโบราณยะรัง ที่เที่ยวปัตตานี เป็นชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ของประเทศไทย และเชื่อว่าเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณที่มีชื่อว่า “ลังกาสุกะ” หรือ “ลังยาเสียว” ตามที่มีหลักฐานปรากฏในเอกสารของจีน ชวา มลายู และอาหรับ โดยลักษณะของเมืองโบราณยะรัง สันนิษฐานว่า จะมีผังเมืองเป็นรูปวงรีขนาดใหญ่ในพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร และเป็นเมืองที่มีการสร้างทับซ้อนกันถึง 3 เมือง ขยายตัวเชื่อมต่อกัน
 
มัสยิดกลางปัตตานี
 
3. มัสยิดกลางปัตตานี ที่เที่ยวภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ถนนยะรัง เส้นทางยะรัง-ปัตตานี ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี ซึ่งสร้างในปี พ.ศ. 2497 ออกแบบด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงามมีความโดดเด่น และยังเป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของผู้นับถือศาสนาอิสลามในภาคใต้ที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่ง
 
สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา
 
4. สถาบันวัฒนธรรมศึกษากัลยาณิวัฒนา ที่เที่ยวปัตตานี ตั้งอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ปัตตานี ภายในพิพิธภัณฑ์เแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
 
1. พิพิธภัณฑ์พระเทพญาณโมลี ซึ่งจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติ ผลงานและสิ่งของเครื่องใช้ของพระธรรมโมลี พระพุทธรูป เทวรูปปางต่าง ๆ พระพิมพ์ พระเครื่อง โบราณวัตถุที่สำคัญ เครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป เครื่องถ้วยไทย-จีน เหรียญที่ระลึก เงินตราและธนบัตรต่าง ๆ เป็นต้น
 
2. พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา จัดแสดงเรื่องราวให้ความรู้และให้การศึกษาเฉพาะเรื่อง แบ่งเป็นส่วนๆได้แก่ เรื่องเรือนไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือและเครื่องใช้พื้นบ้าน ศิลปการแสดงพื้นบ้าน โบราณวัตถุประเภทเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และจากแหล่งชุมชนสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย ความเชื่อพื้นถิ่น และเทคโนโลยี
 
บ้านปะเสยะวอ
 
5. บ้านปะเสยะวอ ที่เที่ยวภาคใต้ ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านปะเสยะวอ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการต่อเรือ กอและ โดยเป็นเรือประมงของชาวปัตตานี ละนราธิวาส มีลักษณะเป็นเรือหัวแหลมท้ายแหลม ระบายสีสันงดงาม เรือกอและของชาวบ้านปะเสยะวอนั้นมีทั้งขนาดใหญ่ที่เป็นเรือประมงจริงๆ และขนาดเล็กที่จำลองขึ้นเพื่อเป็นของที่ระลึก ฝีมือการต่อเรือกอและที่นี่ได้รับการยอมรับว่าประณีตงดงามด้วยลวดลายที่ผสมกลมกลืนกันระหว่างศิลปะไทยและมุสลิม นอกจากนี้บ้านปะเสยะวอยังมีชื่อเสียงในการทำน้ำบูดูรสดีอีกด้วย
 
คลองตุยง
 
6. คลองตุยง ที่เที่ยวปัตตานี นั้นเป็นคลองที่ไหลผ่านตำบลเกาะเปาะ มีความสวยงามของธรรมชาติรอบๆสองริมตลิ่งและชมชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไทยมุสลิม
 
ศาลหลักเมือง
 
7. ศาลหลักเมือง ที่เที่ยวปัตตานี ตั้งอยู่บริเวณสนามศักดิ์เสนีย์ ในโรงเรียนเบญจมราชูทิศจังหวัดปัตตานีตรงข้ามศาลากลางจังหวัด ริมฝั่งซ้ายของแม่น้ำปัตตานี สร้างเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 สมัยพระยารัตนภักดีเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ศาลหลักเมืองแห่งนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองปัตตานีและนักท่องเที่ยวจะพากันไปสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคลเสมอ
 
ภูเขาสะลินดงบายู
 
8. ภูเขาสะลินดงบายู ที่เที่ยวปัตตานี อยู่ในเขตตำบลตะลุบัน อำเภอสายบุรี  คำว่าสะลินดงบายู แปลว่าภูเขากำบังลม มีถ้ำปิดอยู่ด้านหน้าผาเชิงเขา มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า เป็นที่เก็บทรัพย์สมบัติเครื่องใช้ของคนธรรพ์ หรือชาวลับแลในอดีตกาล โดยคนในยุคก่อนได้หยิบยืมเครื่องใช้สรอยจากถ้ำแห่งนี้ เมื่อใช้เสร็จแล้วก็นำมาคืน ต่อมาคนรุ่นหลังจิตใจเสื่อมทรามลงไม่ยึดถือสัจจะ เทพยดาผู้รักษาถ้ำ จึงบันดาลให้มีหินย้อยมาปิดปากถ้ำ ตั้งแต่นั้นมา บรรดาตะลุ่มที่ใช้ใส่ของเป็นจำนวนมาก นับได้เป็นพันใบได้เคลื่อนย้ายจากถ้ำลอยตามลำน้ำไป จึงมีตำนานที่มาของคำว่า ตะลุ่มพัน และได้เพี้ยนเป็น ตะลุบัน ในที่สุด
 
หาดตะโละกาโปร์
 
9. หาดตะโละกาโปร์ ที่เที่ยวภาคใต้ เที่ยวทะเลปัตตานี เป็นหาดที่มีชื่อเสียงของจังหวัดปัตตานี เคยประกวดแหล่งท่องเที่ยว 5 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ได้ที่ 2 ประเภทแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ประจำปี 2529 หาดตะโละกาโปร์เป็นหาดทรายขาวสะอาดขนานกับชายฝั่งทะเล มีเรือกอและของชาวประมงจอดอยู่เป็นจำนวนมาก หาดทรายแห่งนี้งอกยาวออกไปเรื่อยๆ เพราะเกิดจากกระแสน้ำพัดเอาตะกอนทรายมาทับถมพอกพูน เหมาะแก่การไปนั่งพักผ่อนชมความสวยงาม มีทิวสนและต้นมะพร้าวให้ความร่มรื่นสวยงาม
 
เกาะโลซิน
 
10. เกาะโลซิน ที่เที่ยวปัตตานี อยู่ในทะเลห่างจากหาดสุกรีในเขตอำเภอสายบุรี ประมาณ 72 กิโลเมตร เป็นแหล่งปะการังที่อุดมสมบูรณ์ มีพืชใต้น้ำและฝูงปลานานาชนิด อยู่ใกล้บริเวณเกาะสวยงาม เหมาะแก่การชมความงามตามธรรมชาติใต้ทองทะเล
 
สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
 
11. สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ที่เที่ยวปัตตานี ตั้งอยู่ที่ตำบลรูสะมิแล อำเภอเมือง ห่างจากตัวเมืองประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นสวนสาธารณะที่จัดสร้างขึ้นบริเวณริมทะเลสาบแม่น้ำปัตตานีฝั่งซ้าย ไปจนติดกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสวนป่าชายเลนที่ตกแต่งด้วยไม้ดอกไม้ประดับทิวทัศน์สวยงามร่มรื่นจึงมีผู้นิยมไปพักผ่อนกันมาก
 
ป่าชายเลนบางปู
 
12. ป่าชายเลนบางปู ที่เที่ยวปัตตานี ตั้งอยู่ที่ บางปู 99/3 อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี ชุมชนบางปู จังหวัดปัตตานี มีชุมชนมุสลิมเล็ก ๆ ที่โดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ อีกทั้งยังรายล้อมด้วยระบบนิเวศอันสมบูรณ์ ที่นี่มีกิจกรรมให้ทำมากมาย อาทิ ล่องเรือชมอุโมงค์ป่าโกงกาง, หาหอยกัน (ลอแก), นั่งเรือชมพระอาทิตย์ตกดิน และล่องเรือชมหิงห้อย ทั้งตลอดจนเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตและชุมชนด้วย เป็นอีกหนึ่งที่เที่ยวปัตตานีที่น่าสนใจมาก ๆ แห่งหนึ่ง
 
