หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงราย > อ.แม่จัน > ต.ท่าข้าวเปลือก > อาข่าบ้านหล่อชา


เชียงราย

อาข่าบ้านหล่อชา

อาข่าบ้านหล่อชา

Rating: 3.5/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08:00 - 18:00 น.
 
บ้านหล่อชา ตั้งอยู่ริมถนนสายท่าตอน-แม่จัน จากลานทองวิลเลจ เลี้ยวซ้ายตามทางหลวงหมายเลข 1089 แม่จัน-ท่าตอน จนถึงสามแยกกิ่วสะไตระหว่างหลัก กม.54-55 ผ่านป้อมตำรวจแล้วตรงไปอีกประมาณ 1 กม.สังเกตหมู่บ้านจะอยู่ทางซ้ายมือ “อาข่า”
 
เป็นชาวไทยภูเขาเผ่าหนึ่งที่อพยพมาจากตอนใต้ของประเทศจีน ลงมาอยู่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณ 100 กว่าปีมาแล้ว มักเรียนกตนเองว่า “อาข่า” ในขณะที่คนไทยเรียกว่า“ก้อ” หรือ “อีก้อ”  
 
ซึ่งชาวอาข่าจะไม่ค่อยชอบเท่าใดนัก การแต่งกายของชนเผ่านี้มักเป็นผ้าฝ้ายทอย้อมเป็นสีเข้มเกือบดำ โดยเฉพาะผู้หญิงจะมีเครื่องประดับมากมาย เช่น หมวกมักประดับด้วยเครื่องเงิน เหรียญเงิน มากน้อยตามฐานะ
 
สลับด้วยพู่สีแดงสดใสสวมเสื้อแขนตรงกระโปรงสั้นเหนือเข่า มีผ้าคาดเอวและปลอกน่องที่มีสีสัน ส่วนอาข่าผู้ชายมักจะสวมเสื้อคอกลมแขนยาวผ่าหน้า กางเกงขาก๊วยไม่มีการตกแต่ง ในบางโอกาสจะใช้ผ้าโพกหัวสีดำ
 
อาข่า มีความเชื่อในวิญญาญและธรรมชาติ เพราะไม่ปรากฏว่ามีการนับถือศาสนามาก่อน แต่มี “บัญญัติอาข่า”   ซึ่งหมายรวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณี และการดำเนินชีวิตต่างๆ โดยเน้นหลักการเคารพบูชาบรรชนเป็นหลัก
 
นอกจากนี้ยังมีความเชื่อด้านภูติผี วิญญาญ จึงมักมีพิธีเช่นบรรพบุรุษและภูติผีเป็นประจำ ตัวอย่างความเชื่อเหล่านี้จะเห็นได้ชัดเจนที่หมู่บ้านของอาข่าแต่ละที่ จะพบประตูเข้าหมู่บ้านที่เรียกว่า “ประตูผี”
 
เชื่อว่าเป็นการแบ่งเขตแดนระหว่างผีกับคนจนกลายเป็นธรรมเนียมที่ทุกหมู่บ้านต้องสร้างประตูนี้ พวกที่เคร่งไสยศาสตร์เมื่อจะเข้า-ออกหมู่บ้านต้องผ่านประตูนี้เท่านั้น ถือว่าเป็นการล้างมลทินภูติผีที่ติดตัวมาจากข้างนอก ผู้ที่ผ่านไปมาไม่ควรไปแตะต้องประตูหรือสิ่งของใดๆที่ประตูนี้ทั้งสิ้น
 
โครงการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยชุมชนมีส่วนร่วม เป็นอีกโครงการหนึ่งที่สนับสนุนโดย สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (พีดีเอ-เชียงราย)จัดตั้งขึ้นเป็นโครงการนำล่อง
 
ก่อนที่จะเผยแพร่การพัฒนาแบเดียวกันนี้สู่หมู่บ้านชาวอาข่าเผ่าอื่นๆต่อไป นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับวิถีการดำเนินชีวิตประจำตัวตามวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า ซึ่งนับว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจมากอีกโครงการหนึ่ง **อัตราค่าเข้าชม   เพียงคนละ 40 บาท เท่านั้น
 
เทศกาลประเพณีโล้ชิงช้า ของชาวอาข่า ตำนานการโล้ชิงข้า ของชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่าได้เล่าถึงประเพณีการโล้ชิงช้าว่า เกิดขึ้นในสมัยที่อาข่าได้ตั้งถิ่นฐานที่มณฑลยูนนานทางแถบตอนใต้ของประเทศจีน
 
เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2000 ปีเศษ ซึ่งตามตำนานนั้น น่าจะเป็นอาณาบริเวณเมือง “คุณหมิง”   ในปัจจุบัน การบอกเล่าของชาวอาข่าจะใช้ภาษาเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า ดินแดนของ “จาแด”  ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่า
 
เป็นตำนานการเล่าขานที่ยังไม่ปรากฏชัดว่าเกิดขึ้นในสมัยใด แต่ในบทเพลงที่ขาวอาข่าร้องช่วงมีเทศกาลนั้นปรากฏว่าเทศกาลโล้ชิงช้าเป็นเทศกาลที่เกิดขึ้นจากผู้หญิงเป็นผู้เริ่มโดยกำหนดประเพณีโล้ชิงช้าในเดือน “ฉ่อลาบาลา”  
 
ตรงกับปลายเดือนสิงหาคม-ถึงต้นเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งจากตำนานได้เล่าว่า ผู้นำในสมัยนั้น นึกอยากจะแกล้วให้คนจนประสบความทุกข์ยากลำบาก จึงได้มีกำหนดพิธีการโล้ชิงช้าเป็นเวลา 33 วัน
 
ซึ่งช่วงเวลาที่มีพิธีกรรมนั้น ประสงค์อยากให้คนจนอดตายเพราะโดยปกติเวลาที่มีพิธีกรรมห้ามทำมาหากินเมื่อเป็นเช่นนี้ คนจนจึงได้ตระเตรียมผลไม้เผือกมันที่มีอยู่ในป่าเอามาเก็บไว้ในบ้านเป็นจำนวนมาก ส่วนคนรวยก็เตรียมเช่นกัน
 
เพื่อที่จะมีไว้บริโภคในช่วงเทศกาลโล้ชิงช้า เมื่อเริ่มพิธีกรรมได้ระยะหนึ่ง พวกคนรวยที่เตรียมข้าวสารไว้บริโภคนั้นเริ่มหมดก่อน ส่วนคนจนยังมีพอจะกินเพราะเตรียมไว้มาก ดังนั้นคนรวยที่คิดจะแกล้ง คนจนให้อดตายนั้นไม่เป็นตามที่คาดไว้
 
ดังบทเพลงโล้ชิงช้าจะมีอยู่ตอนหนึ่งว่า “คิดอยากจะโลชิงช้า คนรวยจะตายก่อน" ด้วยเหตุนึ้จึงได้ย่นพิธีกรรมจัดเทศกาลโลชิงช้ามาเป็นเวลา 4 วัน ดังปัจจุบันซึ่งถือเอาวันที่ว่างและมีฝนตกมากมาจัดพิธีกรรม
 
อาข่าเรียกเทศกาลโล้ชิงช้านี้ว่า “แย้ ขู่ จ๋า เออ”  แปลว่า “กินในหน้าฝน”   ดังนั้นการจัดพิธีโลชิงช้าจึงจัดเพื่อเป็นการฉลองให้กับพืชผล ที่มีความเจริญงอกงามและรอการเก็บเกี่ยว ตลอดจขนการรำลึกและให้เกียรติกับสตรี
 
การจัดการประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอาข่าจะเริ่มในวันความโดยส่วนใหญ่เพราะถือว่าเป็นวันฤกษ์ดีโดยมีกำหนด 4 วัน มีขั้นตอนพิธีกรรมดังนี้
 
วันที่ 1 ตามปกติโดยส่วนใหญ่ วันแรกของการเริ่มเทศกาลนั้นจะตรงกับวันของอาข่าคือ "วันควาย"   ซึ่งจะเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ในวันแรกการทำพิธีกรรมจะประกอบด้วยเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ดังนี้ 
- ไก่ขนสีดำหรือสีแดง จะเป็นเพศผู้หรือเพศเมียก็ได้จำนวน 1 ตัว ยกเว้นขนสีขาวห้ามมาใช้ในพิธีกรรมเพราะอาข่าถือว่าไม่บริสุทธิ์ 
 
- ข้าเหนียวดำ (ข้าวปุก)อาข่าเรียกว่า “ห่อ-ถ่อง”
 
- เหล้า ที่ใช้ในพิธีกรรม ชาวอาข่าเรียกว่า “จี้ป่าจี้จุ”   โดยใส่กระบอกไม้ไผ่เล็กๆ ซึ่งถือว่าเป็นเหล้าบริสุทธิ์
 
- ใบชากับขิง ใส่รวมกัน ชาวอาข่าเรียกว่า “แซ ถ่อง หละ แพ้”  เพื่อใช้แทนเป็นน้ำชา 
 
- ข้าวเหนียวบริสุทธิ์ ชาวอาข่าเรียกว่า “ห่อซ้อ” 
 
- อุปกรณ์ขันโตก / ถ้วย / จอกน้ำ พิธีกรรมเซ่นไหว้จะจัดในช่วงเวลา 11.00 น.-12.00 น.ตอนกลางคืนจะเต้นรำพื้นบ้านจนถึงเวลา 24.00 น.
 
