Rating: 4.5/5 (4 votes)
วัฒนธรรมไตลื้อ
วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
วัฒนธรรมไตลื้อ หมู่ 4 หมู่ 5 ต.ลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ไตลื้อเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไตกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในดินแดนสิบสองปันนา ทางตอนใต้มณฑลยูนานของจีน
ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมภาคเหนือ มีวัฒนธรรมประเพณีไทย และความเชื่อตลอดถึงวิถีชีวิตคล้ายคลึงกับคนไทยในล้านนา และคนลาวในล้านช้าง เช่น บริโภคข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทและนับถือผี
อพยพเข้าสู่ภาคเหนือในประเทศไทยตามนโยบายเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองของเจ้าผู้ครองล้านนาในอดีต เมื่อ 600 ปีเศษมาแล้ว โดยยังคงรักษาประเพณีดั้งเดิมของตนเองไว้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ไทลื้อ นั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งโดยอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ซึ่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว โดนชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ต่อมาชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมากชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา
เดิมชาวไทลื้อ นั้นจะมีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน โยย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงทำให้เกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื่องหาญ โดยได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) ซึ่งต่อมาได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่งนานถึง 790 ปี Ffpต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองครองราชย์ ในปี ค.ศ. 1579 – 1583 (พ.ศ. 2122 - พ.ศ. 2126) โดยได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมืองแต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมืองดังนั้นจึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ ชาวไทลื้ออาศัยอยู่
สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ โดยด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) จึงเป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้นจะประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เช่น
- ฝั่งตะวันตก: เมืองแช่, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองฮาย และเมืองมาง
- ฝั่งตะวันออก: เมืองล้า, เมืองงาด์, เมืองอูเหนือ, เมืองฮิง, เมืองพง และเมืองเชียงทอง
ซึ่งการขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยเจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง, เชียงแสน และล้านช้าง ผู้กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา ซึ่งในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น เป็นเหตุจึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วย เมืองยู้, เมืองยอง, เมืองหลวง, เมืองเชียงแขง, เมืองเชียงลาบ เมืองเลน, เมืองพะยาก, เมืองไฮ, เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง), เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) โดยบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง อันประกอบด้วย เมืองเชียงแขง, เมืองยู้ เมืองหลวย, เมืองเชียงกก, เมืองเชียงลาบ, เมืองกลาง, เมืองลอง, เมืองอาน, เมืองพูเลา, เมืองเชียงดาว และเมืองสิง เป็นต้น