สกายวอล์ค จังหวัดปัตตานี
 
13. สกายวอล์ค จุดเช็คอินปัตตานี สถานที่ถ่ายรูปปัตตานี เที่ยวภาคใต้ ตั้งอยู่ที่ระหว่างทะเลหาดรูสะมีแล กับสวนสมเด็จศรีนครินทร์ ตั้งอยู่ในสวนแม่สวนลูก ตำบลรูสะมีแล อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยสกายวอล์ค แห่งนี้สามารถชมวิวทิวทัศน์แบบพาโนรามา ชมเมืองปัตตานี วิถีชีวิตชาวประมง รวมถึงชมความงดงามของ พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกอีกด้วย
 
เมืองเก่าปัตตานี
 
14. เมืองเก่าปัตตานี ที่ตั้ง ถนนอาเนาะรู ถนนปัตตานีภิรมย์ และถนนฤาดี ตำบลอาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ย่านนี้จะเป็นที่อยู่อาศัยของชาวไทยพุทธ ชาวไทยมุสลิม และชาวไทยเชื้อสายจีน โดยมีความโดดเด่นทั้งด้านสถาปัตยกรรมและวัฒนธรรม ความโดดเด่นจะอยู่ที่ ตึกเก่าสไตล์ชิโนโปตุกีส รวมไปถึง อาคารบ้านเรือนไม้ อายุเก่าแก่กว่าร้อยปี
 
วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม
 
15. วัดช้างให้ราษฎร์บูรณาราม วัดดังตั้งอยู่ที่บ้านป่าไร่ ตำบลทุ่งพลา ริมทางรถไฟสายหาดใหญ่-สุไหงโก-ลก ระหว่างสถานีนาประดู่กับสถานีป่าไร่ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 31 กิโลเมตร วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นมากว่า 300 ปีมาแล้ว ภายในวิหารมีรูปปั้นหลวงปู่ทวดเท่าองค์จริงประดิษฐานอยู่ มีสถาปัตยกรรมของสถูป เจดีย์ มณฑป อุโบสถ และหอระฆัง ที่งดงามเป็นอย่างยิ่ง
 
วังเก่ายะหริ่ง
 
16. วังเก่ายะหริ่ง ที่เที่ยวปัตตานี ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลยามู ห่างจากตัวจังหวัดประมาร 13 กม. วังเก่ายะหริ่งสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2438 ปลายรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ผู้สร้างคือ พระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดี ศรีสุรสงคราม วังเก่ายะหริ่ง เป็นอาคารสองชั้น ครึ่งตึกครึ่งไม้ มีบันไดโค้งทอดขึ้นไปสู่ระเบียงทั้งสองด้าน จากระเบียงมีประตูเปิดเข้าสู่ห้องโถงใหญ่ ลักษณะคล้ายกับท้องพระโรง
 
แหลมตาชี (แหลมโพธิ์)
 
17. แหลมตาชี (แหลมโพธิ์) ที่เที่ยวปักษ์ใต้ เป็นหาดทรายขาวต่อจากหาดตะโละกาโปร์ เกิดจากการก่อตัวของสันทรายที่ยื่นออกไปในทะเลในลักษณะสันดอนจะงอย (Sand Spit) ไปในทะเลอ่าวไทยทางทิศเหนือ มีภูมิทัศน์ที่สวยงามเหมาะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ
 
ชุมชนท่องเที่ยวบางปู
 
18. ชุมชนท่องเที่ยวบางปู ที่เที่ยวปักษ์ใต้ ที่เที่ยวธรรมชาติปัตตานี การนั่งเรือชมธรรมชาติ อุโมงโกงกาง ชมวิถีชีวิต และท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
 
ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (ศาลเจ้าเล่งจูเกียง)
 
19. ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว (ศาลเจ้าเล่งจูเกียง) ที่เที่ยวปักษ์ใต้ ตั้งอยู่ที่ 63 ถนนอาเนาะรู เป็นศาลที่ประดิษฐานรูปแกะสลักของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เจ้าแม่ทับทิม และรูปพระอื่น ๆ  ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวไปตามถนนสายต่าง ๆ โดยภายในตัวเมืองปัตตานีทำพิธีลุยไฟบริเวณหน้าศาลเจ้าเล่งจูเกียง ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตานีบริเวณสะพานเดชานุชิต ในงานนี้มีผู้ที่เคารพศรัทธามาร่วมงานเป็นจำนวนมากทุกปี
 
หาดวาสุกรี (ชายหาดบ้านปาตาตีมอ)
 
20. หาดวาสุกรี (ชายหาดบ้านปาตาตีมอ) ที่เที่ยวปัตตานี ทะเลสวยงาม สงล อยู่ห่างจากตัวเมืองปัตตานีประมาณ 52 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอสายบุรีประมาณ 2 กิโลเมตร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลตะลุบัน
 

ประเพณีภาคใต้

นอกจากจังหวัดปัตตานีจะมีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าเที่ยวแล้วยังมีประเพณีไทย ประเพณีภาคใต้ และเทศกาลต่าง ๆ ที่ไม่ควรพลาดดังนี้
 
ลากพระ (ชักพระ)
 
ประเพณีลากพระของชาวใต้ ช่วงเวลา วันออกพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) มีมาแต่โบราณและก่อให้เกิดวัฒนธรรมอื่น ๆ สืบเนื่องหลายอย่าง เช่น ประเพณีการแข่งขันเรือพาย การประชันโพนหรือแข่งโพน กีฬาซัดต้ม การทำต้มย่าง การเล่นเพลงเรือ เป็นต้น นอกจากนั้นประเพณีชักพระยังก่อให้เกิดการรวมกลุ่มกันทำคุณงามความดี ก่อให้เกิดความสามัคคีธรรมของหมู่คณะ นำความสุขสงบมาให้สังคม
 
แห่นก
 
ประเพณีแห่นก ประเพณีภาคใต้ ช่วงเวลา จัดขึ้นเป็นครั้งคราวตามโอกาส เพื่อความสนุกรื่นเริง หรือจัดเพื่อเป็นการแสดงคารวะ แสดงความจงรักภักดีแก่ผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือ หรือโอกาสต้อนรับแขกเมือง หรือจัดขึ้นเพื่อการประกวดเป็นครั้งคราว เป็นประเพณีพื้นเมืองของจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งได้กระทำสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานาน เป็นประเพณีนิยมไม่เกี่ยวข้องกับทางศาสนา ไม่เป็นประเพณีตามนักขัตฤกษ์
 
งานสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว
 
ประเพณีแห่เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เป็นงานประเพณีที่ทำกันทุกปี ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามจันทรคติของจีน คือหลังวันตรุษจีน 15 วันของทุกปี (หรือตรงกับวันเพ็ญ เดือน 3 ตามจันทรคติของไทย) โดยจะมีการสมโภชแห่แหนรูปสลักไม้มะม่วงหิมพานต์ของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวและรูปพระอื่นๆ
 
งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี
 
งานแข่งขันกีฬาตกปลาสายบุรี โดยจะจัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี จะจัดทุกวันเสาร์และอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่บริเวณชายหาดวาสุกรี อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการแข่ง ขันกีฬาตกปลาของ อ.สายบุรี ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และส่งเสริมการท่องเที่ยว มีการแข่งขันสุดยอดของนักสู้แห่งท้องทะเลสายบุรี เช่น ปลาอีโต้มอญ, ปลาสาก, ปลาอินทรี, ปลาโฉมงาม, ปลาสกุลกระโทงทุกชนิด, ปลาสละ, ปลาโอ และปลาเหลืองโพรงปัตตานี เป็นต้น
 
