หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.จอมทอง > ต.บางค้อ > วัดหนังราชวรวิหาร


กรุงเทพมหานคร

วัดหนังราชวรวิหาร

วัดหนังราชวรวิหาร

Rating: 3.8/5 (4 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดหนัง เป็นอารามหลวงชั้นตรีชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ ณ ฝั่งขวาหรือนัยหนึ่ง ฝั่งเหนือคลองด่าน แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร เลขประจำวัด 200 เดิมเป็นวัดราษฎร์ มีสืบมาแต่โบราณ มีนามว่าวัดหนังมาแต่เดิม
 
แม้ได้สถาปนาเป็นพระอารามหลวงแล้ว ก็มิได้พระราชทานนามใหม่ ประมาณว่า ได้ตั้งขึ้น ในสมัยพระนครศรีอยุธยา เป็นราชธานี กำหนดอย่างต่ำน่าจะเป็น ในราชกาลสมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) มิฉะนั้น ต้องสูงขึ้นไปกว่านั้น ข้อนี้มีเลข พุทธศักราชจารึกที่ระฆังเป็นสำคัญ ระฆังใบนี้เป็นของเก่ามีมาก่อน แต่วัดได้สถาปนาเป็นอารามหลวง
 
ตามจารึกปรากฏว่า สร้างแต่ พ.ศ. 2260 พระมหาพุทธรักขิตกับหมื่นเพ็ชร์พิจิตรเป็นหัวหน้า พร้อมด้วยภิกษุสามเณรทายกทายิกา ตลอดจนมีตาเถรเข้ามาเป็นสมาชิกแห่งสมาคมสร้างระฆังนี้ด้วย
 
คลองด่านในอดีต ถือว่าเป็นคลองที่มีความสำคัญยิ่งต่อจังหวัดธนบุรี เพราะเป็นต้นคลองมหาชัย เชื่อมทางคมนาคมระหว่างจังหวัดต่าง ๆ ในลุ่มน้ำท่าจีนและในลุ่มน้ำแม่กลองกับจังหวัด ในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ปากคลองนี้ เดิมนั้นลำคลองคงกว้างกว่าในบัดนี้ เรือขนาดใหญ่สัญจรไปมาได้สะดวก สมเด็จพระสรรเพ็ชญ์ที่ 9 (พระเจ้าท้ายสระ) เสด็จประพาส ท้องทะเล ก็เสด็จผ่านทางคลองด่านหลายครั้ง
 
ตามชายฝั่งคลองปรากฏว่า มีวัดตั้งอยู่เรียงราย ไม่ขาดระยะ บางวัดเคยได้รับราชูปการจากราชสำนักก็มี เช่นวัดไทรตรงข้ามปากคลองบางมด สมเด็จพระสรรเพ็ชญที่ 8 (พระเจ้าเสือ) โปรดเกล้าฯ ให้รื้อพระตำหนักเดิม ทำนองเป็นที่ประทับแต่ครั้งยังเป็นนายเดื่อหรือหลวงสรศักดิ์มาปลูกเป็นหอไตรไว้ นี้แสดงว่าคลองด่าน มีวัดมากมาแต่สมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี และวัดหนังนี้ได้สถาปนาขึ้น เป็นเป็นพระอารามหลวง ในรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นวัดมีสีมาชนิดพัทธสีมา ผูกเฉพาะพระอุโบสถ
 
วัดนี้เป็นวัดโบราณ ร้างมานาน 200 ปีเศษ จึงไม่ทราบว่าเดิมใครเป็นผู้สร้าง กล่าวเฉพาะ ยุคเป็นพระอารามหลวงนี้ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระบรมราชชนนี ในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาใหม่ทั้งพระอาราม มูลเหตุที่ทรงสถาปนาวัดหนังเป็นพระอารามหลวง น่าจักเนื่องด้วย ราชินิกูลสายท่านเพ็ง พระชนนีสมเด็จพระศรีสุลาลัย เป็นชาวสวนวัดหนัง มีนิวาสสถานอยู่ในถิ่นนั้น คำเล่าของหม่อมเจ้าพร้อม ลดาวัลย์ ว่าอยู่ที่บางหว้า
 
ในการเรียบเรียงประวัดหนังนี้ มีเรื่องน่าเสียดายอยู่หลายประการ เป็นต้นว่าสถาปนาวัดเมื่อไร ไม่มีวันเดือนปีปรากฏ พระประธานในพระอุโบสถเป็นของสร้างสมัยสุโขทัย แต่ที่มาไม่ปรากฏชัด เพราะสมุดรายงานหมายสั่งการประจำวันซึ่งบันทึกเหตุการณ์ประจำแต่ละวัน มีผู้ทำสูญเสียไป นอกจากทำให้สูญเสียเหตุการณ์เป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติสมเด็จพระศรีสุลาลัยแล้ว ยังทำให้ประวัติศาสตร์ในสมัยรัชกาลที่ 3 สูญเสียไปด้วยมิใช่น้อย
 
วัดหนังเริ่มสถาปนาเป็นพระอารามหลวงเมื่อไร อนุมานตามเหตุการณ์ พอจะได้เค้าเงื่อนบ้างดังนี้ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ พ.ศ. 2367 ระยะกาลตอนนี้นับว่าสมเด็จพระศรีสุลาลัย บรรลุถึงภาวะเป็นอัฉริยนารี ผู้สูงศักดิ์อย่างสูงสุดในพระชนม์ชีพ เป็นกาลระยะหนึ่ง
 
ซึ่งพระองค์ควรจะพึงคำนึงถึง การทรงทำกรณีอะไรสักอย่างหนึ่ง อันเป็นเครื่องเชิดชูพระเกียรติ ทั้งส่วนพระองค์ทั้งส่วนราชินิกูล ให้ปรากฏอยู่ชั่วกาลนาน เรื่องที่นิยมมากที่สุดในยุคนั้น ไม่มีอะไรอื่นดีกว่าการสร้างวัด
 
สมเด็จพระศรีสุลาลัยสวรรคตวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2380 ปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ทำการฉลองวัดหนัง  ณ วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2380 นั่นเอง การเริ่มสถาปนาคงอยู่ในระหว่าง พ.ศ. 2367 ถึง พ.ศ. 2378
 
การสถาปนาวัดหนังคงจะอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ แต่ไม่ทราบว่าทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใครบ้างเป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง แต่มีปรากฏในพงศาวดารภาคที่ 33 บุพภาคพระธรรมเทศนาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า กรมหมื่นพิทักษ์ทรงเป็นนายด่านทำการจนแล้วสำเร็จ
 
ปูชณียสถานเสนาสนะต่าง ๆ ในยุคที่ยังเป็นวัดราษฎร์ เดิมทำอย่างไรและมีอะไรเท่าไรไม่ทราบ ในยุคสถาปนาพระอารามหลวงนี้ สิ่งก่อสร้างในเขตสถาปนาเป็นของทำใหม่ทั้งสิ้น สิ่งที่มิได้ทรงสร้างมีปรากฏเพียงพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปศิลา 2-3 องค์ ในพระวิหารตอนหลัง กับระฆังอีก 1 ระฆังกัมพูชาให้สร้างขึ้นที่เมืองอุดงมีชัย

เว็ปไซต์ : www.watnang.com

โทร : 024683419

แฟกซ์ : 028754405

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 9 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดหนังราชวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(56)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)