หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.น่าน > อ.เวียงสา > ต.กลางเวียง > วัดบุญยืน


น่าน

วัดบุญยืน

วัดบุญยืน

Rating: 3.2/5 (9 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดบุญยืน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2329 ตามตำนานกล่าวว่า เป็นวัดที่สร้างคู่กับการสร้างเมือง “เวียงป้อ” (เวียงพ้อ) ซึ่งเมืองเวียงป้อสร้างขึ้นโดย “พระยาป้อ” จึงเรียกชื่อเมืองตามนามผู้สร้างเมือง แต่มีชื่อนิยมเรียกกันอีกว่า “เวียงสา” หรือ “เมืองสา”
 
เดิมพระยาป้อ ได้สร้างวัดเป็นเพียงสำนักสงฆ์ เล็ก ๆ ให้นามว่า “วัดบุญนะ” ส่วนระยะเวลาในการก่อสร้างไม่ปรากฏชัด บริเวณที่ตั้งเดิมนั้น ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดบุญยืนปัจจุบันนี้ (ที่ตั้งอาคารตลาดสดและอาคารพาณิชย์ของวัดปัจจุบัน)
 
ต่อมาเมื่อผู้ครองนครน่านนามว่า เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เสด็จประพาสเวียงป้อ ทรงเห็นว่า วัดบุญนะคับแคบไม่อาจขยายให้กว้างขวางได้ ประกอบกับเจ้าอาวาสขณะนั้น คือ พระอธิการนาย (ครูบานาย) และราษฎรได้เห็นพ้องต้องกันอีกด้วย ดังนั้น เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ
 
จึงให้ย้ายวัดมาสร้างใหม่ ห่างจากวัดเดิมประมาณ 3 เส้น (120 เมตร) ทางด้านทิศเหนือบนฝั่งขวาของแม่น้ำน่าน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2329 บริเวณที่ตั้งมีป่าไม้สักที่สมบูรณ์ จึงใช้ไม้สักสร้างพระวิหาร กุฏิสงฆ์และศาสนวัตถุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก และพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดป่าสักงาม”
 
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2343 ได้โปรดเกล้าฯ ให้ หมื่นสรรพช่าง ก่อสร้างพระวิหารกว้าง 15 เมตร  ยาว 30 เมตร และสร้างพระพุทธรูปยืน ปางประทับยืน (ปางโปรดสัตว์หรือปางเมตตาการุณก็เรียก) พระประธานในพระวิหาร หันพระพักตร์ไปทางด้านทิศเหนือ ขนาดสูง 8 ศอก
 
ดังนั้น จึงเรียกชื่อ วัดป่าสักงาม เป็น “วัดบุญยืน” ตามลักษณะพระพุทธรูปประทับยืน ทรงโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าราชวงศ์เชียงของ เป็นผู้แกะสลักบานประตูใหญ่พระวิหาร พระพุทธรูปไม้สักรูปจำลองเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ และศาสนวัตถุอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก        
 
พ.ศ. 2345 ให้ก่อสร้างพระเจดีย์ทรงพระปรางค์ (โอคว่ำ) แบบลังกาติดกับพระวิหารทางด้านทิศใต้ และพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2347 ต่อมาพระอธิการอภิชัย (ครูบาอภิชัย) เจ้าอาวาส ได้ขออนุญาตเจ้าหลวงสา ผู้ปกครองเมืองสาเพื่อก่อสร้างพระวิหารขึ้นอีกหลังหนึ่ง
 
ปัจจุบันคือศาลาสามพี่น้อง มีความกว้าง 6 เมตร ยาว 12.50 เมตร ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระวิหารหลังเดิม ระยะเวลาก่อสร้างระหว่าง พ.ศ. 2353 ถึง พ.ศ. 2360 จึงแล้วเสร็จ
 
ครั้น พ.ศ. 2451 เมืองสาได้ยกฐานะขึ้นเป็นกิ่งอำเภอเมืองสาหรือเวียงสา และ พ.ศ. 2461 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ และเปลี่ยนชื่ออำเภอเป็นอำเภอบุญยืน ตามนามของพระประธานวัดบุญยืน และระยะนี้ได้มีการบูรณะซ่อมแซมพระวิหาร เช่น ซ่อมแซมหลังคา ช่อฟ้า ใบระกา เป็นต้น โดยพ่อเลี้ยงวงศ์ บ้านป่ากล้วย เป็นนายช่างบูรณะซ่อมแซมดังกล่าว และแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2476
 
