หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.ดอยสะเก็ด > ต.เชิงดอย > บ้านไทลื้อ


เชียงใหม่

บ้านไทลื้อ

บ้านไทลื้อ

Share Facebook

Rating: 3.6/5 (8 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
บ้านไทลื้อ เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 บ้านลวงใต้ ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จเชียงใหม่ เป็นสถานที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ไทลื้อ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมเรื่องราวความเป็นมาของชาติพันธ์ไตลื้อในอำเภอดอยสะเก็ด และยังเป็นที่จำหน่ายสินค้าผ้อทอไตลื้อที่เลื่องชือของประเทศไทย
 
ไทลื้อ นั้นเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไทยอีกกลุ่มหนึ่งที่อาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยอีกกลุ่มหนึ่งโดยอาศัยอยู่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐฉาน ซึ่งภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน และภาคเหนือของลาว โดนชาวไทลื้อในสิบสองพันนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยวนล้านนาในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ต่อมาชาวไทลื้อจากสิบสองพันนาได้ถูกกวาดต้อนลงมาอยู่ในล้านนาจำนวนมากชาวไทลื้อนับถือศาสนาพุทธและปฏิบัติตามจารีตประเพณีทางพุทธศาสนา
 
เดิมชาวไทลื้อ นั้นจะมีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง ซึ่งต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่าคุนหมิงในปัจจุบัน โยย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงทำให้เกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื่องหาญ โดยได้รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา ปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) ซึ่งต่อมาได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครองเอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่งนานถึง 790 ปี Ffpต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมืองครองราชย์ ในปี ค.ศ. 1579 – 1583 (พ.ศ. 2122 - พ.ศ. 2126) โดยได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมืองแต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมืองดังนั้นจึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบันเมืองสิบสองปันนาได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ ชาวไทลื้ออาศัยอยู่
 
สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ โดยด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่าง ๆ ดังนี้ ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) จึงเป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้นจะประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่าง ๆ เช่น
- ฝั่งตะวันตก: เมืองแช่, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองฮาย และเมืองมาง
 
- ฝั่งตะวันออก: เมืองล้า, เมืองงาด์, เมืองอูเหนือ, เมืองฮิง, เมืองพง และเมืองเชียงทอง
 
ซึ่งการขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยเจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง, เชียงแสน และล้านช้าง ผู้กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา ซึ่งในยุคนี้ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วนเพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น เป็นเหตุจึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อ ในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วย เมืองยู้, เมืองยอง, เมืองหลวง, เมืองเชียงแขง, เมืองเชียงลาบ เมืองเลน, เมืองพะยาก, เมืองไฮ, เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง), เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) โดยบางเมืองในแถบนี้เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง อันประกอบด้วย เมืองเชียงแขง, เมืองยู้ เมืองหลวย, เมืองเชียงกก, เมืองเชียงลาบ, เมืองกลาง, เมืองลอง, เมืองอาน, เมืองพูเลา, เมืองเชียงดาว และเมืองสิง เป็นต้น
 
ชาวไทลื้อ นั้นมักใช้สัญลักษณ์ นกยูง ซึ่งจะเห็นปรากฏในลวดลายบนผ้า และสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ และโดยปกติมักจะมีการทำตุงผ้า ส่วนใหญ่เป็นลวดลายช้างร้อย, ม้าร้อย, วัว และควาย ซึ่งมาจากเรื่องพระเวสสันดร ตอนไถ่ตัวกัญหา-ชาลี
 
กลุ่มชาติพันธ์ ลื้อ, ยอง, ขึน (เขิน)
- ลื้อ เป็นชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่แคว้นสิบสองปันนา ซึ่งจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน โดยประวัติการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปยังรัฐฉานประเทศพม่า
 
- ยอง เป็นชาวไทลื้อที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่เมืองยอง อำเภอหนึ่งของเมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า
 
- ขึน/เขิน ชาวไทลื้อ (+ไทใหญ่?) โดยจะอาศัยอยู่ในประเทศพม่า, จีน, ไทย และประเทศลาว โดยตั้งชุมชนหนาแน่นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำขึนเมืองเชียงตุง รัฐฉานประเทศพม่า
 
การเดินทาง 12 กิโลเมตรจากตัวเมืองอำเภอดอยสะเก็ด บนเส้นทางหลวงหมายเลข 14 เชียงใหม่ - เชียงราย ใกล้วันรังษีสุทธาวาท (วัดเมืองลวงใต้) ต.เชิงดอย อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

แผนที่บ้านไทลื้อ

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(34)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(1)

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)