หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.พิษณุโลก > อ.นครไทย > ต.นครไทย > ประเพณีปักธงชัย


พิษณุโลก

ประเพณีปักธงชัย

ประเพณีปักธงชัย

Rating: 4.2/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 (สมัยโบราณเลือกวันใดวันหนึ่งในระหว่างขึ้น 1-14 ค่ำเดือน 12)
 
ความสำคัญ ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย)และวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีปักธงชัย คือ ประเพณีที่ชาวนครไทยพร้อมใจกันนำธงผ้าขาว 3 ผืนไปปักบนยอดเขาฉันเพลยอดเขาฮันไฮ หรือยอดเขาย่านชัย และยอดเขาช้างล้วง ที่ทำให้เกิดสิริมงคลแก่ผู้ปฏิบัติ แสดงถึงพลังศรัทธาที่ชาวนครไทยมีต่อ "พ่อขุนบางกลางหาว"
 
พิธีกรรม สมัยโบราณ มีพิธีกรรมดังนี้
1. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย เวลากลางคืนจะมีชาวบ้านที่เป็นชายเป็นผู้ตีฆ้องเดินนำหน้าพระภิกษุไปรับบิณฑบาต "ดอกฝ้ายสีขาว" จากนั้นสตรีสูงอายุในหมู่บ้านใกล้ๆ วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะชักชวนชาวบ้านมาช่วยกันตากฝ้าย หีบฝ้าย ดีดฝ้าย และเข็นฝ้าย (ปั่นฝ้าย) เมื่อได้เส้นด้ายขาวนวลแล้วจึงช่วยกันทอธงผ้าขาว 3 ผืน จาก 3 หมู่บ้าน
 
2. ในวันพิธีปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยจะนำอาหารหวานคาว และนิมนต์พระภิกษุขึ้นไปยังเทือกเขาช้างล้วง ถวายภัตตาหารเพล ผู้นำชาวบ้าน จะกล่าวคำถวายธงผ้าขาวต่อพระภิกษุด้วยภาษาบาลี พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ชาวบ้านจะนำธงผ้าขาวมาผูกติดกับด้ามไม้ไผ่ นำไปปักบนร่องหินธรรมชาติ ณ ยอดเขาฉันเพล ยอดเขายั่นไฮ และยอดเขาช้างล้วงตามลำดับ หลังจากเสร็จพิธีปักธงชัยแล้ว ชาวบ้านจะเล่นดนตรีพื้นบ้านและฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนานลงมาจากยอดเขา
 
ปัจจุบัน มีพิธีกรรมดังนี้
1. เมื่อใกล้เทศกาลปักธงชัย ชาวอำเภอนครไทยในหมู่บ้านใกล้วัดเหนือ วัดกลาง และวัดหัวร้อง จะช่วยซื้อฝ้ายและช่วยกันทอธงผ้าขาวขนาดกว้าง 90 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เมตร จำนวน 3 ผืน จาก 3 หมู่บ้านและทอเป็นลวดลายบริเวณชายธงอย่างสวยงาม
 
2. เวลาเช้าของวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 12 จะนำธงไปทำพิธีบวงสรวงที่อนุสาวรีย์พ่อขุนบางกลางหาวภาคบ่ายมีการประกวดริ้วขบวนจากทุกหมู่บ้าน กลางคืนจัดงานรื่นเริงฉลอง
 
3. รุ่งเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตั้งริ้วขบวนรถยนต์ เคลื่อนไปตามถนนแล้วเดินผ่านคันนาขึ้นไปประกอบพิธีปักธงชัยเช่นเดียวกับในสมัยโบราณ ตอนกลางคืนจัดงานลอยกระทงและมีการละเล่นต่าง ๆ
 
ประเพณีปักธงชัยเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่มีคุณค่า ทำให้ประชาชนรู้สึกผูกพันกับถิ่นฐานบ้านเกิด ซึ่งก่อให้เกิดความรัก สามัคคีและช่วยเหลือกัน และเชื่อว่าหากปีใดไม่ปฏิบัติประเพณีนี้ ชาวนครไทยจะเกิดภัยพิบัติจากโรคภัย ภัยธรรมชาติ หรือเกิดไฟไหม้บ้านเรือน

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(29)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(7)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(19)

ถ้ำ ถ้ำ(3)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(9)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)