ต่อมา พ.ศ. 2480 เกิดฝนตกหนักเป็นเหตุให้พระเจดีย์ทรุดและพังลงมา มีคณะศรัทธานำโดย เจ้าราชบุตร ณ น่าน ได้บริจาคทรัพย์บูรณะพระเจดีย์ มีช่างหมื่นจีนหลมเป็นช่างก่อสร้าง และซ่อมแซมบูรณะแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2482 และปีนี้เองได้มีการเปลี่ยนชื่ออำเภออีกครั้งโดยเปลี่ยนเป็นอำเภอสา ตามชื่อเดิมที่ก่อสร้างเมืองสา พ.ศ. 2484 ได้มีการซ่อมแซมบูรณะพระวิหาร
 
พ.ศ. 2485 ได้มีการเปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและแผนกบาลี ในปีถัดมา กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนวัดบุญยืนเป็นโบราณสถาน ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 61 ตอน 65 ลงวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ครั้น พ.ศ. 2499 คณะศรัทธาโดยการนำของพระครูสาราธิคุณ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอเวียงสา
 
ขณะนั้นเห็นว่าตลิ่งลำน้ำสาบริเวณหน้าวัด ได้พังทลายลงอันเกิดจากน้ำเซาะจะเป็นอันตรายต่อพระวิหาร จึงร่วมกับชาวบ้านและหน่วยงานราชการอื่น ๆ ได้ขุดคลองเปลี่ยนกระแสน้ำเพื่อมิให้น้ำเซาะตลิ่งเหมือนเดิม และพระครูสาราธิคุณเห็นว่า พระอุโบสถคับแคบไม่เหมาะสมในการประกอบสังฆกรรมของพระสงฆ์
 
จึงขอพระราชทานวิสุงคามสีมาใหม่ โดยย้ายพัทธสีมาเดิมไปผูกเข้ากับพระวิหารเพื่อให้กว้างขวางขึ้น และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งหลังเมื่อ พ.ศ. 2499 (ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 เหนือ) เขตวิสุงคามสีมากว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ดังนั้น วิหารหลังเดิมจึงกลายสภาพเป็นพระอุโบสถเพื่อใช้ประกอบสังฆกรรมมาจนถึงปัจจุบัน
 
วัดบุญยืน ในอดีตเป็นวัดประจำอำเภอเวียงสาที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของจังหวัดน่าน ตั้งแต่สมัยเจ้าผู้ครองนครน่าน คือ เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ เป็นต้นมา เช่น เมื่อเกิดความไม่สงบหรือเกิดอุทกภัยขึ้นในเมืองน่านคราใด เจ้าผู้ครองนครน่าน
 
และประชาชนจะประกอบพิธีบวงสรวงสักการบูชาพระเจดีย์วัดบุญยืน ซึ่งก่อให้เกิดความสันติสุขต่อประชาชนด้วยดี สมัยนั้น ยังมีการประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาขึ้นในพระวิหาร (พระอุโบสถปัจจุบัน) บริเวณหน้าพระพุทธปฏิมา พระประธานตลอดมา
 
วัดบุญยืน ถือเป็นพระอารามหลวงวัดแรกและวัดเดียวในอำเภอเวียงสา เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของประชาชนชาวอำเภอเวียงสามาช้านาน เพราะเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครน่านในอดีตได้ทรงสร้างไว้
 
จึงเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายยุคหลายสมัย ผสมผสานกับสมัยสุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง อาณาจักรน่านเจ้าในอดีต จุดเด่นที่ดึงดูดศรัทธาและเป็นที่น่าสนใจสำหรับพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่มากราบไหว้และศึกษาเรียนรู้ คือ
 
พระอุโบสถ โครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้สัก ทรงล้านนา ที่มีลักษณะงดงาม กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2343 และบูรณะเมื่อ พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2556 มีหลังคาลดหลั่นเหมือนม้าต่างแพร ต่างไหม ด้านหน้ามี 4 ชั้นซึ่งหาดูได้ยาก ด้านหลังมี 3 ชั้นลดหลั่นกัน น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างหลวงพระบาง
 
พระประธานในพระอุโบสถ ลักษณะพระพุทธรูปเป็นปางประทับยืน (ปางโปรดสัตว์หรือปางเมตตาการุณก็เรียก) สร้างด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทอง สูง 8 ศอก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2343 ประดิษฐานในพระอุโบสถ ทรงประทับยืนบนฐานชุกชี เป็นพระพุทธปฏิมาองค์ยืนที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน และนับว่าเป็นพระคู่บ้าน คู่เมืองเวียงสามาช้านาน ถือเป็นสัญลักษณ์ของชื่อวัดบุญยืน
 
