Rating: 4.6/5 (5 votes)
วัดบวกครกหลวง
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัดบวกครกหลวง ที่เที่ยวเชียงใหม่ ที่เที่ยวภาคเหนือ แต่เดิมชื่อว่าวัดม่วงคำ ไม่ทราบประวัติการก่อสร้างที่แน่นอน สันนิษฐานว่าตัววิหารน่าจะสร้างประมาณรัชกาลที่ 5 ฝาผนังภายในวิหารเป็นพุทธประวัติและสะท้อนประเพณีของชาวไทยใหญ่
วัดบวกครกหลวง วัดในเชียงใหม่ เป็นวัดขนาดเล็กในตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีวิหารแบบล้านนาที่ได้รับบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 (พ.ศ. 2454–2482)
วัดบวกครกหลวง เป็นวัดที่มีความเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นในยุคสมัยใดไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ความโดดเด่นของวัดบวกครกหลวงอยู่ที่วิหารทรงล้านนา ซึ่งเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนหลังคาเครื่องไม้
วัดบวกครกหลวง ตามตำนานประวัติศาสตร์เมืองเชียงใหม่กล่าวถึงลักษณะที่ตั้งของชุมชนบวกครกหลวงว่าตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียงเชียงใหม่ระหว่างแอ่งที่ลุ่มลำน้ำปิงกับลำน้ำแม่คาว จนกลายเป็นที่มาของชื่อชุมชนและชื่อวัดในเวลาต่อมา แม้จะปรากฏหลักฐานจากคำบอกเล่าว่า เดิมชื่อของวัดแห่งนี้คือ “วัดม่วงคำ” แต่ชาวบ้านทั่วไปก็มักนิยมเรียกชื่อของวัดตามสภาพภูมิศาสตร์ของชุมชนว่า “วัดบวกครกหลวง”
จุดเด่นของวัดบวกครกหลวงที่คนทั่วไปรู้จักอยู่ที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังในวิหารวัดบวกครกหลวง ซึ่งเจะขียนเรื่องราวพุทธประวัติและชาดกในนิบาตหรือ เรื่องทศชาติชาดก จำนวน 14 ห้อง จิตรกรรมฝาผนังนี้เขียนบนผนังรอบ ๆ โดยวิหารระหว่างช่องเสาเป็นเรื่องพุทธประวัติ และชาดก ภาพแต่ละส่วนนั้นจะอยู่ในกรอบซึ่งเขียนเป็นลายล้อมกรอบด้วยลายสีน้ำเงิน แดง และขาว
สำหรับเรื่องที่เขียนนั้นทางทิศเหนือเป็นภาพชาดก เรื่องมโหสถชาดก และส่วนทางทิศใต้เป็นเรื่องทศชาติชาดก (พระเจ้าสิบชาติ) จิตรกรรมดังกล่าวเป็นฝีมือช่างชาวไทใหญ่ที่ละเอียดประณีต และเป็นที่น่าสังเกตว่าจิตรกรรมฝาผนังในล้านนาจะไม่พบการเขียนภาพเรื่องทศชาติชาดกครบทั้ง 10 ชาติ หากเลือกมาเฉพาะเรื่องที่นิยมกันเท่านั้น โดยที่วัดบวกครกหลวงก็เช่นกัน มีทั้งหมด 6 เรื่อง คือ เตมียชาดก, วิธูรบัณฑิตชาดก, สุวรรณสามชาดก, เนมิราชชาดก, มโหสถชาดก และเวสสันดรชาดก
เว็ปไซต์ : www.watbuakkhrok.com
หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์
กลุ่ม: วัด
ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว