หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.น่าน > อ.เมืองน่าน > ต.ในเวียง > วัดช้างเผือก


น่าน

วัดช้างเผือก

วัดช้างเผือก

Rating: 3.5/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดช้างเผือก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับถนนมหายศ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้สร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ. 1110 (พ.ศ.2219) ในสมัยเจ้าผู้ครองนครน่าน มีเนื้อที่ 3 ไร่ 2 งาน 23.9/10 ตารางวา ตามโฉนด เลขที่ 18140 เล่มที่ 185 หน้าที่ 10
 
วัดช้างเผือก เป็นวัดที่เก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดน่าน สร้างขึ้นในสมัยเจ้าผู้ครองนครน่านซึ่งขณะนั้นได้ตั้งตัวจังหวัดขึ้นที่ตำบลนี้ (ตำบลเวียงเหนือ) บริเวณที่ตั้งวัด สมัยนั้นเป็นสถานที่เลี้ยง และฝึกช่างของเจ้าครองนครเรียกกันว่า "คงเพนียด" มีบ้านเรือนเจ้านาย และบรรดาข้าราชการอยู่หนาแน่น
 
จึงได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นยังไม่ทันเสร็จ ก็บังเอิญได้มีช้างพังเชือกหนึ่งตกลูกออกมาเป็นช้างเผือก มีลักษณะถูกต้องตามคชลักษณ์ทุกประการ เป็นที่ปลื้มปิติโสมนัสยิ่งนักที่ได้มีช้างเผือกเกิดมาคู่บารมี เจ้าผู้ครองนครจึงได้ให้ชื่อวัดที่กำลังสร้างอยู่นั้นว่า "วัดช้างเผือก"
 
และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า "บ้านช้างเผือก" ในสมัยนั้น โรงเรียนรัฐบาลประจำจังหวัดน่าน เริ่มตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก ที่วัดช้างเผือกนี้ โดยให้นามว่า "โรงเรียนอุปราชนฤมิตร" ซึ่งอยู่ในความอุปการะของเจ้าอุปราช ในกาลต่อมาเมื่อย้ายตัวจังหวัดไปตั้งอยู่ทิศใต้ตามภาษาพื้นเมือง มักจะเรียกตัวจังหวัดเดี๋ยวนี้ว่า "ตำบลเวียงใต้"
 
และเรียกที่ตั้งตัวจังหวัดเดิมว่า "ตำบลเวียงเหนือ" สองตำบลนี้รวมกันเรียกว่า ตำบลในเวียงและได้ย้ายโรงเรียนอุปราชนฤมิตไปตั้งที่วัดพระธาตุช้างค้ำ ซึ่งใกล้กับตัวจังหวัด เรียกชื่อเสียใหม่ว่า "โรงเรียนสุริยานุเคราะห์"
 
ส่วนที่วัดช้างเผือกนั้นก็ได้ให้เป็นโรงเรียนประจำตำบลเวียงเหนือ มีชื่อว่าโรงเรียนอุปราชนฤมิตรเหมือนเดิม และต่อมาก็ได้ย้ายโรงเรียนนี้อีกครั้งหนึ่ง ไปตั้งที่บ้านพระเนตรซึ่งได้กลายมาเป็น "โรงเรียนบ้านพระเนตร" (สามัคคีวิทยาคาร)
 
วัดนี้จะมีการบูรณะปฏิสังขรณ์กันมากี่ครั้ง และมีใครเป็นผู้บูรณะปฏิสังขรณ์นั้นไม่ทราบมาจนถึงจุลศักราช 1270 (พ.ศ.2451) เจ้าแม่ยอดมโนรา ณ น่าน ธิดาของเจ้าอนันตวรฤทธิเดช ได้จ้างช่างมาก่อสร้างพระพุทธรูปพระประธานในวิหาร จำนวน 1 องค์ ปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐผสมดิน หน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ สูง 4 ศอก เป็นที่เคารพศักการะของศรัทธาประชาชนมาก และเดียวนี้ได้พังทลายไปแล้ว
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2479 พระครูพรหมศิริธาดา ตำแหน่งทางการปกครอง คณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะอำเภอปัว ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดช้างเผือกนี้ ได้ทำการก่อสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์สิ่งถาวร วัดถุต่าง ๆ อาทิเช่น ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วิหาร กุฏิสงฆ์ และได้สร้างหอพระไตรปิฏกขึ้น 1 หลัง เป็นเรือนไม้ใด้ถุนสูง ชั้นบนเป็นที่เก็บพระไตรปิฏก (คำภีร์โบราณ)
 
