หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.แม่ฮ่องสอน > อ.ขุนยวม > ต.ขุนยวม > ประเพณีเขาวงกต (หมั่งกะป่า)


แม่ฮ่องสอน

ประเพณีเขาวงกต (หมั่งกะป่า)

ประเพณีเขาวงกต (หมั่งกะป่า)

Rating: 2.5/5 (22 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 19.00 น.
 
สถานที่จัดงาน วัดในหมู่บ้านที่สืบเชื้อสายมาจากไทยใหญ่เช่น วัดม่วยต่อ วัดเมืองปอน วัดต่อแพ วัดประตูเมือง อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นต้น
 
ช่วงเวลา ที่มีการจัดงาน ประเพณีภาคเหนือ (ประเพณีไทย)และวัฒนธรรมภาคเหนือ ชาวไทยใหญ่จะจัดประเพณีเขาวงกตขึ้นในเดือนพฤศจิกายน หรือทางจันทรคติชาวไทยใหญ่เรียกว่า เดือน 12 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 1 ค่ำถึง15 ค่ำ แต่ส่วนใหญ่มักจะจัดในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 โดยถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันสุดท้ายของงานประเพณี
 
ประวัติความเป็นมา และความเชื่อเกี่ยวกับงาน คำว่า หมั่งกะป่า แปลว่า เขาวงกต ตามตำนานที่เล่าขานสืบมาของชาวไทยใหญ่กล่าวว่า เมื่อครั้งพระโคตมพุทธเจ้ากำเนิดชาติเป็นพระเวสสันดร พระราชโอรสของพระเจ้าสัญชัย ผู้ครองนครเชตุดร มีช้างเผือกมงคล 1 เชือก ในสมัยนั้นนครกลิงคราชประสบอาเพศ ฟ้าแล้งฝนไม่ตกตามฤดูกาล
 
พลเมืองอดยาก ยากไร้ เจ้าผู้ครองนครกลิงคราชโปรดให้พราหมณ์ไปขอช้างมงคลจากเมืองเชตุดร โดยมีพระประสงค์เพื่อให้ฝนตกตามฤดูกาล เมื่อมีพราหมณ์ไปทูลขอพระราชทานช้างมงคลเชือกนั้น พระเวสสันดรได้บำเพ็ญทานบารมี บริจาคช้างมงคลให้พราหมณ์ไป บรรดาเสนาอำมาตย์พร้อมชาวเมืองเชตุดรเข้าเฝ้าพระเจ้าสัญชัยกราบทูลให้
 
ขับไล่พระเวสสันดรออกจากนครเชตุดร พระเวสสันดร พร้อมพระนางมัทรี เจ้าชายชาลี พระธิดากัณหาผู้เป็นพระมเหสี พระราชโอรสและพระราชธิดา เสด็จไปบำเพ็ญเพียรบารมีในป่า ระหว่างทางต้องผ่านเขาวงกต ซึ่งเป็นระยะทางไกลทุรกันดารมีหนทางคดเคี้ยวไปมา และอยู่ห่างจากพระนครมากจนชาวเมืองไปไม่ถึงท้าวสักกะเทวราชได้เนรมิตปราสาทขึ้น 2 หลัง สระโบกขรณี 1 สระ มีดอกบัวหลากสีออกดอกบานสะพรั่ง พระเวสสันดรประทับอยู่หลังหนึ่ง อีกหลังหนึ่งให้เป็นที่ประทับของพระนางมัทรี เจ้าชายชาลี และพระธิดากัณหา
 
ประเพณีเขาวงกต จึงเลียนแบบเขาวงกตซึ่งพระเวสสันดรไปบำเพ็ญบารมีในสมัยนั้นซึ่งมีปราสาทอยู่ในเขาวงกต แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงจากปราสาท 2 หลังมาเป็นปราสาทพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ เป็นการสร้างจำลองปราสาทของพระพุทธเจ้าที่อุบัติขึ้นมาแล้ว 4 พระองค์คือ
 
1. พระพุทธเจ้ากุกสันโธ 2. พระพุทธเจ้าโกนาคมน์ 3. พระพุทธเจ้ากัสสปะ 4. พระพุทธเจ้าโคตรมะและ 5.พระศรีอริยะเมตไตย โดยเชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่จะอุบัติขึ้นมาตรัสรู้ในภายภาคหน้าอีก 1 พระองค์
 
ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมเป็นปราสาท 8 หลัง โดยมีความเชื่อว่าเศรษฐีในสมัยนั้นสร้างถวายแด่พระพุทธเจ้า โดยจำลองเหตุการณ์มาสร้างพุทธบูชาซึ่งตามพุทธประวัติได้กล่าวไว้ว่า
 
หลังที่ 1 ชื่อ เชตวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงสาวัตถี ในครั้งที่พระพุทธเจ้ายังไม่ ปรินิพพาน ซึ่งเป็นวัดที่มหาเศรษฐีอนาถมิฑิกะ เป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 2 ชื่อ บุพผารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในชนบทแห่งกรุงพราณสี โดยนางวิสาขามหาอุบาสิกาเป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 3 ชื่อ เวฬุวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในชนบทแห่งกรุงราชคฤ พระเจ้าพิมพิสาลเป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 4 ชื่อ มหาวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงปาตะลีบุตร จิตตะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 5 ชื่อ เมกกะทายะวรรณ์มหาวิหาร ตั้งอยู่ในป่าติดกับดินแดนแห่งกรุงมันลานครนันฑิยะ มหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 6 ชื่อ กัณฑารมมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงเวส ลี โชติกะมหาเศรษฐีเป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 7 ชื่อ กุสินารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงโกสัมภี กากะวรรณะมหาเศรษฐี เป็นผู้สร้างถวาย
 
หลังที่ 8 ชื่อ นิโครธารามมหาวิหาร ตั้งอยู่ในกรุงกะบิลละภัท พระเจ้าสุทโทธานะ เป็นผู้สร้างถวาย
 
ลักษณะปราสาท และเขาวงกต ส่วนใหญ่จะสร้างเป็นปราสาทมียอดแหลมขึ้นไปหนึ่งยอด เรียกว่า “กยองยอด” ตั้งไว้บนสถานที่ ยกพื้น ด้านหน้าจะมีที่สำหรับจุดเทียน วางกระทงข้าวพระพุทธและวางดอกไม้บูชา
 
ลักษณะเขาวงกต ทำด้วยไม้ไผ่ผ่าซีกทำเป็นราชวัตรขนาดกว้างประมาณ 3 นิ้วยาว 1 เมตรหรือทำด้วยไม้สักขนาด 2 นิ้วยาว 1 เมตร ติดตั้งไว้สองข้างทางเดิน คดเคี้ยวไปมาตามแผนผัง มีทางเดินเข้าออกไปหาปราสาทที่ตั้งไว้ตรงกลางและตามมุมต่างๆในเขาวงกต ถ้าไม่เคยเข้าไปอาจจะหลงทาง ไปนมัสการพระพุทธไม่ครบทุกปราสาท
 
ประเภทเขาวงกต เขาวงกตในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีปราสาท 5 หลัง กับปราสาทพระอุปคุต และประเภทปราสาท 8 กับ ประสาทพระอุปคุต หรือบางแห่งอาจยังได้อันเชิญพระพุทธรูปปางต่างๆ ซึ่งเป็นพระประจำวันไปประดิษฐานไว้ในซุ้มปราสาท เพื่อบุคคลทั่วไปได้นมัสการบูชาพระประจำวันเกิดของตนเพื่อให้เกิดสิริมงคลแก่ตนเองอีกด้วย
 
