หน้าหลัก > ภาคกลาง > จ.กรุงเทพมหานคร > อ.ตลิ่งชัน > ต.ตลิ่งชัน > วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร


กรุงเทพมหานคร

วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร

วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร

Rating: 2.9/5 (16 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 8.00 -  17.00 น. 
 
วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด "ราชวรวิหาร" ตั้งอยู่ริมคลองบางกอกน้อย ปากคลองมหาสวัสดิ์ เลขที่ 2 หมู่ 4 ถนนชัยพฤกษ์ แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170 
 
เดิมขึ้นกับตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ปัจจุบันขึ้นกับเขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร อาณาเขตของวัด
ทิศเหนือ จดคลองมหาสวัสดิ์ กว้าง 8 เส้น 17 วา
 
ทิศใต้ จดถนนชัยพฤกษ์
 
ทิศตะวันออก จดคลองบางกอกน้อย กว้าง 2 เส้น 11 วา
 
ทิศตะวันตก จดคลองขุด กว้าง 2 เส้น 18 วา
 
พื้นที่ของวัดทั้งหมด ประมาณ 53 ไร่ 78 ตารางวาเป็๋นพื้นที่ธรณีสงฆ์และพื้นที่ผลประโยชน์ของวัดประมาณ 20 ไร่ เป็นพื้นที่โรงเรียนวัดชัยพฤกษมาลา ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร มีอาคารเรียน 20 หลัง 14 ไร่ พื้นที่ตั้งของวัด 12 ไร่ 1 งาน 97.8 ตารางวา
วัดชัยพฤกษมาลา เป็นวัดโบราณ มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมเรียกกันว่า "วัดชัยพฤกษ์" เป็นวัดร้างก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์
 
เมื่อสร้างกรุงเทพมหานครในปี 2326 นั้นได้สร้างกำแพงป้องกันพระนครอย่างเร่งรีบ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) ขณะพระองค์ทรงเป็นนายด่านทำกำแพงพระนครด้านหนึ่งได้ขอพระบรมราชานุญาตไปรื้อเอาอิฐจากวัดชัยพฤกษ์ร้างมาก่อสร้างทำกำแพงพระนคร
 
ครั้นถึง ปี พ.ศ. 2328 เมื่อการก่อสร้างกำแพงพระนครและราชมณเฑียรเสร็จลงแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร บูรณะสถาปนาวัดขึ้นใหม่ในที่เดิม ทำนองเป็นผาติกรรมตามประเพณีและเพื่อความเป็นสิริมงคล เมื่อทรงรับพระบรมราชโองการแล้ว
 
สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอฯ ได้ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นค่าไม้ อิฐ ปูน ให้ข้าในกรมไปสร้างพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธรูปองค์ใหญ่เป็นพระประทาน กับพระรูปอัครสาวก 2 องค์ กับพระวิหารอีกหลังหนึ่ง ซึ่งภายในมีพระพุทธรูป 4 องค์
 
นอกจากนั้น ให้สร้างอาคารสถานที่ซึ่งเป็นส่วนประกอบจำเป็นสำหรับวัด มีศาลาการเปรียญและหอระฆังอย่างละ 1 หลัง ปลูกกุฏิสำหรับพระสงฆ์จำพรรษาพอเพียงกับจำนวนพระสงฆ์ใช้อยู่จำพรรษาในระยะแรกเพียงไม่กี่รูป แต่การก่อสร้างในครั้งนั้นยังไม่สำเร็จบริบูรณ์ เนื่องจากสภาวะบ้านเมืองยังไม่ปกติ ยังมีการศึกสงครามมาโดยตลอด
 
แม้กระนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร ก็ทรงถือว่าพระอารามนี้ยังอยู่ในพระอุปถัมภ์ เมื่อถึงฤดูกฐิน ได้เสด็จฯ ไปทรงถวายผ้าพระกฐินบ้าง พระราชทานผ้าไตรจีวรบริขารให้พระโอรสพระธิดาทรงนำไปถวายแทนบ้าง เป็นเช่นนี้ทุกปีมิได้ขาด 
 