บานประตูใหญ่ ทั้ง 2 บาน ของพระอุโบสถ เจ้าราชวงศ์เชียงของเป็นผู้แกะสลัก เมื่อ พ.ศ. 2343 มีรูปเทวดา พระหัตถ์ถือตาลปัตร ประทับบนดอกบัว ลักษณะย้ายพระบาท ทางขวาเป็นรูปเทวดา พระหัตถ์ขวาถือพระขรรค์ ประทับบนช้างเจ็ดเศียร มีลวดลายรอบ ๆ เทวดา ทั้ง 2 องค์ 
มีความวิจิตรพิสดารและงดงามมาก ลักษณะพิเศษคือ แกะสลักถึง 3 ชั้น ใช้เวลาแกะสลัก 3 เดือน เล่ากันว่า เมื่อแกะสลักแล้วเสร็จช่างได้นำเครื่องมือทิ้งลงในแม่น้ำน่านทั้งหมด
 
ธรรมาสน์เอก (บุษบก) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีขนาดกว้างและยาว 2.5 เมตร สูง 5.5 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2343 ตั้งอยู่ภายในพระอุโบสถ ประดิษฐ์ลวดลายฐานลายก้นหอย เสาและหลังคาประดิษฐ์เป็นรูปเกล็ดงูและหัวพญานาครอบทั้งสี่ทิศ ทุกส่วนมีลวดลายกนกวิจิตรงดงาม
 
พระธาตุเจดีย์ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2345 สร้างด้วยอิฐถือปูน ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทหรือทรงเรือนธาตุ ศิลปะล้านนา ขนาดกว้าง 8 เมตร สูง 15 เมตร เดิมเป็นเจดีย์ทรงพระปรางค์แบบลังกา (ทรงโอคว่ำ) เมื่อปี พ.ศ. 2480 ได้เกิดฝนตกหนักเป็นเหตุให้ฐานเจดีย์ทรุดและพังลงมา จึงทำการบูรณะซ่อมแซมใหม่ 
 
วัดบุญยืน ถือเป็นพระอารามหลวงวัดแรกและวัดเดียวในอำเภอเวียงสา เป็นวัดที่เป็นศูนย์รวมด้านจิตใจของประชาชนชาวอำเภอเวียงสามาช้านาน เพราะเป็นวัดที่เจ้าผู้ครองนครน่านในอดีตได้ทรงสร้างไว้ จึงเป็นศูนย์รวมของศิลปะหลายยุคหลายสมัย ผสมผสานกับสมัยสุโขทัย ล้านนา ล้านช้าง อาณาจักรน่านเจ้าในอดีต
 
จุดเด่นที่ดึงดูดศรัทธาและส่งเสริมการท่องเที่ยว คือ พระอุโบสถที่มีลักษณะงดงาม มีหลังคาลดหลั่นเหมือนม้าต่างแพร ต่างไหม ด้านหน้ามี 4 ชั้นซึ่งหาดูได้ยาก ด้านหลังมี 3 ชั้นลดหลั่นกัน ได้รับอิทธิพลมาจากล้านช้างหลวงพระบาง พระพุทธรูปปางประทับยืนองค์ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน ประดิษฐานในพระอุโบสถถือเป็นสัญลักษณ์ของชื่อวัดบุญยืน เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่าที่มากราบไหว้
 
ในส่วนของการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวที่สำคัญคือ ประเพณีใส่บาตรเทียนในวันแรม 2 ค่ำเดือน 8 ซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้บันทึกไว้เป็นแหล่งข้อมูลด้านท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย
 
และอีกประเพณีหนึ่ง ที่เป็นที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนเป็นอย่างมากคือ ประเพณีตานก๋วยสลากแข่งเรือเทศกาลวันออกพรรษา ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปในกรอบงาน ประเพณี/พิธีกรรม

โทร : 054781872

มือถือ : 0811111230

แฟกซ์ : 054781708

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 8 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดบุญยืน

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(4)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(6)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(68/402)

โบสถ์ โบสถ์(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(18)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(2)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(13)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(9)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(6)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(16)

น้ำตก น้ำตก(28)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(1)

ถ้ำ ถ้ำ(11)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(11)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(4)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(2)