ประเพณีลาซัง
 
ประเพณีลาซัง (ปูยอมือแน) เป็นพิธีฉลองนาหลังจากการเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว “ลาซัง” เป็นภาษาท้องถิ่นภาคใต้ คือ ลาต้นข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว พิธีนี้มักจะทำในเดือน 5 หรือ เดือน 6 หลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้วทุก ๆ ปี ชาวนาแถบ อำเภอปะนะเระ อำเภอมายอ และอำเภอโคกโพธิ์
 
งานฮารีรายอของชาวไทยมุสลิม
 
ประเพณีวันฮารีรายอ หรืองานฉลองการเลิกถือศีลอด ประเพณีวันฮารีรายอ เป็นประเพณีปัตตานีที่จัดขึ้นภายหลังการชำระล้างกายใจให้บริสุทธิ์จากการถือศีลอดในเดือนรอมฎอน มุสลิมจะมีการเฉลิมฉลองและงานรื่นเริงประจำปี โดยในรอบหนึ่งปีมุสลิมจะมีวันการฉลองรื่นเริง 2 ครั้ง คือ วันอีดิ้ลฟิตรี (รายอปอซอ) และวันอีดิ้ลอัฎฮา (รายอฮายี) วันอีดิ้ลฟิตรี รื่นเริงรับวันใหม่ หลังใจกายบริสุทธิ์ ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนเชาว์วาล (เดือน 10 ของปฏิทินอิสลาม)
 

8 ร้านอาหารปัตตานี น่าเช็คอินมาถึงที่แล้วต้องห้ามพลาด

เดอะ เบคเฮาส์ แอท ปัตตานี

1. เดอะ เบคเฮาส์ แอท ปัตตานี 11/16 ถ.เจริญประดิษฐ์ (ซ.หนองจิก 10 ตรงข้ามเทคนิคปัตตานี) ต.สะบารัง อ.เมือง , Pattani, Thailand, 94000 เน้นการปรุงอาหารทานกันเองในบ้าน หรือ home-cooking ความอบอุ่น และความปลอดภัย

ซันก้ามปู สาขาปัตตานี

2. ซันก้ามปู สาขาปัตตานี 55/17 (สายม.อ. ก่อนถึงโรงเรียนท.5) ถ.เจริญประดิษฐ์ จังหวัดปัตตานี เพราะของสด รสชาติดี ราคาไม่แพง มี “ขนมจีนน้ำยาปู” ชุดละ 60 บาท “ข้าวผัดปู” ปูเยอะมาก “ยำกุ้งสด” จะมีให้เลือกจะเอากุ้งแบบลวก หรือไม่ลวก ปลาร้าหอมมาก ไม่เค็มเกิน “น้ำปั่น” แก้วละ 30 บาท ที่จอดรถค่อนข้างหายาก จะต้องจอดริมถนน

ขนมจีนเมืองคอน

3. ขนมจีนเมืองคอน ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี นมจีนเมืองคอน รสดี รสจัดจ้านสมกับอาหารของคนนครจริง ๆ

ข้าวมันไก่โกจิว

4. ข้าวมันไก่โกจิว 131 ถ. ปัตตานีภิรมย์ ตำบล อาเนาะรู อำเภอเมืองปัตตานี ปัตตานี 94000 ร้านอร่อยปัตตานี้ ข้าวมันไก่โกจิว ตั้งอยู่บนถนนปัตตานีภิรมณ์ ร้านนี้นั้นเปิดขายความอร่อยมากกว่า 30 ปี กับรสชาติที่คุ้นเคย ไม่ว่าใครได้ลิ้มลองก็ต้องติดใจ ด้วยเนื้อไก่ต้มเนื้อนุ่มกำลังดี ไม่เละ ข้าวมันเรียงเม็ดไม่มันเกินไป กินกับน้ำจิ้มรสเด็ดสูตรของทางร้าน ที่ผสมเต้าเจียว กระเทียม พริก ทานคู่กับน้ำจิ้มซีอิ้วดำชั้นดี อร่อยลงตัวสุด ๆ นอกจากข้าวมันไก่ แล้วยังมีเมนูซุปซี่โครงหมูตุ๋นยาจีน หมูอบ อีกด้วย