ชาวไทลื้อ นั้นมักใช้สัญลักษณ์ นกยูง ซึ่งจะเห็นปรากฏในลวดลายบนผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และโดยปกติมักจะมีการทำตุงผ้า ส่วนใหญ่เป็นลวดลายช้างร้อย, ม้าร้อย, วัว และควาย ซึ่งมาจากเรื่องพระเวสสันดร ตอนไถ่ตัวกัญหา-ชาลี
กลุ่มชาติพันธ์ ลื้อ, ยอง, ขึน (เขิน)
- ลื้อ เป็นชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยประวัติการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปยังรัฐฉานประเทศพม่า
- ยอง เป็นชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองยอง อำเภอหนึ่งของเมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า
- ขึน/เขิน ชาวไทลื้อ (+ไทใหญ่?) โดยจะอาศัยอยู่ในประเทศพม่า, จีน, ไทย และประเทศลาว โดยตั้งชุมชนหนาแน่นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำขึนเมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า
ในอดีตประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลาย ๆ ประเทศที่มีกลุ่มหลากเชื้อชาติพันธุ์อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ทั้งนี้ เนื่องจากเป็นชัยภูมิหรือดินแดนที่มีสภาพเอื้ออำนวยทั้งด้านสภาพภูมิศาสตร์ซึ่งเป็นแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ และสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำกษตรกรรม ประกอบกับลักษณะของคนไทยที่มีความโอบอ้อมอารี รักสงบ เป็นกันเอง เปิดกว้างยอมรับในสิ่งใหม่ๆได้ จึงทำให้ประเทศไทยเป็นดินแดนที่กลุ่มหลากชาติพันธุ์ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งรกรากกระจัดกระจายตามแนวพื้นที่ต่าง ๆ อย่างมากมาย
หนึ่งในชาติพันธุ์ในเมืองไทยที่จะกล่าวถึงคือชาวลื้อ หรือไตลื้อ ที่มีบทบาทและสะท้อนความชัดเจนทั้งในแง่ของศิลปวัฒนธรรม, ประเพณี, ความเชื่อ, พิธีกรรม, ภาษา, การแต่งกาย, การกินและการดeเนินชีวิตที่น่าสนใจทั้งในแง่ของอดีต และในแง่ของปัจจุบันที่ชาวไตลื้อมีกระบวนการปรับปรุงในด้านต่าง ๆ โดยมีการปรับและการผ่อนปรนสิ่งที่ยึดถือปฏิบัติให้ดีขึ้น และค่อย ๆ ลดความเคร่งครัดลงมา เพื่อสามารถนำมาใช้ในสภาพสังคมที่เป็นอยู่ปัจจุบันได้อย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่แปรเปลี่ยนไป
บ้านลวงเหนือ เป็นหมู่บ้านในตำบลเล็ก ๆ ในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ชาวบ้านบ้านลวงเหนือส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการทำกษตรกรรม เมื่อรัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาประเทศมีการเปลี่ยนแปลงจากเกษตรกรรมมาเป็นระบบอุตสาหกรรมมากขึ้นทำให้ความเจริญต่างๆไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ล้วนทำให้เกิดการกระจายตัวของความเจริญรูปแบบใหม่เข้าสู่ชนบทมากขึ้นทำให้พื้นที่ห่างไกลเริ่มสามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงในโลกได้อย่างรวดเร็วส่งผลกระทบโดยตรงต่อวิถีการดำเนินชีวิตในชนบทให้มีรูปแบบแปรเปลี่ยนไป