อุปกรณ์ในการสร้างปราสาทในเขาวงกต ประกอบด้วยดังนี้ 1. กาว 2. ธูป 3. กรรไกร 4. เทียน 5. ถาด 6. ทรายและน้ำ 7. ไม้ไผ่ 8. ไม้อ้อ 9. มีด
10. ต้นหน่อกล้วย, หน่ออ้อย 11. ดอกไม้ และ 12. กระดาษสีหรือ กระดาษเงิน กระดาษทอง
 
ขั้นตอนวิธีการในการสร้างปราสาทเขาวงกตประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้
 
ขั้นตอนที่ 1 นำไม้หลักติดกับพื้นดินตามแบบแผนที่กำหนด และนำมีดเลาไม้ไผ่เป็นเส้นเล็กๆ และสานไม้ไผ่ลายขัดในรูปแนวเฉียงเพื่อทำเป็นช่องทางทั้ง 2 ด้านในการเดินเข้าเขาวงกต
 
ขั้นตอนที่ 2 พอสานเสร็จแล้วก็ใส่ตามแบบแผนว่าเป็นโครงสร้างตามแนวทางเขาวงกตทางโค้งซ้าย และขวาทำช่องทางเดินไปเรื่อย ๆ และจนเหมือนว่าเป็นทางเข้าเขาวงกต ในขั้นตอนนี้จะต้องใช้ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านดังกล่าว
 
ขั้นตอนที่ 3 ติดของประดับในงาน เช่น ธงริ้วรูปเทวดาต่าง ๆ นำกรรไกรมาตัดแล้วนำกาวมาติดให้สวยงาม
 
ขั้นตอนที่ 4 สร้างปราสาทหรือจองพาราสมมุติว่าเป็นอาศรมของพระเวสสันดรที่จะไปตั้งในเขาวงกต ส่วนประสาทหรือจองพารานำกระบอกไม้ไผ่ใช้มีดเลาเป็นเส้นเล็ก ๆ แล้วออกแบบโครงสร้างปราสาทหรือจองพาราไว้ว่ามียอดของปราสาทหรือจองพารากี่ยอด และนำหน่อกล้วย หน่ออ้อย มาติดข้าง ๆ ประสาททุกหลัง
 
ขั้นตอนที่ 5 พอทำโครงเสร็จก็นำกรรไกรตัดกระดาษทำเป็นหลังคาหรือยอดของปราสาท และนำกระดาษเงินและกระดาษทองทำเป็นยอดประสาทให้สวยงาม ในการทำยอดปราสาทเป็นแบบศิลปะลายไตทั้งหมด ทำส่วนยอดปราสาทมี 7 ชั้น แล้วประดับประสาทให้สวยงาม ทำประสาทประมาณ 5 หลัง
 
ขั้นตอนที่ 6 นำพระพุทธรูปมาวางไว้ในตรงกลางของประสาทหรือจองพาราทั้ง 5 หลัง นำปราสาทหรือจองพารามาตั้งไว้ในเขาวงกตที่สมมุติว่าเป็นอาศรมพระเวสสันดร
 
ขั้นตอนที่ 7 นำปราสาทหรือจองพารามาตั้งไว้ 4 มุม และตรงกลางในเขาวงกตอีก 1 หลัง ทั้งหมดรวมเป็น 5 หลัง แล้วประดับประดาให้สวยงามและติดหน่อกล้วย หน่ออ้อยที่ประสาททุกหลัง
 
ขั้นตอนที่ 8 นำมีดมาตัดไม้อ้อเป็นกระบอกสั้นๆ ประมาณ 9 กระบอก นำทรายและน้ำผสมกันใส่ลงในไม้อ้อที่ตัดให้สวยงาม
 
ขั้นตอนที่ 9 นำดอกไม้ ธูป เทียน มัดรวมกันแล้วมัดรวมกับไม้อ้อที่ตัดไว้ 9 กระบอกมัดให้สวยงาม แล้วใส่ทรายในถาดเล็ก ๆ แล้วนำไม้อ้อที่มัดกับดอกไม้ ธูป เทียน หรือเรียกกันว่ากระบอกน้ำ กระบอกทราย นำมาตั้งไว้ตรงกลางถาดที่มีทรายปักให้ตรง เพื่อจะนำไปบูชาพระพุทธเจ้าในเขาวงกตที่จำลองไว้
 