ร้านเจ๊จู โจ๊กหมี่ซั่ว

5. ร้านเจ๊จู โจ๊กหมี่ซั่ว ร้านเด็ดปัตตานี ร้านเจ๊จู โจ๊กหมี่ซั่ว ร้านอาหารใต้ในเมืองปัตตานี ที่เปิดขายมานานกว่า 10 ปี บรรยากาศบ้าน ๆ ลักษณะเป็นห้องแถว สะอาด มีโต๊ะที่นั่งไม่มากนัก แต่มีเมนูเด็ดแนะนำ ก็คือ โจ๊กหมู รสชาติอร่อย หอม เครื่องแน่นแบบเต็มชาม และ หมี่ซั่วไก่ตุ๋น สูตรดั้งเดิม น้ำซุปเข้มช้น อร่อยมาก ๆ

ร้าน กะมา ข้าวยำราชา

6. ร้าน กะมา ข้าวยำราชา 71 ถนนนาเกลือ ตำบลอาเนาะรู อำเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี 94000 เป็นร้านอาหารปัตตานีพื้นเมืองเจ้าดัง ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของข้าวยำอร่อยที่สุด จนได้ฉายาว่า "ข้าวยำราชา" ภายในร้านจะมีหลายเมนูให้เลือกข้าวยำ ปลาย่าง ข้าวเหนียว ผัดหมี่ ซึ่งปลาที่ใช้ก็จะเป็นปลาตาโตย่าง ส่วนข้าวยำก็จะมีตะกร้าผักมาให้ มีไข่ต้ม ขมิ้นขาว พริกไท หรือจะสั่งข้าวเกรียบมากินคู่กันก็ได้

ร้านบุหงารายา

7. ร้านบุหงารายา ถนน หนองจิก (โรงแรมซีเอส ปัตตานี) รูสะมิแล อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี ชาชักสูตรต้นตำหรับมลายู หอม นุ่ม เข้มข้น โรตี โดยเฉพาะโรตีกรอบอร่อยมากขอแนะนำ ร้านอาหารจะมีสองส่วนด้านนอกเหมาะสำหรับมานั่งกินชาชัก เมนูเด็ด ข้าวผัดน้ำพริกลงเรือ, สลัดกุ้งกรอบ, โรตีแกง, ชาชัก ซี.เอส และหมี่กรอบราดหน้าทะเลชมบรรยากาศ ภายในจะเป็นสไตล์ร้านอาหารโรงแรมติดแอร์ ซึ่งเมนูอร่อยทุกอย่าง ได้มาตรฐาน มากินได้ไม่ผิดหวัง

บ้านเล seafood แหลมนก

8. บ้านเล seafood แหลมนก ร้านอาหารปัตตานี อาหารซีฟู้ดที่ดีที่สุด พร้อมเสิร์ฟแบบจัดเต็ม สดใหม่ ทุกวัน มาแล้วต้องไม่พลาดกับเมนูแสนจะสดชื่น “น้ำมะพร้าว” นั่นเอง บรรยากาศดี วิวติดทะเล อาหารทะเลสด

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร หมวดหมู่: บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร กลุ่ม: รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร

ปรับปรุงล่าสุด : 7 เดือนที่แล้ว

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(2)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(13)

มัสยิด มัสยิด(5)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(4)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(3)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(2)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(3)

น้ำตก น้ำตก(3)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(2)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(13)

หมู่เกาะ หมู่เกาะ(2)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(1)

เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้ เมนูอาหารใต้, สูตรอาหารใต้(3)