หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.พระนคร > ต.พระบรมมหาราชวัง > พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ


กรุงเทพมหานคร

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

Rating: 3.9/5 (7 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
ช่วงเวลา ประมาณเดือนหกของทุกปี
 
ความสำคัญ เป็นพระราชพิธีเก่าแก่ที่แสดงถึงการเริ่มต้นฤดูทำนา ซึ่งจะเป็นแบบอย่างและเสริมสร้างให้เกิดขวัญกำลังใจ รวมทั้งสิริมงคลแก่เกษตรกรไทย
 
พิธีกรรม พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญประกอบด้วย 2 พิธีรวมกัน คือ
1. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพระราชพิธีทางสงฆ์ ประเพณีไทย ที่กระทำกันในวันแรก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีขั้นตอนพิธีที่สำคัญดังต่อไปนี้
 
1.1 เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังอัญเชิญพระพุทธรูปประจำรัชกาลต่าง ๆ รวมทั้งรัชกาลปัจจุบัน และเทวรูปองค์สำคัญมาตั้งบนม้าหมู่ในธรรมาสน์ศิลา หน้าฐานชุกชีพุทธบัลลังก์บุษบกพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ใต้ธรรมาสน์ศิลาเป็นกระบุงเงิน กระบุงทองอย่างละคู่ ซึ่งบรรจุข้าวเปลือกพันธุ์ดี และถุงบรรจุเมล็ดพันธุ์พืชชนิดต่าง ๆ เช่น ผักกาด ข้าวโพด แตงกวา ถั่ว ฯลฯ
 
1.2 ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งพระยาแรกนา แต่งกายเครื่องแบบครึ่งยศ ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และเทพีทั้ง 4 แต่งกายชุดไทย ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปนั่งที่เก้าอี้เฝ้า
 
1.3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเข้าสู่พระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปสำคัญ พระราชาคณะถวายศีลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระสุหร่ายถวายดอกไม้บูชาแก่พระพุทธคันธารราษฏร์ ทรงอธิษฐานเพื่อความสมบูรณ์แห่งพืชผลของราชอาณาจักรไทย
 
1.4 หัวหน้าพราหมณ์อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์
 
1.5 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิมพระราชทานธำมรงค์กับพระแสงปฏักแก่พระยาแรกนา ส่วนเทพีทั้ง 4 ทรงหลั่งน้ำสังข์พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิม พนักงานประโคมฆ้องชัย
 
1.6 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก
 
2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ กระทำกันในตอนเช้าของวันรุ่งขึ้น ณ มณฑลท้องสนามหลวง ซึ่งจัดตั้งโรงพิธีประดิษฐานเทวรูปสำคัญ เช่น พระอิศวร พระพรหม ระนารายณ์ ฯลฯ มีขั้นตอนพิธีสำคัญตามลำดับดังนี้
 
2.1 พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีทั้งแต่งกายตามแบบประเพณีโบราณ เดินทางออกจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังมณฑลพิธีสนามหลวง
 
2.2 พระยาแรกนาเข้าสู่โรงพิธี จุดธูปเทียนบูชาเทวรูปสำคัญ หัวหน้าพราหมณ์หลั่งน้ำสังข์ที่มือ และให้ใบมะตูมแก่พระยาแรกนาและเทพีทั้ง 4
 
2.3 พระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกายหรือเสี่ยงทายผ้านุ่ง โดยการสอดมือหยิบผ้านุ่งที่วางเรียงรายอยู่ใต้ผ้าคลุม ซึ่งมีผ้านุ่งรวม 3 ผืน คือ ขนาดกว้าง 4 คืบ 5 คืบ และ 6 คืบ เมื่อพระยาแรกนาหยิบได้ผ้านุ่งผืนใด จะสวมผ้าผืนนั้นทับลงบนผ้านุ่งเดิม คำพยากรณ์ของผ้านุ่งเสี่ยงทายมีดังนี้
 
ผ้า 4 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำจะมาก นาที่ดอนสมบูรณ์ นาที่ลุ่มเสียหายบ้าง
 
ผ้า 5 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำมีปริมาณพอดี นาที่ดอนเสียหายบ้าง นาที่ลุ่มสมบูรณ์
 
