หน้าหลัก > ภาคเหนือ > จ.เชียงใหม่ > อ.แม่แจ่ม > ต.แม่ศึก > วัดกองกาน


เชียงใหม่

วัดกองกาน

วัดกองกาน

Rating: 4.2/5 (5 votes)

วันเปิดทำการ: ทุกวัน 
เวลาเปิดทำการ: 08.00 - 17.00 น.
 
วัดกองกาน วัดในเชียงใหม่ เที่ยวเชียงใหม่ เที่ยวภาคเหนือ อยู่ห่างจากวัดพุทธเอ้นประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญของชาวแม่แจ่ม เนื่องจากภายในวิหารมีพระเจ้าตนหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่ม
 
ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวแม่แจ่มจะไปสรงน้ำองค์พระกันทุกปี พระเจ้าตนหลวงนี้เป็นแบบล้านนา และมีขนาดใหญ่ที่สุดในอำเภอแม่แจ่ม ตัววิหารเป็นไม้ และหลังคามุงแป้นเกล็ดแบบโบราณ 
 
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่ "พระเจ้าตนหลวง" เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐก่อปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ศอก 9 นิ้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารวัดกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
 
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
"พระเจ้าตนหลวง" เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐก่อปูน ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 10 ศอก 9 นิ้ว ประดิษฐานเป็นพระประธานในวิหารวัดกองกาน ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่มเป็นเวลานานหลายร้อยปี
 
ประวัติพระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน
พระเจ้าตนหลวง มีประวัติความเป็นมา ตามคำบอกเล่าว่า ในราวพุทธศตวรรษที่ 19-20 หลังจากที่พระพุทธศาสนา ได้เผยแผ่มาจากลังกาทวีป เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ 
 
ผู้ครองนคร ในล้านนาประเทศ อันได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย และเชียงแสน ซึ่งเป็นผู้ที่นับถือในพระพุทธศาสนา ได้มาแผ้วถางป่าในบริเวณนี้ และสร้างเป็นวัดพร้อมกับได้ก่อพระพุทธรูปขึ้น ได้ให้ชื่อวัดที่สร้างขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดศรีเมืองมา"
 
ในการก่อสร้างพระพุทธรูปนั้น ช่างผู้ก่อสร้างได้ก่อองค์พระ จนมาถึงพระเศียรและพระเกศเมาลีแล้ว แต่พอจะแต่งพระพักตร์ (ขะเบ็ดหน้า) ขององค์พระ ช่างได้พยายามแต่งพระพักตร์อย่างไรก็ไม่มีความสม่ำเสมอสวยงาม ได้ทำใหม่ถึง 2-3 ครั้งก็ทำไม่ได้ 
 
จึงได้ปรึกษากันว่า ควรจะทำพิธีบวงสรวงเทพยดา ขอให้มาช่วยสร้างพระให้สำเร็จ พอได้ตั้งขันหลวงทำพิธีบวงสรวงอย่างนั้นแล้ว ช่างก็ลงมือช่วยกันทำต่อ ในขณะนั้นปรากฏว่า มีสามเณรน้อยรูปหนึ่งมาจากไหนไม่มีใครทราบ ได้มาช่วยทำพระพักตร์พระพุทธรูปจนได้พระพักตร์เสมอกันดี มีท่าทียิ้มแย้ม จนเป็นที่พอใจกันแล้ว แต่ปรากฏว่า สามเณรน้อยที่มาช่วยสร้างพระพุทธรูปนั้นก็อันตรธานหายไป 
 
จนเป็นที่โจษขานกันว่า คงจะเป็นพระอินทร์เนรมิตเป็นสามเณรน้อยลงมาช่วยสร้างพระพุทธรูป ทำให้ได้พระพุทธรูปที่มีสัดส่วนสวยงามและมีพระพักตร์แย้มยิ้มอิ่มเอิบ ดังที่ปรากฏให้เห็นกันทุกวันนี้
 
พระเจ้าตนหลวง เป็นที่เคารพสักการบูชานานคนเป็นเวลานานหลายร้อยปี จนมาถึงสมัยบ้านเมืองก็เกิดกลียุค ข้าวยากหมากแพง ผู้คนอพยพถิ่นที่อยู่ ทำให้วัดวาอาราม ขาดการเอาใจใส่ดูแล 
 
ทำให้วัดศรีเมืองมา ได้ร้าง เสนาสนะทรุดโทรมพังทลายลงไป จนกลายเป็นป่าดงพงทึบ ส่วนพระเจ้าตนหลวง ยังประดิษฐานตั้งมั่นไม่เป็นอันตราย มีแต่เครือเถาวัลย์ขึ้นปกคลุมองค์พระ มองแทบไม่เห็น
 
จนมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 23 ประมาณปี พ.ศ.2380-90 ได้มีผู้คนมาอาศัยทำไร่ทำสวน แผ้วถางป่าไม้ ก็พบเห็นพระพุทธรูปอยู่ในวัดร้าง ซึ่งมีเครือเถาวัลย์ปกคลุม เกิดความศรัทธาปสาทะ ในองค์พระพุทธรูปที่มีพระพุทธรูปลักษณะงดงาม 
 