ในอดีตชาวไตลื้อ บ้านลวงเหนือ เป็นชาวไตลื้อที่อพยพเข้ามาเป็นรุ่นแรก ๆ ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในสมัย พระเจ้าสามฝั่งแถน บรรพบุรุษของชาวไตลื้อ บ้านลวงเหนือ อพยพมาจากเมืองลวงในสิบสองปันนา ชาวไตลื้อเรียก
เมืองของตัวเองว่า เมิงโหล่ง (คือเมืองลวง) ซึ่งชาวไตลื้อที่อพยพเข้ามาเมืองเชียงใหม่จึงถูกเรียกว่า บ้านมุงลวงเหนือ หรือบ้านลวงเหนือ ตามถิ่นฐานเดิมในสิบสองปันนา โดยมีทฤษฎีหนึ่งเป็นงานวิจัยกล่าว่า พระเจ้าแสนเมืองมาเสด็จ
ประพาสดินแดนสิบสองปันนาแล้วเสด็จกลับมาถึงพันนาฝั่งแกนในปี พุทธศักราช 1932 อันเป็นปีที่ตั้งของบ้านเมืองลวงพอดี จึงเป็นไปได้ที่จะมีชาวไตลื้อตามเสด็จกลับมาด้วยเมื่อถึงพันนาฝั่งแกนจึงได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ และสอดคล้องกับประวัติการสร้างวัดศรีมุงเมือง ที่สร้างขึ้นมาในสมัยพระเจ้าสามฝั่งแถน กษัตริย์ล้านนาองค์ที่8 แห่งราชวงศ์มังราย
ซึ่งทรงครองราชในช่วงปีพุทธศักราช 1945-1984 และบันทึกฉบับในหนังสือสิบห้าราชวงศ์ได้ระบุว่า พระเจ้าสามฝั่งแถนทรงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์มายุ 13 พรรษาและทรงโปรดให้สร้างวัดขึ้น ณ.ที่ประสูติ ชื่อว่า วัดเปิง ซึ่งก็คือวัด
ศรีมุงเมืองในปัจจุบัน
ชาวไตลื้อ ยุคก่อนชอบการเก็บเนื้อเก็บตัวไม่อยากที่จะเปิดเผยความเป็นชาวไตลื้อเนื่องด้วยช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัยจอมพล ป.พิบูลย์สงคราม ซึ่งเป็นยุคสมัยการสร้างชาติไทยการมีนโยบายสร้างความเป็นหนึ่งเดียวในชาติ เช่นการกำหนดให้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาหลักเพียงภาษาเดียวห้ามมีการเรียนการสอนภาษาอื่นในโรงเรียน ทำให้ภาษาต่างๆที่เป็นภาษาที่ใช้เฉพาะในกลุ่มเกิดการสูญหายเนื่องจากไม่ได้มีการนำมาใช้พูดหรือเขียนเป็นจำนวนมาก ลื้อเป็นภาษาหนึ่งที่เกิดการสูญหายไปจากชุมชนไปในช่วงเวลานั้น
แต่ในปัจจุบันชาวไตลื้อมีความชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการยอมรับในกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมของตัวเอง มีมุมมองเห็นคุณลักษณะที่มีลักษณะโดดเด่นเฉพาะตัวเป็นที่ยอมรับในสังคมและถือว่าเป็นคนไทย ไตลื้อก็เป็นคนไทยเหมือนคนทั่วไป ในปัจจุบันชาวไตลื้อ บ้านลวงเหนือมีความพยายามที่จะอนุรักษ์วิถีชีวิตทางด้านศิลปวัฒนธรรมและประเพณีของตนไว้ แต่แนวทางดำเนินชีวิตและขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปวัฒนธรรมได้แปรผันไปตามกาลเวลา ชาวไตลื้อ บ้านลวงเหนือก็เช่นกันมีการปรับปรนลักษณะรูปแบบการดำเนินชีวิต ประยุกต์ให้เข้ากับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปดังนั้นบทความนี้จะศึกษากระบวนการปรับปรนด้านการอยู่อาศัยและวิถีชีวิตของชุมชนไตลื้อ บ้านลวงเหนือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงและแนวทางสืบทอดหรืออนุรักษ์อัตลักษณ์รูปแบบของเรือนไตลื้อ บ้านลวงเหนือให้คงอยู่ และภาคภูมิใจต่อไป
เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้ชาวไตลื้ออพยพออกจากถิ่นฐานเดิมมากที่สุดในพุทธศักราช 2492 ในช่วงที่เหมาเซตุงได้ยึดอำนาจการปกครองที่ประเทศจีนและเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ มีการจำกัดสิทธิของเจ้าครอง