ผ้า 6 คืบ พยากรณ์ว่าน้ำน้อย นาที่ดอนเสียหายบ้าง นาที่ลุ่มสมบูรณ์
 
2.4 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพระราชพิธี พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม 3 ครั้ง และเดินเข้าสู่ลานแรกนาเพื่อเจิมคันไถ เจิมพระโค
 
2.5 ถึงเวลามงคลอุดมฤกษ์ โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เชิญเทวรูปเดินนำหน้าพระโค ตามด้วยพระยาแรกนาเดินไถดะโดยรี 3 รอบ โดยขวาง 3 รอบ พร้อมทั้งหว่านธัญญพืชจากกระบุงเงิน กระบุงทองของเทพีทั้ง 4 ลงบนดิน จากนั้นไถกลบอีก 3 รอบ
 
2.5 พระยาแรกนาและเทพีทั้ง 4 เดินกลับไปที่โรงพิธีพราหมณ์ เจ้าพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พราหมณ์จัดวางอาหารเสี่ยงทาย 7 สิ่ง คือ ข้าวเปลือก ข้าวโพด ถั่ว งา เหล้า น้ำ หญ้า เมื่อพระโคกินสิ่งใด โหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์
 
2.6 เจ้าหน้าที่อ่านรายชื่อเกษตรกรผู้ชนะเลิศการประกวดข้าว เพื่อเบิกตัวเข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ
 
2.7 พระยาแรกนาและเทพีทั้ง 4 ขึ้นรถยนต์หลวงจากมณฑลพิธีสนามหลวง ไปยังแปลงนาทดลองในพระราชฐานสวนจิตรลดา หว่านพืชพันธุ์ธัญญหารที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ลงในแปลงนาทดลอง สำหรับนำไปใช้ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญของปีต่อไป
 
พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ถือเป็นพระราชพิธีเก่าแก่ที่กระทำต่อเนื่องกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยรัตนโกสินทร์ จนถึง พ.ศ.2479 ว่างเว้นไประยะหนึ่งจนถึง พ.ศ.2503 คณะรัฐมนตรีมีมติฟื้นฟูพระราชพิธีนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง และทำสืบเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่ พ.ศ.2509 เป็นต้นมา คณะรัฐมนตรีลงมติให้วันพระราชพิธีพืชมงคลแรกนาขวัญเป็นวันเกษตรกรประจำปี
 
ในสมัยโบราณพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลเป็นพิธีเฉพาะทางพราหมณ์เท่านั้น ต่อมาถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้เพิ่มพิธีทางสงฆ์ด้วย ปัจจุบันยังคงยึดถือตามแบบธรรมเนียมการปฏิบัติโบราณ มีการดัดแปลงบางส่วนเพื่อให้เหมาะสมกับสมัยนิยม เช่น พระราชพิธีพืชมงคลเพื่อทำขวัญพืชพันธุ์ต่าง ๆ ด้วยพิธีทางสงฆ์ จะทำกันที่ท้องสนามหลวง ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทำที่ทุ่งส้มป่อยนอกเขตพระนครหรือที่อื่น ๆ บ้าง แต่ในปัจจุบันพระราชพิธีพืชมงคลทำที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทำที่ท้องสนามหลวง เป็นต้น
 
เป้าหมายสำคัญของการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อเป็นการทำขวัญและเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหาร เนื่องจากข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย และเกษตรกรรมก็เป็นอาชีพหลักของคนไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังนั้นประเพณีไทยหลายอย่างมักเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของเกษตรกร พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญจึงถือว่าเป็นสิริมงคลแก่พืชผลที่จะเพาะปลูกประจำปี
 
กำหนดเวลาการประกอบพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ทำกันประมาณเดือนหกของทุกปี เพราะเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้นทำนาในประเทศไทย แต่ไม่มีการกำหนดวันที่แน่นอน เนื่องจากต้องพิจารณาฤกษ์ยามที่เหมาะสมในแต่ละปี

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก หมวดหมู่: ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กลุ่ม: ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี

ปรับปรุงล่าสุด : 6 เดือนที่แล้ว

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(52)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)