Rating: 4.2/5 (6 votes)
อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น
อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่น เที้ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ความหวังอันสูงสุดของเราต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ การที่ทุกคนในโลกนี้พร้อมใจกันหันมาร่วมสร้างสรรค์ สันติสุขและความสุขสดชื่นให้แก่โลก แต่กระนั้นเราคิดว่าจะจดจำโศกนาฎกรรมที่ผ่านมาในอดีต ซึ่งทำให้ประชาชน มากหลายต้องสูญเสียชีวิตจากความขัดแย้งที่น่าเศร้านั้น
อนุสรณ์สถานแห่งนี้เป็นเครื่องแสดงความเคารพ และศรัทธาต่อผู้สูญเสียชีวิตในครั้งนั้น ทั้งยังเป็นสัญญลักษณ์ที่แสดงให้ลูกหลานในอนาคตได้เห็นว่า ณวันนี้ สันติสุขของโลกได้บังเกิดขึ้นแล้ว จากความร่วมมือร่วมใจของพวกเราทุกคน
เมื่อทหารญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกที่ประเทศไทยกองทัพที่ 15 คือกองทัพหลักที่มีหน้าที่ในการสร้างถนนจากประเทศไทย ไปยังพม่า ตามแผนมีการกำหนดจุดไว้ถึง แปดจุด จุดที่ผู้คนรู้จักดี คือ การสร้างทางรถไฟสายมรณะดังกล่าว และอีกจุดก็คือ การตัดถนน จาก แยกบ้านแม่มาลัย อ.แม่แตง ไป อ.ปาย ตรงไปแม่ฮ่องสอน ต่อไป อ.ขุนยวม เข้าเขตพม่า ที่บ้านต้นนุ่น จุดหมายที่ เมืองตองอู
แม่ฮ่องสอนเป็นระยะๆตามแต่จะหาหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงได้ มีหลากหลายสถานที่ที่ผมได้เห็นข้าวของเครื่องใช้ของทหารญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่พิพิธภัณฑ์ สงครามโลกครั้งที่สองที่ อ.ขุนยวม มีซากรถทหารญี่ปุ่นเป็นคันๆให้ชม และมีข้าวของอื่นๆอีกมากมาย
สงครามนำภาพความโหดร้าย และ ความน่ากลัวมาสู่ผู้ที่ได้ยินได้ฟังเสมอ แต่ผู้ที่มีชะตาชีวิตในสงครามหละ จะเป็นอย่างไร
คงยากที่จะคาดเดา ถ้าเราไม่ได้เป็นผู้ประสบชะตากรรมนั้นด้วยตัวเราเอง เมื่อสงครามสิ้นสุดลงบางครั้งความมีมนุษยธรรมต่อกันก็เกิดขึ้น เช่นเดียวกับน้ำใจจากชาวล้านนาที่มีต่อทหารญี่ปุ่นเมื่อต้องถอยทัพ จากพม่าผ่านแม่ฮ่องสอน มาเชียงใหม่ ตามเส้นทางถอยทัพ
ในปี พศ.2488 เมื่อญี่ปุ่นยอมแพ้ กองทัพก็ขาดการส่งกำลังบำรุง ขวัญและกำลังใจก็หดหาย อาหารและเวชภัณฑ์ก็ขาดแคลน ชาวบ้านระหว่างเส้นทางการถอนทัพผ่าน ก็ให้ความช่วยเหลือแก่ทหารญี่ปุ่นเหล่านั้นด้วยความเอื้อเฟื้อ เท่าที่จะทำได้นั่นคือน้ำใจที่ทหารญี่ปุ่นที่รอดชีวิต ลืมไม่ลง
จนเกิด สมาคมสหายสงครามของทหารญี่ปุ่นขึ้นสหายสงครามเหล่านี้พอจะจำได้ว่าร่างของเพื่อนๆร่วมสงครามถูกฝังไว้ ณ ที่แห่งใด
ในเขต เชียงใหม่ และแม่ฮ่องสอน สักวันหนึ่งพวกเขาต้องกลับมา ยังที่แห่งนั้น เพื่อรำลึกถึงเพื่อนทหารที่จากไป
เมื่อบาดแผลแห่งสงคราม ตกสะเก็ด และ จางหาย เมื่อสงครามผ่านไปหลายสิบปี สหายสงครามเหล่านี้ก็กลับมาสร้าง อนุสรณ์สถานแด่ดวงวิญญาณของเพื่อนๆที่ล่วงลับไปในสงคราม และไม่ลืมที่จะตอบแทนต่อชุมชนชาวไทยที่เคยช่วยทหารเหล่านั้น ให้รอดชีวิต
จึงมีการมอบทุนการศึกษา แก่เด็กๆ หรือมีการช่วยเหลือชุมชนเหล่านั้นในรูปแบบต่างๆ ในเขตเชียงใหม่และ แม่ฮ่องสอนเป็นประจำ
อนุสรณ์สถานทหารญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลก ครั้งที่สองในเขตภาคเหนือที่ใหญ่ที่สุดก็คือที่ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่นี่เอง เล่ากันว่าในช่วงนั้นทหารญี่ปุ่นล้มตายเป็นใบไม้ร่วงจนขุดหลุมฝังศพแทบไม่ทัน
ที่ข้างวัดสันคะยอม(เมื่อก่อนอยู่ในเขตอ.สันป่าตอง ปัจจุบันเป็นวัดร้างตั้งอยู่ในเขต อ.แม่วาง) มีบ่อน้ำร้างอยู่ ที่นั่นจึงเป็นหลุมฝังศพขนาดใหญ่ของทหารญี่ปุ่นไปในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อสหายสงครามกลับมาสร้างอนุสรณ์สถานในเชียงใหม่ที่นี่จึงเป็นอนุสรณ์สถานที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่ผมเคยเห็นมา
ปัจจุบัน อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังของโรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ สามารถเดินทางไปได้อย่างสะดวก ราว 28 กม.จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทาง เชียงใหม่ - สันป่าตอง แล้วเลี้ยวขวา ไปตามถนนสาย สันป่าตอง - แม่วาง เลี้ยวขวา อีกครั้งตรง เทศบาลตำบล แม่วาง เข้าไปอีกราว 1 กม.ก็จะเจอ โรงเรียนบ้านกาดวิทยาคม เลี้ยวขวาเข้าไปได้เลย
เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจว่าสงครามให้อะไรบ้าง เพื่อเราจะได้ไม่ลืมอดีต และเป็นบทเรียนเพื่ออนาคต
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน
ปรับปรุงล่าสุด : 2 ปีที่แล้ว