วันที่ 2 ตรงกับวันเสือ(ข่า หล้า)วันนี้เป็นวันสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน โดยทุกครัวเรือนจะมารวมกันที่บ้านของผู้นำจื่อมะแล้วไปสร้างชิงช้า โดยต่างคนต่างทำหน้าที่ช่วยกันหาต้นไม้สี่ต้นเพื่อมาสร้างเสาชิงช้า และเครือสะบ้า
 
เพื่อมาทำเป็นเชือกในการโล้ เมื่อสร้างชิงช้าเสร็จ จื่อมะถือว่าเป็นผู้นำทางวัฒนธรรมของชุมชน จะทำพิธีโล้โดยก่อนจะทำการโล้จะใส่สิ่งของ 3 สิ่งคือ หิน หญ้าเจ้าชู้ และเครือหนาม อันมีความหมายว่า หินหมายถึง ความหนักแน่น ความเข้มแข็งของคนและชุมชน
 
หญ้าเจ้าชู้ หมายถึง การแพร่พันธุ์ของคนและผลิตผลต่างๆและเครือหนาม หมายถึง การป้องกันภัยอันตรายที่ไม่ให้เกิดในชุมชน โดยมัดรวมกันแล้วแกว่งโล้ 3 ครั้ง จากนั้นก็จะให้จื่อมะโล้เป็นคนแรก ถือว่าเป็นการเปิดพิธีการโล้ เสร็จแล้วจากนั้นคนอื่นๆ จึงจะโล้ได้ ตอนเย็นจะมีการกระทุ้งกระบอกไม้ใผ่โดยคนหนุ่มสาวจะเต้นรำพื้นบ้านตลอดทั้งคืน
 
วันที่3 ตรงกับวันลา (ถ่อง ลา ) ถือว่าเป็นวันที่ยิ่งใหญ่ มีการประกอบพิธีเซ่นไหว้ตั้งแต่เช้ามืดโดยใช้เครื่องเซ่นไหว้เหมือนวันแรก ยกเว้นจะไม่มีไก่ในการเซ่นไหว้เท่านั้น ส่วนอื่นๆจะเหมือนเดิม การเซ่นไหว้ของวันนี้จะทำในตอนเช้า ไม่ใช่ตอนเที่ยงเหมือนวันแรก
 
เมื่อทำพิธีกรรมเซ่นไหว้ในช่วงเช้าเสร็จแล้วชุมชนจะมีการฆ่าหมูหรือสัตว์ใหญ่ เช่น วัว ควาย เพื่อมาใช้บริโภค ถือว่าเป็นวันที่ชุมชนมีการเลี้ยงฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ตอนกลางคือจะเต้นรำพื้นบ้าน จนถึงเวลา 24.00 น.
 
วันที่ 4  ตรงกับวันกระต่าย (หล่อง) วันนี้เป็นวันสุดท้ายของเทศกาลโล้ชิงช้า ซึ่งจะมีกิจกรรมโล้ลิงช้าเป็นหลัก เมื่อตกตอนเย็น จื่อมะ ผู้นำวัฒนธรรมจะเป็นผู้ทำการปิดการโล้ชิงช้าของปีนั้นจนกว่าจะเวียนบรรจบครบรอบอีกหนหนึ่งถึงจะโล้ชิงช้าได้
 
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน หรือ พีดีเอ เชียงราย 

โทร : 053719167, 053740088

วิถีชีวิต หมวดหมู่: วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน กลุ่ม: หมู่บ้าน ชุมชน

ปรับปรุงล่าสุด : 5 ปีที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(6)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(3)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(7)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(1)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(3)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(38)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(5)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(9)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(14)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(5)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(18)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(13)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(7)

น้ำตก น้ำตก(16)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(6)

ถ้ำ ถ้ำ(8)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(10)

ทะเล และหาด ทะเล และหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(2)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(1)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(3)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(2)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(1)