ชาวบ้านจึงได้แจ้งข่าว ให้มาช่วยกันแผ้วถางทำความสะอาดองค์พระพุทธรูปและลงรักปิดทอง ทำให้พระพุทธรูปสวยงามเปล่งปลั่งขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับสร้างวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และตั้งเป็นวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ได้ร้างไปนาน 
 
ได้ถือเอานิมิตที่ผู้มีจิตศรัทธา หาบข้าวของมาเอาไม้คานมากองใหญ่สูงท่วมหัวนี้ จึงให้ชื่อวัดที่บูรณะขึ้นใหม่นี้ว่า "วัดก๋องกาน" 
 
วัดก๋องกาน หมายถึง วัดที่มีผู้มีจิตศรัทธามาทำบุญเป็นจำนวนมาก หาบข้าวของมาแล้วเอาไม้คานที่หาบของมากองไว้ ในเวลาต่อมาได้ยึดถือเอาวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 เหนือ (เดือน 8 เป็ง) เป็นวันทำบุญสักการบูชาพระเจ้าตนหลวง จนเป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน 
 
นอกจากนี้ ยังได้ประเพณีสรงน้ำพระเจ้าตนหลวงในวันปีใหม่ (สงกรานต์) ตั้งแต่เดิมมาจนถึงปัจจุบันนี้เช่นกัน
 
พระพุทธรูปเจ้าตนหลวง เป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์และมีอภินิหารมาก เล่าสืบต่อกันมา ว่า หากบุคคลใดได้ทำบาปอกุศลร้ายแรงไว้ทั้งอดีตและปัจจุบัน เวลามาสักการบูชาพระเจ้าตนหลวง จะมองไม่เห็นพระเจ้าตนหลวง ต้องให้คนอื่นนำพาไปลูบคลำพระพุทธรูปจึงจะรู้สึก 
 
ปัจจุบัน พระพุทธเจ้าตนหลวงองค์ ยังประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในวิหารวัดกองกาน หมู่ที่ 7 ต.แม่ศึก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ 
 
ทั้งนี้ วัดกองกาน อยู่ห่างจากวัดพุทธเอ้นประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นวัดสำคัญของชาวแม่แจ่ม เนื่องจากภายในวิหารมีพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแม่แจ่ม ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ชาวแม่แจ่มจะไปสรงน้ำองค์พระกันทุกปี พระเจ้าตนหลวงนี้ เป็นแบบล้านนา และมีขนาดใหญ่ที่สุดในอำเภอแม่แจ่ม ตัววิหารเป็นไม้ และหลังคามุงแป้นเกล็ดแบบโบราณ

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ หมวดหมู่: สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด กลุ่ม: วัด

ปรับปรุงล่าสุด : 3 ปีที่แล้ว

แผนที่วัดกองกาน

สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยม

ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งมรดก

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และอนุสาวรีย์(8)

แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน แลนด์มาร์ก และอนุสรณ์สถาน(4)

พระราชวัง พระราชวัง(2)

ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี ศูนย์ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี(24)

พิพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์(23)

สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ สถานที่ท่องเที่ยวเชิงวิชาการ

ไร่ สวนเพื่อการศึกษา ไร่ สวนเพื่อการศึกษา(5)

ศูนย์ฝึกอบรม ศูนย์ฝึกอบรม(1)

มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

วัด วัด(80/1270)

มัสยิด มัสยิด(2)

สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ สถานที่เกี่ยวกับศาสนาอื่นๆ(17)

โครงการในพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ

โครงการหลวง โครงการหลวง(44)

วิถีชีวิต วิถีชีวิต

หมู่บ้าน ชุมชน หมู่บ้าน ชุมชน(28)

ตลาดท้องถิ่น ตลาดท้องถิ่น(13)

ธรรมชาติ และสัตว์ป่า ธรรมชาติ และสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตอนุรักษ์ทางทะเล(16)

ดอย และภูเขา ดอย และภูเขา(18)

เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ เขื่อน พื้นที่อนุรักษ์ ทะเลสาบ(25)

น้ำตก น้ำตก(42)

น้ำพุร้อน น้ำพุร้อน(13)

ถ้ำ ถ้ำ(10)

แม่น้ำลำคลอง แม่น้ำลำคลอง(5)

แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอื่นๆ(12)

บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร บันเทิง และท่องเที่ยวเชิงเกษตร

สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ สวนสัตว์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ(2)

แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์ แคมป์สัตว์ และการแสดงสัตว์(3)

ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ฟาร์ม, ไร่, สวน, สวนสาธารณะ และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ(12)

กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย กิจกรรมกลางแจ้ง และกิจกรรมผจญภัย(5)

ช้อปปิ้ง ช้อปปิ้ง

ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน ช้อปปิ้ง และตลาดกลางคืน(4)

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว

หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว หมายเลขโทรศัพท์สำคัญในการท่องเที่ยว(1)

บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร บทความท่องเที่ยว, สูตรอาหาร

รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร รีวิวท่องเที่ยว, รีวิวอาหาร(14)

เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ เมนูอาหารเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(28)

ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ ขนมไทยภาคเหนือ, สูตรอาหารเหนือ(17)