การประกอบพิธีปอยหวั่งกะป่า ภาคเช้ามีการถวาย “ก๊อกซอมต่อ” พร้อมดอกไม้ธูปเทียน ถวายข้าวพระพุทธกับพระอุปคุต และทำบุญตักบาตรพระภิกษุสงฆ์ สามเณรวัดต่าง ๆที่นิมนต์มารับอาหารบิณฑบาตในเขาวงกต นอกจากนี้ในวันเปิดงานอาจมีพิธีเปิดงานโดยพระสงฆ์ประมาณ 9 รูป เป็นต้น
 
ภาคกลางคืนมีการจุดเทียนนมัสการพระพุทธและพระอุปคุต ซึ่งนำมาตั้งไว้ในปราสาทซึ่งเรียกว่า “กยอง” ตั้งไว้ตามมุมต่าง ๆในบริเวณเขาวงกต มีรายละเอียดขั้นตอนดังนี้
 
- มักนิยมเริ่มงานเวลาประมาณ 17.00 น. เป็นต้นไป ศาสนิกชนผู้มาร่วมงานก็จะไปบูชากระบอกน้ำกระบอก ทราย ดอกไม้ ธูป เทียนด้านหน้างาน โดยถวายปัจจัยเพื่อทำบุญกับวัดหรือภายในวัดแล้วแต่จิตศรัทธาที่ถวายเพื่อนำไปถวายพระที่อยู่ในเขาวงกตที่จะเข้าไปถวาย
 
- เมื่อบูชากระบอกน้ำกระบอกทราย ดอกไม้ ธูป เทียนแล้ว ก็เริ่มเดินเข้าเขาวงกตที่สมมุติว่าเป็นอาศรมของ พระเวสสันดรเพื่อเดินทางไปถวายของให้กับพระแล้วแต่ว่าจะเข้าทางเขาวงกตซ้ายหรือขวา
 
- เมื่อเข้าไปในเขาวงกตที่สมมุติว่าเป็นอาศรมของพระเวสสันดร เมื่อถึงพระแล้วก็ถวายกระบอกน้ำกระบอกทรายและดอกไม้ ธูป เทียน ถวายให้พระ เมื่อถวายเสร็จก็รับพรจากพระแล้วก็เดินออกจากเขาวงกต
 
- ถ้าเขาซ้ายก็เดินทางออกขวา และถ้าเข้าทางขวาก็เดินทางออกซ้าย
 
- ความเชื่อของชาวไทยใหญ่ในอดีตกาลเชื่อว่าถ้าคนไหนหาทางออกเขาวงกตไม่เจอก็แสดงว่าไม่มีบุญ และถ้าคนไหนหาทางออกเขาวงกตเจอก็แสดงว่ามีบุญ
 
ประโยชน์ที่ได้รับ ช่วยในการบูรณะซ่อมแซมวัด เนื่องจากวัดจะได้รับปัจจัยจากการบูชาธาตุทั้งสี่ ปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนได้รู้เรื่องราวพุทธประวัติ (พระเวชสันดรชาดก) ศาสนิกชนได้ถวายธาตุทั้ง 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ โดยเชื่อว่าเป็นศิริมงคลต่อชีวิต เป็นการสืบสาน รักษาประเพณีเขาวงกต (ปอยหวั่งกะป่า)ไว้ให้คงอยู่ตลอดไป และเป็นการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

เว็ปไซต์ : www.m-culture.in.th/album/128203

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

แผนที่ประเพณีเขาวงกต (หมั่งกะป่า)

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(1)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(9)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(82/132)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(1)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(4)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(19)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(4)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(5)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(2)

น้ำตก น้ำตก(12)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(5)

ถ้ำ ถ้ำ(13)

ทุ่งดอกไม้ ทุ่งดอกไม้(2)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(3)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(1)