ครั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2352 แล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้วัดชัยพฤกษ์มาอยู่ในบัญชีพระอารามหลวง และทรงมอบให้เป็นพระธุระของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ เสด็จฯ ไปทรงจุดเทียนพรรษาและถวายผ้าพระกฐินทุกปี นับแต่ พ.ศ. 2352 จนสิ้นรัชกาล 
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ เมื่อ พ.ศ. 2367 แล้ว ได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ตัดวัดชัยพฤกษ์ออกเสียจากบัญชีรายชื่อพระอารามหลวง โดยทรงถือว่าวัดชัยพฤกษ์นี้อยู่ในบัญชีวัดที่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ ทรงอุปถัมภ์แล้วตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระราชบิดา 
 
วัดชัยพฤกษ์จึงมิได้รับการบูรณะเป็นทางราชการตลอดรัชกาลที่ 3 คงมีกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์พระราชชนนี ในสมเด็จ พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฝ้ามงกุฏ ซึ่งขณะนั้นทรงผนวชอยู่ ทรงทำนุบำรุงแทนตามกำลังเรื่อยมาจนกระทั่งสิ้นรัชกาลที่ 3
 
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สเด็จเถลิงถวัลราชสมบัติใน พ.ศ. 2394 ก็ทรงรำลึกถึงวัดชัยพฤกษ์และวัดเขมาที่ทรงรับวาจาไว้กับสมเด็จพระบรมราชชนนี จึงได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์หลายร้อยชั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดทั้ง 2 พร้อมกันนั้นได้พระราชทานนามเพิ่มทั้ง 2 วัด ว่า "วัดชัยพฤกษมาลา" และ "วัดเขมาภิรตาราม" และทรงตั้งเจ้าอธิการวัดนั้นให้เป็นที่ "พระครูไชยพฤกษธิกามหามุนี"
 
เฉพาะวัดชัยพฤกษมาลานั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาสเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ และเนื่องจากพื้นที่ดั้งเดิมของวัดชัยพฤกษมาลาค่อนข้างแคบ จึงพระราชทานทรัพย์ให้ซื้อที่สวน ที่ติดกับวัด เพิ่มเติมขึ้นอีก แล้วให้ขุดคูรอบวัด สร้างพระอุโบสถ และพระวิหารของเดิมที่ยังค้างไม่แล้วเสร็จ
 
มาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 และขณะนั้นได้ชำรุดปรักหักพังเกือบหมดแล้ว ให้สำเร็จเรียบร้อย ต่อจากนั้น ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างหมู่กุฏิ หอสวดมนต์ หอระฆัง ศาลา สะพานท่าน้ำ และสะพานข้ามคลองหน้าวัดจนแล้วเสร็จ ใน พ.ศ. 2398 
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงถวายกุฏิหมู่แก่พระสงฆ์ และทรงก่อพระเจดีย์หลังพระอุโบสถและพระวิหารเป็นพระฤกษ์ ในวันพฤหัสบดี ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 9 ปีเถาะ สัปตศก ตรงกับวันที่ 21 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2398 
 
การบูรณะวัดชัยพฤกษมาลาต้องใช้เวลาต่อมาอีก 3 ปี การก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด จึงสำเร็จเรียบร้อย แต่ก็ยังไม่ได้เขียนภาพและปิดทองบานประตูหน้าต่าง ซึ่งเป็นงานตกแต่งขั้นสุดท้าย
 
การเขียนภาพปิดทองบานประตูหน้าต่างดังกล่าว จะใช้เวลานานเพียงใด ไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเสร็จก่อนที่จะมีพระราชพิธีฉลองวัดนี้ใน พ.ศ. 2406 ซึ่งนับว่าได้ใช้เวลาเขียนประมาณ 4 ปี
 
