หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.พิษณุโลก > อ.ชาติตระการ > ต.บ่อภาค > บ้านน้ำจวง-ทับสี่


พิษณุโลก

บ้านน้ำจวง-ทับสี่

บ้านน้ำจวง-ทับสี่

Rating: 3.6/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
บ้านน้ำจวง-ทับสี่ ภูสูงแห่งนี้ซ่อนตัวอยู่ตรงรอยต่อจังหวัดพิษณุโลกกับอุตรดิตถ์ใกล้ชายแดนลาวเทือกเดียวกับภูสอยดาว น้ำตกตาดปลาขาว น้ำตกเล็ก ๆ ที่ไหลซัดซ่าลงสัมผัสโขดหินชั่วนาตาปีมานานเปิดรับผู้รักธรรมชาติป่าเขาแล้วเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2552
 
บนลาดเนินด้านหนึ่งของน้ำตกคือบ้านพักน้ำจวง-ทับสี่ ที่ปลูกสร้างด้วยวัสดุธรรมชาติ มีเรือนนอนหญิงชาย โรงอาหาร บ้านพักคู่สามีภรรยา ทั้งหมดทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะและใบค้อ ยกเว้น อาคารเดียวที่สร้างด้วยคอนกรีตอย่างดี คือห้องน้ำที่เน้นความสะอาดและทันสมัย
 
มีกระทั่งน้ำร้อนให้อาบ เรือนนอนทุกหลังมีหมอน ที่นอนและผ้านวมไว้ให้ โรงอาหารที่ถอดแบบห้องประชุมในอดีตมานั้น มีโต๊ะกินข้าวมาเสริม ตามผนังแขวนภาพประวัติศาสตร์ มีผ้าปักชิ้นงาม ๆ จากฝีมือของกลุ่มสตรีมาวางขาย ด้านหลังเป็นครัว อาหารของที่นี่ใช้ผลผลิตจากไร่ของชาวบ้านเน้นที่ความใหม่สด เมนูแนะนำคือน้ำพริกผักลวก ผักสดที่เก็บใหม่จากไร่รสหวานกรอบกินกับพริกสดตำกับมะเขือเทศเขียวลูกเล็ก
 
เป็นเมนูยอดนิยม และอีกรายการหนึ่งเป็นอาหารสุขภาพสู้ลมหนาวคือไก่ต้มสมุนไพร คนม้งมีชื่อเรื่องสมุนไพรเนื่องด้วยต้องพึ่งพิงธรรมชาติมาหลายชั่วอายุคน พวกเขามีสมุนไพรมากมายที่นำมาต้มกับไก่ได้รสชาติอร่อยที่หากินที่อื่นไม่ได้ รอบ ๆ บริเวณปรับพื้นที่สวยงาม ตรงเนินด้านหน้าน้ำตกปรับเป็นขั้นบันไดปลูกหญ้าแฝกสลับกับไม้ดอก ทิ้งลานกว้างข้างบนไว้ให้กางเต้นท์ ที่นี่รับรองความปลอดภัย 24 ชั่วโมง
 
โดยอดีตผู้กองทหารบ้าน ไฮไลท์ของการมาเที่ยวที่นี่ นอกจากมาลองกินอยู่หลับนอนแบบชาวม้งแล้ว การเดินป่าไปเขาสามแหลมโดยการนำทางของพรานไพร อดีตหน่วยเดินเมล์ผู้คุ้นเคยป่าแถบนี้ราวกับบ้านของตัวเองอย่างเหล่าเหม็ง
 
ทำให้ได้สัมผัสต้นไม้และป่าเขาอย่างมีชีวิตชีวา ในยามที่เดินตามหลังเขา ใครอยากรู้เรื่องอะไร เกิดวีรกรรมที่ไหน ต้นไม้ต้นไหนมีอดีตอย่างไร ก้อนหินก้อนไหนเคยมีผลงานอะไรมาบ้าง ก็จะได้รู้ ฤดูกาลที่ดีที่สุดในการเที่ยวน้ำจวง คือฤดูหนาว นับตั้งแต่ปลายเดือนตุลาไปจนถึงมีนา อากาศเย็นสบาย ลมแรง หมอกหนาและฟ้าสวย แต่จะว่าไปแล้ว ธรรมชาติป่าเขานั้นสวยทุกฤดู แต่ละฤดูก็มีความงามที่แตกต่างกัน
 
การเดินทาง น้ำจวงอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ดังนั้นถ้าจะไปที่นี่ก็ต้องไปให้ถึงพิษณุโลกเสียก่อนแล้วจึงหาทางเข้าอ.ชาติตระการ ระยะทางจากกรุงเทพถึงชาติตระการประมาณ 489 กิโลเมตร ใช้เวลาราว 7 ชั่งโมง ต่อจากตัวอำเภอชาติตระการจะไปบ้านน้ำจวงจำเป็นต้องมีรายละเอียดเล็กน้อยดังนี้
 
จากตัวอำเภอวิ่งบนถนนหมายเลข 1237 ทางไปภูสอยดาว วิ่งไปได้สัก 21 กิโลก็จะถึงบ้านนาตอน สังเกตโรงเรียนบ้านนาตอนให้ดี พอถึงโรงเรียนจะมีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่บ้านน้ำคับและบ้านน้ำจวงมีป้ายเขียนบอกไว้ชัดเจน จากนี้ไปจะขึ้นเขา พื้นถนนมีทั้งคอนกรีต ลาดยาง และดินแดง บ้านน้ำคับจะอยู่ประมาณกิโลที่ 20 บ้านน้ำจวงราวกิโลที่ 26 ถนนเส้นนี้ไปสิ้นสุดตรงบ้านน้ำจวงไม่หลงไปไหนได้

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่บ้านน้ำจวง-ทับสี่

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(1)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(3)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(29)

มัสยิด มัสยิด(1)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(3)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(1)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(7)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(4)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(5)

น้ำตก น้ำตก(19)

ถ้ำ ถ้ำ(3)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(9)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(2)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(1)