นครต่าง ๆ จำกัดสิทธิของประชาชน และทำให้ราชสำนักเชียงรุ่ง ที่มีกษัตริย์ปกครองมายาวนานถึง 45 รัชกาลถึงกาลต้องล่มสลายลงในรัชสมัยเจ้าหม่อมคำลือ เจ้าฟ้าในขณะนั้นสิ้นสุดอำนาจในพุทธศักราช 2496 และในช่วงพุทธศักราช 2501 ประธานเหมาเซตุงได้ทำการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนครั้งใหญ่ทำให้ชาวไตลื้อในสิบสองปันนาต้องอพยพหนีสงครามการปฏิวัติครั้งนั้นออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อหาแหล่งที่อยู่ที่เหมาะสม และสงบจากสงคราม
วัฒนธรรมการตั้งถิ่นฐานสร้างชุมชนของชาวไตลื้อแต่ดั้งเดิมนิยมสร้างเรือนตั้งถิ่นฐานตามที่ราบลุ่มแม่น้ำระหว่างหุบเขา ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรมเป็นหลัก ต้องพึ่งพาแหล่งน้ำในการดำรงชีพ เป็นลักษณะเด่นของการตั้งถิ่นฐานของชาวลื้อไม่ว่าจะอพยพไปอยู่ส่วนไหนในพื้นที่ใดก็ตามมีลักษณะเด่นพิเศษน่าสนใจคือ
1. ถ้าเลือกภูมิประเทศแบบที่ราบลุ่มมีแม่น้ำไหลผ่าน ตัวชุมชนจะอยู่อยู่ระหว่างกลางภูเขา และแม่น้ำแต่ก็มีไตลื้อบางเมืองในสิบสองปันนาที่สร้างบ้านอยู่บนเชิงเขาหรือที่สูง เฉกเช่นชาวลัวะ และขมุ
2.การตั้งบ้านเรือนมักกระจุกตัวอยู่ในบริเวณเดียวกันบนที่ราบเชิงเขาหรือที่เป็นดอนส่วนที่ทำมาหากินจะแยกไปอยู่รอบ ๆ ใกล้แหล่งน้ำซึ่งก็คือที่ต่ ากว่าตัวบ้านนั้นเอง ไตลื้อเป็นชุมชนที่รักษาแบบแผนประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมไว้ได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ชาวไตลื้อทุกแห่งล้วนมีความคล้ายคลึงกันในเรื่องการดำรงชีพ ภาษา การกินอยู่ การสร้างเรือนที่พักอาศัย ดำรงชีวิตบนความเรียบง่ายเป็นกันเอง และมีการอยู่ร่วมพึ่งพาอาศัยกันเป็นชุมชน
หมู่บ้านจึงความสามัคคีของคนในชุมชน ชาวไตลื้อจะอยู่ร่วมกันเป็นระบบสังคมในเครือญาติ ครอบครัวจึงมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นมากชาวไตลื้อดั้งเดิม มีสิ่งยึดเหนี่ยวให้คนไตลื้อปฏิบัติตามจารีตประเพณีแบบดั้งเดิมคือการนับถือผี ควบคู่กับการนับถือพุทธศาสนาซึ่งความเชื่อทั้งสองมีการนับถือแยกออกจากกันอย่างชัดเจน พุทธศาสนามีพื้นที่ทำกิจกรรมทางพุทธศาสนาในวัด และความเชื่อเรื่องผีจะทำกิจกรรมที่บ้านและชุมชน แยกออกจากกันอย่างชัดเจน เช่น การมีผีเรือน ผี เมือง ผีหมู่บ้านสิงสถิตอยู่ ดังคำกล่าวของชาวไตลื้อที่ว่า พระอยู่ที่วัด ผีปู่ย่าตายายอยู่ที่บ้าน ชาวไตลื้อไม่นิยมตั้งหิ้งพระไว้ที่บ้าน นิยมตั้งแต่หิ้งบูชาผีไว้ที่บ้านเท่านั้นในชุมชนไตลื้อจะประกอบไปด้วยหลายๆหมู่บ้านรวมกันเป็นเมืองต่างๆ
ภายในหมู่บ้านแต่ละแห่งจะมีพื้นที่โล่งกลางหมู่บ้านเป็นพื้นที่สาธารณะของชุมชนและจะเป็นที่ตั้งของหอเสื้อบ้านด้วย
1. เสาใจบ้าน เป็นเสาไม้ปักใจกลางลานหมู่บ้าน เสมือนขวัญของหมู่บ้าน
2. ข่วงบ้าน คือลานโล่งกลางหมู่บ้านเป็นที่ประกอบกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่าง ๆ
3. หอเสื้อบ้าน เป็นที่ประดิษฐานผีประจำหมู่บ้านเรียกว่าหอเสื้อ ชาวบ้านจะมาทำพิธีกรรมร่วมกันทั้งหมู่บ้าน ซึ่งจะเป็นพิธีกรรมที่สำคัญ และเป็นอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไตลื้อ
4. บ่อน้ำประจำหมู่บ้าน ชาวไตลื้อจะให้ความสำคัญกับบ่อน้ำประจำหมู่บ้านมากเพราะมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต
หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก
กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี
ปรับปรุงล่าสุด : 4 เดือนที่แล้ว