ใน พ.ศ. 2406 พระอารามต่างๆ ที่ได้ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์มาแต่รัชกาลก่อนๆ แล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้เสริมสร้างและบูรณะขึ้นมาตั้งแต่เมื่อเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในระยะแรกๆนั้น ได้และเสร็จลงในระยะเวลาใกล้เคียงกัน รวม 4 วัด คือ
 
1. วัดชัยพฤกษมาลา เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบรมชนกนาถทรงสถาปนาใหม่ พระองค์ทรงสร้างเสริมต่อ
 
2. วัดเขมาภิรตาราม เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชชนนีทรงปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อไม่นานนัก
 
3. วัดรัชฎาธิฐาน เป็นพระอารามที่กรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชเปตามหัยยิกา ทรงสถาปนาไว้แต่ก่อน
 
4. วัดราชสิทธาราม เป็นพระอารามที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมเชษฐาธิราช ทรงสร้างพระสถูปเจดีย์ไว้หน้าพระอุโบสถ และพระองค์เองได้สร้างเพิ่มขึ้นอีกหมู่หนึ่ง
 
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้จัดงานมหกรรมฉลองในคราวเดียวพร้อมกัน โดยงานดังกล่าวจัดที่ท้องสนามหลวง ตั้งแต่วันอังคาร เดือน 3 ขึ้น 2 ค่ำ เป็นต้นไป ต่อวันจันทร์ เดือน 3 ขึ้น 8 ค่ำ จึงได้เสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานไทยธรรมแก่พระสงฆ์ในพระอารามทั้ง 4 นั้น 
 
นอกจากนั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ณ วัดชัยพฤกษมาลาเสมอมามิได้ขาด และยังได้กำหนดให้วันนี้ส่งพระธรรมกถึกไปเทศนาธรรมถวาย ทุกวันพระเป็นประจำทุกเดือน 
 
อย่างไรก็ตาม ปรากฏหลักฐานในหนังสือ "สถานที่ต่างๆ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้าง" กล่าวว่า การก่อสร้างวัดชัยพฤกษมาลาของพระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ตามพระบรมราชโองการนั้น เพิ่งมาสำเร็จบริบูรณ์เมื่อในรัชกาลที่ 5

เว็ปไซต์ : วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร.com

โทร : 024241702

แฟกซ์ : 024349992

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 1 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดชัยพฤกษมาลาราชวรวิหาร

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(3)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(23)

พระราชวัง พระราชวัง(13)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(20/21)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(52)

บ้านโบราณ และเมืองโบราณ บ้านโบราณ และเมืองโบราณ(3)

อาร์ตแกลเลอรี่ อาร์ตแกลเลอรี่(19)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา(4)

ห้องสมุด ห้องสมุด(4)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(72/430)

โบสถ์ โบสถ์(2)

มัสยิด มัสยิด(67)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(8)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(1)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(5)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(9)

ตลาดน้ำ ตลาดน้ำ(2)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(4)

อ่าว และชายหาด อ่าว และชายหาด(1)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(1)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(4)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(6)

สนามกีฬา สนามกีฬา(9)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(20)

สวนสนุก สวนสนุก(4)

สวนน้ำ สวนน้ำ(1)

โรงละคร โรงละคร(8)

โรงภาพยนตร์ โรงภาพยนตร์(1)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(21)

ห้างสรรพสินค้า ห้างสรรพสินค้า(7)

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ

สปาเพื่อสุขภาพ สปาเพื่อสุขภาพ(2)

ร้านอาหาร ร้านอาหาร

มิชลินสตาร์ มิชลินสตาร์(5)

ที่พัก ที่พัก

โรงแรม โรงแรม(3)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(6)

ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย ขนมไทยชาววัง, ขนมโบราณ, สูตรขนมไทย(53)