ชั้นล่างใช้เป็นห้องเรียนสำหรับพระภิกษุ สามเณรศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม บาลี โดยมีท่านพระครูพรหมศิริธาดาเป็นครูผู้สอน นับเป็นโรงเรียนปริยัติธรรมเป็นแห่งแรกของจังหวัดน่าน
 
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 วิหารหลังเดิม ซึ่งได้ก่อสร้างมาเป็นเวลานาน เกิดการชำรุดทรุดโทรมลง พระอธิการศรีจันทร์กามฉฺนโท เจ้าอาวาส พร้อมด้วยคณะกรรมการและศรัทธาประชาชนได้ร่วมกันรื้อ และได้ทำการก่อสร้างใหม่แทนหลังเดิมและแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2505
 
วัดช้างเผือก ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2522 และได้ดำเนินการผูกเป็นพัทธสีมา เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2523 ในปี พ.ศ. 2535 ท่านพระครูสังวรนันทคุณ เจ้าอาวาส และนายเสริม สุริยสาร ประธานชุมชนบ้านช้างเผือก คณะกรรมการตลอดจนศรัทธาประชาชนในคุ้มวัด ได้ประชุมมีความเห็นพองต้องกันว่า อุโบสถซึ่งได้ก่อสร้างมาเป็นเวลาเกิดการผุพัง และแตกร้าวหลายแห่ง
 
จนไม่สามารถที่จะซ่อมแซมให้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจต่อไปได้ จึงได้พร้อมใจกันทำการรื้ออุโบสถลงเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2535 และได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2535 ตามแบบแปลนอุโบสถหลังเดิม
 
ซึ่งมีขนาดกว้าง 11 เมตร ยาว 22 เมตร โดยได้ตั้งงบประมาณในการก่อสร้างไว้ จำนวน 3,500,000 บาท (สามล้านห้าแสนบาทถ้วน) และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2538 ในช่วงที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอุโบสถอยู่นั้น พระพุทธรูปพระประธาน ซึ่งก่อด้วยอิฐผสมกับดินเหนียว และก่อสร้างมาเป็นเวลานาน ได้แตกร้าวและล้มลงได้รับความเสียหายจนไม่สามารถที่จะซ่อมแซมให้เหมือนองค์เดิมได้
 
คุณสมชาย คุณนพวรรณ วรรณฤดี พร้อมด้วยคณะญาติพี่น้องจากจังหวัดสมุทรปราการได้รับเป็นเจ้าภาพสร้าง พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปทองเหลือง ปิดทองคำเปลว ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 90 นิ้ว (4 ศอก 1 คืบ) สูง 100 นิ้ว (5 ศอก) พร้อมทั้งฐาน ชุกชีและ พระอัตรสาวก รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเป็นเงิน 250,000 บาท (สองแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) รวมระยะเวลาในการก่อสร้าง 3 ปี
 
และนอกจากนี้ยังได้พร้อมใจกันดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ขึ้นอีก 1 หลัง โดยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2539 และเสร็จสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม 2539 ในการก่อสร้างอุโบสถและกุฏิสงฆ์ดังกล่าว
 
ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมในด้านวัสดุอุปกรณ์การก่อสร้าง และกำลังทรัพย์จากส่วนราชการ บริษัท ห้างร้าน และเอกชน ที้งในจังหวัดและต่างจังหวัด เป็นจำนวนมาก ตามรายชื่อผู้มีจิตรศรัทธาบริจาค และในด้านค่าแรงงานได้รับความร่วมมือจากคณะศรัธาประชาชนในคุ้มวัด

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 8 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดช้างเผือก

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(402)

https://www.lovethailand.org/อ.เมืองน่าน(66)

https://www.lovethailand.org/อ.แม่จริม(13)

https://www.lovethailand.org/อ.บ้านหลวง(6)

https://www.lovethailand.org/อ.นาน้อย(35)

https://www.lovethailand.org/อ.ปัว(49)

https://www.lovethailand.org/อ.ท่าวังผา(49)

https://www.lovethailand.org/อ.เวียงสา(66)

https://www.lovethailand.org/อ.ทุ่งช้าง(12)

https://www.lovethailand.org/อ.เชียงกลาง(30)

https://www.lovethailand.org/อ.นาหมื่น(15)

https://www.lovethailand.org/อ.สันติสุข(14)

https://www.lovethailand.org/อ.บ่อเกลือ(7)

https://www.lovethailand.org/อ.สองแคว(8)

https://www.lovethailand.org/อ.ภูเพียง(32)